ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2 3
4 5 6 7 8
9 10 11 12 13
14 15 16 17 18
19 20 21 22 23
24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80
81 82 83 84 85
86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม
นิพพาน
โดยอาการที่เข้าถึง
นิพพาน
กล่าวโดยอาการที่เข้าถึง
หรือกล่าวโดยสภาพที่บรรลุ
หรือโดยอาการ ที่เป็นไปแล้ว มี ๓
คือ
ก. อนิมิตนิพพาน
หมายถึงนิพพานนั้นไม่มีนิมิตไม่มีเครื่องหมาย
ไม่มีรูปร่าง
การสงัดจากนิมิตอารมณ์
ที่ยังให้เกิดกิเลส หรือ
ชรามรณธรรม เป็นต้น นั้น เรียกว่า
อนิมิตตนิพพาน
ผู้เจริญวิปัสสนาภาวนา
จนเห็นสามัญลักษณะ หรือ
ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง
เห็นความไม่เที่ยง
อันปราศจากนิมิตเครื่องหมายเช่นนี้แล้ว
และเพ่งอนิจจังต่อไปจน
บรรลุมัคคผล มีนิพพานเป็นอารมณ์
นิพพานที่เป็นอารมณ์แก่ผู้ที่เห็นอนิจจังนั้นมี
ชื่อว่า อนิมิตตนิพพาน
ผู้มีอนิมิตตนิพพานเป็นอารมณ์
บุญญาธิการแต่ปางก่อนแรง ด้วย สีล
ข. อัปปณิหิตนิพพาน หมายถึง
นิพพานนั้น
ไม่มีอารมณ์เป็นที่น่าปรารถนา
การสงัดจากความดิ้นรนอันเป็นเหตุให้เกิดสรรพทุกข์นั้น
เรียกว่า อัปปณิหิต นิพพาน
ผู้เจริญวิปัสสนาภาวนา
จนเห็นไตรลักษณ์ คือ ทุกข์
เห็นความทนอยู่ไม่ได้
ต้องเปลี่ยนแปรไป อันหาเป็น
ปณิธิ ที่ตั้งไม่ได้เช่นนี้แล้ว
และเพ่งทุกข์ต่อไปจน
บรรลุมัคคผล มีนิพพานเป็นอารมณ์
นิพพานที่เป็นอารมณ์แก่ผู้ที่เห็นทุกข์นั้นมี
ชื่อว่า อัปปณิหิตนิพพาน
ผู้มีอัปปณิหิตนิพพานเป็นอารมณ์
บุญญาธิการแต่ปางก่อน แรงด้วย สมาธิ
ค. สุญญตนิพพาน หมายถึง
นิพพานนั้นสูญสิ้นจากกิเลสและอุปาทาน
และ ขันธ์ ๕ ไม่มีอะไรเหลืออยู่
ผู้เจริญวิปัสสนาภาวนา
จนเห็นไตรลักษณ์ คือ อนัตตา
เห็นความไม่ใช่ตัวตน
บังคับบัญชาไม่ได้
อันเป็นความว่างเปล่า
เช่นนี้แล้ว
และเพ่งอนัตตาต่อไปจนบรรลุ
มัคคผล มีนิพพานเป็นอารมณ์
นิพพานที่เป็นอารมณ์แก่ผู้เห็นอนัตตานั้น
มีชื่อว่า สุญญตนิพพาน
ผู้ที่มีสุญญตนิพพานเป็นอารมณ์นี้
บุญญาธิการแต่ปางก่อนแรงด้วย ปัญญา
ผู้ที่เห็นสามัญญลักษณ์
หรือไตรลักษณ์ คือ
อนิจจังกับอนัตตาแล้วก้าวขึ้นสู่
มัคคผลนั้น
มีจำนวนมากกว่าผู้ที่เห็น
ทุกขัง
จบปริจเฉทที่ ๖ ชื่อว่า รูปสังคหวิภาค
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ