ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม
ฐาน
(คือที่ตั้ง)
ของกัมมชกลาปในร่างกายมนุษย์
ในร่างกายมนุษย์แบ่งออกเป็น
๓ ส่วน ในแต่ละส่วนของร่างกาย
มีกัมมช กลาปเกิดได้ดังนี้
ก. อุปริมกาย
คือ กายส่วนบน
นับตั้งแต่ลูกกระเดือกขึ้นไป
มีกัมมชกลาป ตั้งอยู่ถึง ๗ กลาป
ได้แก่
๑.
จักขุทสกกลาป
๕. กายทสกกลาป
๒.
โสตทสกกลาป ๖.
ภาวทสกกลาป
๓.
ฆานทสกกลาป ๗.
ชีวิตนวกกลาป
๔.
ชิวหาทสกกลาป
ข. มัชฌิมกาย
กายส่วนล่าง
นับตั้งแต่ลูกกระเดือกลงมาจนถึงสะดือ
มี กัมมชกลาปตั้งอยู่ ๔ ได้แก่
๑.
หทยทสกกลาป
๓.
ภาวทสกลาป
๒.
กายทสกกลาป
๔.
ชีวิตนวกกลาป
ค. เหฎฐิมกาย
คือ กายส่วนต่ำ
นับตั้งแต่สะดือลงไป
มีกัมมชกลาปตั้งอยู่
๓ กลาป ได้แก่
๑.
กายทสกกลาป
๒.
ภาวทสกกลาป
๓.
ชีวิตนวกกลาป
ดังนี้จะเห็นได้ว่า
กายทสกกลาป ๑, ภาวทสกกลาป
๑, ชีวิตนวกกลาป
๑ รวม ๓ กลาปนี้
มีฐานที่ตั้งอยู่ในร่างกายมนุษย์ทั้ง
๓ ส่วน คือ มีอยู่ตลอดตัว
มีอยู่ทั่วทั้งตัว
จึงได้ชื่อว่าเป็น
สัพพฐานิกกลาป มีความหมายว่า
เป็นกลาปที่มี
ฐานที่ตั้งอยู่ทั่วไป
ส่วนกลาปนอกนั้นอีก
๕ กลาป ได้แก่ จักขุทสกกลาป, โสตทสกกลาป, ฆานทสกกลาป, ชิวหาทสกกลาป, หทยทสกกลาป
มีฐานที่ตั้งอยู่เป็นบางแห่ง บางส่วนโดยเฉพาะ
จึงมีชื่อว่า ปเทสกลาป
มีความหมายว่า
เป็นกลาปที่มีประเทศ
ที่ตั้งอยู่โดยเฉพาะเป็นส่วนเป็นสัดของตน
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ