ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม
๑๓.
รสารมณ์
รสารมณ์ หมายถึง
รูปที่เป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ
ได้แก่ รสรูปที่ปรากฏ เป็นรสต่าง
ๆ ระหว่างรสารมณ์ กับรสรูป
รสารมณ์
หมายถึงรสรูป
ซึ่งกำลังเป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ
จึงเรียกว่า รสารมณ์
รสรูป
หมายถึงรสที่มีอยู่ในวัตถุต่าง
ๆ
ยังไม่ได้เป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ
เรียกรสนั้น ๆ ว่า รสรูป
และการรู้สึกต่อรสว่า รสเปรี้ยว
รสหวาน รสเค็มต่าง ๆ นั้น
ไม่ใช่รู้ด้วยชิวหาวิญญาณ
แต่เป็นการรู้ด้วยมโนวิญญาณ
จึงจัดเป็นธัมมารมณ์ คือ
รู้ด้วยใจคิดนึก
ถ้ารู้ด้วยชิวหาวิญญาณจะปรากฏเป็นรสเท่านั้น
แล้วก็ดับไป ยัง
ไม่รู้ว่าเป็นรสอะไร
รสที่รู้ด้วยชิวหาวิญญาณนี้แหละ
เรียกว่า รสารมณ์
รสารมณ์
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
ชิวฺหาปฏิหนน
ลกฺขณํ
มีการกระทบชิวหาปสาท
เป็นลักษณะ
ชิวฺหาวิญฺญาณสฺส
วิสยภาว รสํ มีการทำอารมณ์ให้แก่ชิวหาวิญญาณเป็นกิจ
ตสฺเสว
โคจร ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการเป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ
เป็นผล
จตุมหาภูต
ปทฏฺฐานํ
มีมหาภูตรูป
๔ เป็นเหตุใกล้
รสะ
คือ รสที่กระทบกับชิวหาปสาท
และทำให้เกิดชิวหาวิญญาณขึ้น
รสะที่
มาเป็นอารมณ์ให้แก่ชิวหาวิญญาณจิตนี่แหละ
ได้ชื่อว่า รสารมณ์
อนึ่งคำว่า
รสะนี้ยังจำแนกได้เป็น ๔ ประการ
เรียกสั้น ๆ ว่า รสะ ๔ คือ
(๑) ธมฺมรส
ได้แก่ รสแห่งธรรม
ซึ่งมีทั้งกุสล และอกุสล
องค์ธรรมได้แก่ มัคคจิตตุปปาท ๔
โลกียกุสลจิต ๑๗ อกุสลจิต ๑๒ คือ
ธรรมอันเป็นกุสลและ
อกุสลทั้งปวง
(๒) อตฺถรส
ได้แก่ รสแห่งอรรถธรรม คือ
ธรรมที่เป็นผลของกุสล และ อกุสลทั้งปวง
องค์ธรรมได้แก่ ผลจิตตุปปาท ๔
โลกียวิบากจิต ๓๒ คือ ธรรม
อันเป็นผลของกุสลและอกุสลทั้งหมด
(๓) วิมุตฺติรส
ได้แก่ รสแห่งความหลุดพ้น
คือพระนิพพาน
(๔) อายตนรส
ได้แก่
รสแห่งการกระทบกันระหว่างรสรูปกับชิวหาวิญญาณ
องค์ธรรมได้แก่ รสารมณ์
เมื่อประมวลแล้วทั้งหมดมี ๖ รส
คือ อมฺพิล เปรี้ยว, มธุร
หวาน, โลณิก
เค็ม, กฏุก
เผ็ด, ติตฺต
ขม, และ
กสาว ฝาด
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ