ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม
๒๔.
กัมมัญญตารูป
กัมมัญญตารูป ได้แก่
รูปที่เป็นความควรของนิปผันนรูป
หรืออาการควร ของนิปผันนรูป
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
กมฺมญฺญภาว
ลกฺขณา
มีการควร
เป็นลักษณะ
อกมฺมญฺญตา
วิโนทน รสา มีการทำลายการไม่ควร
เป็นกิจ
อทุพฺพลภาว
ปจฺจุปฏฺฐานา มีการทรงไว้ซึ่งพลัง
เป็นผล
กมฺมญฺญรูป
ปทฏฺฐานา
มีรูปที่ควร
เป็นเหตุใกล้
วิการรูปทั้ง
๓ ดังกล่าวแล้ว
มีความสัมพันธ์กันกับวิญญัตติรูป
๒ ก็ได้ ไม่
สัมพันธ์กับวิญญัตติรูป ๒ ก็ได้
คือ เกิดพร้อมกันก็ได้
ไม่เกิดพร้อมกันก็ได้
ถ้าวิญญัตติรูป
เกิดพร้อมกับวิการรูป
วิญญัตติรูปนั้นก็จะมีความเบา
ความ อ่อน
ความควรแก่การงานก็จะเกิดขึ้นทันที
กล่าวคือ
การเคลื่อนไหวทางร่างกายก็
จะรู้สึกเบา อ่อนโยน คล่องแคล่ว
ควรแก่การงาน
การเคลื่อนไหวทางวาจา เช่น
การพูด การบรรยาย ก็จะมีความเบา
ความอ่อนโยน ความคล่องแคล่ว
ควรแก่ การงานเกิดขึ้นทันที
เพราะฉะนั้น วิการรูปจึงมี ๓ หรือ
๕ คือ
๑.
ลหุตารูป ๒.
มุทุตารูป ๓.
กัมมัญญตารูป ๔.
วิการรูปที่เกิด
พร้อมกับกายวิญญัตติ
๕.
วิการรูปที่เกิดพร้อมกับวจีวิญญัตติ
และทั้งวิญญัตติรูป
๒ กับวิการรูป ๓
ก็อาศัยนิปผันนรูป
หรือเป็นอาการ
ของนิปผันนรูปนั่นเอง
คือถ้าไม่มีนิปผันนรูป
วิญญัตติรูป
และวิการรูปก็มีไม่ได้
วิการรูป
รูปที่แสดงอาการ คือ
ความเปลี่ยนแปลงเป็นพิเศษรวม ๓
รูปนี้
ต้องเกิดมีขึ้นแก่สิ่งมีชีวิตเท่านั้น
สิ่งที่ไม่มีชีวิต
ไม่มีวิการรูป วิการรูปนี้
เมื่อเกิดก็
เกิดร่วมกันพร้อมกันทั้ง ๓ รูป
แต่อาจจะยิ่งหรือหย่อนกว่ากันได้
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ