ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

๑๐. รูปารมณ์

       รูปารมณ์ หมายถึงรูปที่เป็นอารมณ์ของ จักขุวิญญาณจิต ได้แก่ วัณณรูปที่ ปรากฏเห็นเป็นสีต่าง ๆ รูปารมณ์ หมายถึงวัณณรูปซึ่งกำลังเป็นอารมณ์ของ จักขุวิญญาณ วัณณรูป หมายถึงรูปที่จะปรากฏให้เห็นเป็นสีต่าง ๆ ยังไม่ได้เป็น อารมณ์ของจักขุวิญญาณจิต และการรู้สึกเห็นเป็นสีต่าง ๆ เช่น สีเขียว สีแดง สีเหลือง ฯลฯ นั้นไม่ใช่เห็นด้วยจักขุวิญญาณจิต แต่เป็นการเห็นด้วยมโนวิญญาณ คือการเห็นทางมโนทวารแล้ว ไม่เห็นทางจักขุทวาร ถ้าเห็นทางจักขุทวารจะเห็น เพียงสีแล้วก็ดับไป แล้วจิตทางมโนทวารจึงรู้ว่าเป็นสีอะไร โดยอาศัยบัญญัติอารมณ์ ในอดีตนั้นมาตัดสินอีกทีหนึ่ง จึงรู้ว่าเป็นสีอะไร เป็นรูปอะไร เรียกรูปนั้นว่าอย่างไร

       รูปารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

       จกฺขุปฏิหนน ลกฺขณํ         รูปที่มีการกระทบกับจักขุปสาท เป็นลักษณะ

       จกฺขุวิญฺญาณสฺส วิสยภาว รสํ     เป็นอารมณ์ให้จักขุวิญญาณ เป็นกิจ

       ตสฺเสว โคจร ปจฺจุปฏฺฐานํ  เป็นที่โคจรของจักขุวิญญาณ เป็นผล

       จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ         มีมหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นเหตุใกล้

       วัณณะ คือ สี หรือ รูป นี่เอง ที่กระทบกับจักขุปสาทรูป และทำให้เกิด จักขุ วิญญาณขึ้น วัณณะที่มาเป็นอารมณ์ให้แก่จักขุวิญญาณจิตนี่แหละได้ชื่อว่า รูปารมณ์

       รูปใดที่ปรากฏให้เห็นทางจักขุทวาร ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต จักขุวิญญาณ เป็นผู้เห็นที่เราเรียกกันว่า “เห็นด้วยตา” นั่นแหละเรียกว่า “รูปารมณ์” แต่ถ้ารูป  ต่าง ๆ เหล่านั้นทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต จักขุวิญญาณไม่ได้ทำหน้าที่เห็น แต่รู้สึก เห็นด้วยการคิดเอานึกเอาก็ไม่เรียกว่ารูปารมณ์ จัดเป็นธัมมารมณ์ คืออารมณ์ที่รู้ได้ ด้วยใจ เห็นด้วยใจ ไม่ใช่เห็นด้วยตา

?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...