ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม
สภาพของนิพพาน
เมื่อกล่าวโดยสามัญญลักษณะสภาพของนิพพานมีเพียง
๑ คือ อนัตตลักษณะ
เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า
ปราศจากตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้
ไม่มีการเกิดแก่ เจ็บ ตาย ใด ๆ
ทั้งสิ้น
แต่นิพพาน
ไม่มีอนิจจลักษณะ
เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่เที่ยง
มั่นคง ยั่งยืน ไม่แปรผัน
และนิพพาน ไม่มีทุกขลักษณะ
เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ทนอยู่ได้
ด้วยว่า ไม่มีการเกิด
ไม่มีการดับ
และด้วยเหตุที่นิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า
จึงมีสภาพที่ทน อยู่
หรือดำรงคงอยู่ในสภาพที่ว่างเปล่านั้นตลอดไป
ไม่มีอะไรที่จะมาปรุงแต่งให้
กลายเป็นไม่ว่างได้
วิเสสลักษณะ
ของนิพพาน มีเพียง ๓ ประการ คือ
ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน เท่านั้น
ไม่มีปทัฏฐาน
สนฺติ
ลกฺขณา
มีความสุขสงบจากเพลิงทุกข์
เป็นลักษณะ
อจฺจุต
รสา
มีความไม่แตกดับ
เป็นกิจ (สัมปัตติรส)
อนิมิตฺต
ปจฺจุปฎฺฐานา
ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย
เป็นอาการปรากฏ
(วา) นิสฺสรณ
ปจฺจุปฏฺฐานา
(หรือ) มีความออกไปจากภพ
เป็นผล
ปทฏฺฐานํ
น ลพฺภติ
ไม่มีเหตุใกล้ให้เกิด
(เพราะนิพพานเป็นธรรม
ที่พ้นจากเหตุ
จากปัจจัยทั้งปวง)
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่
พ้นแล้วจากตัณหาเครื่อง ร้อยรัด
ตรัสรู้ ธรรมส่วนหนึ่ง ธรรมที่ไม่ตาย
ธรรมที่เที่ยง (คือ
พ้นจากกาลทั้ง ๓) ธรรมที่ปัจจัยอะไร
ๆ ปรุงแต่งไม่ได้ ธรรมที่ไม่มีสิ่งใดจะประเสริฐยิ่งกว่า ธรรมนั้น คือ นิพพาน
สภาพของนิพพาน
๕ ประการ ที่กล่าวข้างต้น
มีความหมายดังนี้ คือ
๑. ปทํ แปลว่า
นิพพานเป็นส่วนหนึ่ง
เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เข้าถึงได้
และมีอยู่โดยเฉพาะ
ไม่คลุกเคล้าด้วยโลกียธรรม
๒. อจฺจุตํ แปลว่า
นิพพาน เป็นธรรมที่ไม่ตาย
ไม่มีความเกิด และไม่มี ความตาย
ไม่มีแตกดับ
๓. อจฺจนฺตํ แปลว่า
ธรรมที่เที่ยง คือก้าวล่วงขันธ์
๕ ที่เป็นอดีต และ อนาคต
หมายความว่า
เป็นธรรมที่พ้นจากกาลทั้ง ๓
ได้แก่ นิพพาน
๔. อสงฺขตํ แปลว่า
นิพพาน
ไม่ได้ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย
หมายความว่า นิพพานนี้ไม่ใช่ จิต
เจตสิก รูป เพราะ จิต เจตสิก รูป
นั้นเป็น
ธรรมที่เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยปรุงแต่ง
สภาวธรรมที่ปราศจากการปรุงแต่ง
ชื่อว่า อสังขตะ ได้แก่ นิพพาน
บัญญัติ
ก็เป็นอสังขตธรรมเหมือนกัน
แต่ในที่นี้กล่าวเฉพาะ
ธรรมที่เป็นปรมัตถ
บัญญัติไม่ใช่ปรมัตถธรรม
ฉะนั้นอสังขตธรรม
ในที่นี้จึงหมายถึง นิพพาน
แต่อย่างเดียว
๕. อนุตฺตรํ แปลว่า
นิพพาน
เป็นธรรมที่ประเสริฐอย่างที่ไม่มีธรรมใด
ๆ จะเทียมเท่า
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ