ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม
นิพพาน
ปรมัตถธรรม
มี ๔ อย่าง คือ
๑. จิต
เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์
๒. เจตสิก
เป็นธรรมชาติที่ประกอบกับจิต
ปรุงแต่งจิต
๓. รูป
เป็นธรรมชาติที่แตกดับด้วยปัจจัยที่เป็นข้าศึกแก่กัน
๔. นิพพาน
เป็นธรรมชาติที่พ้นจากเครื่องร้อยรัด
คือ ตัณหา
ทั้ง
๔ นี้ เป็นปรมัตถ เป็นของจริง
มีจริง ไม่แปรผันเปลี่ยนแปลง
มีลักษณะ
พิเศษเฉพาะตัวทรงสภาพของตนเองไว้ไม่เสื่อมสลาย
ธรรมชาติใดที่ทรงไว้ซึ่งสภาวะ
ของตนเองไม่เสื่อมสลายไป
ธรรมชาตินั้นเรียกว่า ปรมัตถ ซึ่งมีอยู่ ๔
ประการ ดังกล่าวแล้ว
อภิธรรม คือ
ธรรมอันประเสริฐยิ่ง
ที่ว่าประเสริฐยิ่ง
เพราะเป็นธรรมที่มีอยู่ จริง
เป็นธรรมที่เป็นจริง
ปรมัตถธรรม คือ
ธรรมที่มีเนื้อความอันไม่วิปริตแปรผัน
อภิธรรม
กล่าวถึงปรมัตถธรรม ๔ ประการ
อันได้แก่ จิต เจตสิก
รูป และ นิพพาน
จิต
เจตสิก และรูป ได้กล่าวมาแล้ว
บัดนี้จะกล่าวถึง นิพพาน
รูป เป็นรูปธรรม และ เป็นรูปขันธ์ด้วย
จิต
และ เจตสิก เป็นอรูปธรรม
คือ
ธรรมที่ไม่ใช่รูปและธรรมที่ไม่มีรูป
จึงมี ชื่อว่า เป็น นามธรรม และเป็นนามขันธ์ด้วย
นิพพาน ก็เป็น อรูปธรรม คือ
ธรรมที่ไม่ใช่รูป
เป็นธรรมที่ไม่มีรูปเหมือน กัน
และก็เป็นนามธรรมเช่นเดียวกัน
แต่นิพพาน ไม่เป็นนามขันธ์ เพราะ
ธรรมที่จะขึ้นชื่อว่าขันธ์
หรือที่จัดเป็นขันธ์
จะต้องสามารถมีลักษณะได้เป็น ๑๑ กอง หรือ ๑๑
อย่าง คือ
ขันธ์
เป็นได้ในกาลทั้ง ๓ คือ อดีต
ปัจจุบัน และอนาคต
ส่วนนิพพานนั้น พ้นจากกาลทั้ง ๓
จึงไม่เป็นขันธ์
ขันธ์
เป็นได้ทั้ง อัชฌัตตะ ภายใน
และพหิทธะ ภายนอก ส่วนนิพพานเป็น
พหิทธะ แต่อย่างเดียว
จึงไม่เป็นขันธ์
ขันธ์
เป็นได้ทั้ง โอฬาริกะ หยาบ
และสุขุมะ ละเอียด
ส่วนนิพพานเป็น สุขุมะ
แต่อย่างเดียว จึงไม่เป็นขันธ์
ขันธ์
เป็นได้ทั้ง หินะ เลว และ ปณีตะ
ประณีต ส่วนนิพพานเป็นปณีตะแต่
อย่างเดียว จึงไม่เป็นขันธ์
ขันธ์
เป็นได้ทั้ง สันติเก ใกล้ และทูเร
ไกล ส่วนนิพพานเป็นทูเร ไกลแต่
อย่างเดียว จึงไม่เป็นขันธ์
เมื่อ นิพพาน
ไม่ใช่ขันธ์ จึงเรียกว่าเป็น ขันธวิมุตติ คือ
พ้นจากขันธ์ และ นิพพาน
พ้นจากกาลทั้ง ๓ ด้วย
จึงได้ชื่อว่าเป็น กาลวิมุตติ
จิต
เจตสิก รูป นั้นเป็นสังขตธรรม เป็นธรรมที่ต้องมีปัจจัยมีสิ่งที่มาปรุง
แต่ง จึงจะเกิดมีเกิดเป็นไปได้
คือ จะต้องมี
(๑) อารมณ์ วัตถุ
มนสิการ มาประชุมมาปรุงแต่ง
จึงจะเกิดจิตและเจตสิก
(๒) กรรม จิต อุตุ
อาหาร มาประชุมมาปรุงแต่ง
จึงจะเกิดรูป
หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า
นามขันธ์นั้นเกิดจากอารมณ์
วัตถุ มนสิการ
ส่วนรูปขันธ์นั้นเกิดจาก กรรม
จิต อุตุ อาหาร
ส่วนนิพพาน เป็นธรรมที่พ้นจากการปรุงแต่งทั้งปวง
ดังนั้นจึงได้ชื่อว่าเป็น อสังขตธรรม
จิต
ต้องมีอารมณ์
วัตถุ มนสิการ ปรุงแต่ง
สังขตธรรม
เจตสิก
รูป
} ต้องมีกรรม จิต
อุตุ อาหาร ปรุงแต่ง
ปรมัตถธรรม
อสังขตธรรม นิพพาน
ไม่ต้องมีอะไรปรุงแต่ง
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ