ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

นัยที่ ๕ รูปปวัตติกมะ

       ในร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลายนั้น เมื่อแบ่งเป็นรูปตามนัยของปรมัตถ แล้ว ก็มี ๒๘ รูป ในจำนวนของรูป ๒๘ รูปนั้น ก็มีสมุฏฐานนำให้เกิด กรรมบ้าง จิตบ้าง อุตุบ้าง และอาหารบ้าง

       ในส่วนของรูปที่เกิดจากกรรม     ก็เรียกว่า กัมมชรูป

       ในส่วนของรูปที่เกิดจากจิต ก็เรียกว่า จิตตชรูป

       ในส่วนของรูปที่เกิดจากอุตุ ก็เรียกว่า อุตุชรูป

       ในส่วนของรูปที่เกิดจากอาหาร     ก็เรียกว่า อาหารชรูป

       นั่นหมายความว่า ร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย มีรูปที่เกิดจากสมุฏฐาน ทั้ง ๔ และรูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ นี้ ก็ไม่ได้เกิดมาโดยลำพังเพียงรูปใดรูปหนึ่ง การเกิดขึ้นของรูปดังกล่าว เกิดเป็นกลุ่ม ๆ เป็นหมวด ๆ เป็นมัด ๆ ซึ่งเรียกว่า รูปกลาป และรูปกลาปนี่เองที่จัดว่าเป็นรูปที่ละเอียดที่สุด เล็กที่สุด

       กลาปของรูปนั้น ย่อมมีขนาดเท่ากับเม็ดปรมาณู และรูปกลาปที่เล็กที่สุด ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตานี้ อรรถกถาจารย์ ได้แสดงถึงขนาดของเม็ดปรมาณู โดยเทียบส่วนกับศีรษะของเหา โดยอนุมานนัย ดังนี้

              ๑ ศีรษะเหา          เท่ากับ        ๗ ลิกขาณู

              ๑ ลิกขาณู            เท่ากับ ๓๖ รถาเรณู

              ๑ รถาเรณู           เท่ากับ ๓๖ ตัชชารี

              ๑ ตัชชารี             เท่ากับ ๓๖ อณู

              ๑ อณู                เท่ากับ ๓๖ ปรมาณู

              ๑ ปรมาณู            เท่ากับ   ๑ กลาป

       จะเห็นได้ว่า ศีรษะของเหาซึ่งเล็กที่สุดแล้วนั้น เม็ดปรมาณู หรือกลาปยังเล็ก กว่าศีรษะของเหาหลายล้านเท่า จึงถือว่าไม่มีอะไรเล็กกว่านี้อีกแล้ว และรูปกลาปนี่ แหละที่จะกล่าวต่อไปที่เกี่ยวกับการเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเรียกว่ารูปปวัตติกมนัย

       รูปปวัตติกมนัย คือ การลำดับการเกิดดับของรูปธรรม หรือ การแสดงลำดับ การเกิดดับของรูป ๒๘ นั่นเอง ปวัตติ แปลว่า ความเป็นไป หรือ การเกิดดับ กมะ แปลว่า ลำดับ นัย แปลว่า แนว ดังนั้น รูปปวัตติกมนัย ก็แปลว่า แนวแห่งความเป็นไปตามลำดับของรูปธรรม หรือแนวแห่งการเกิดดับของรูปธรรม

       รูปปวัตติกมนัย แสดงถึงนัยและแนว ๓ อย่าง คือ  . ตามนัยแห่งภูมิ    . ตามนัยแห่งกาล  . ตามนัยแห่งกำเนิด

       . ตามนัยแห่งภูมิ หมายถึง ๒๗ ภูมิ คือ

. กามภูมิ ๑๑ ภูมิ

. รูปภูมิ ๑๕ ภูมิ

. อสัญญสัตตภูมิ ๑ ภูมิ

       ซึ่งทั้ง ๒๗ ภูมิที่มีรูปธรรมทุกภูมิ มากบ้างน้อยบ้าง ตามควรแก่ภูมินั้น ๆ

       ส่วนอรูปภูมิอีก ๔ ภูมิ ไม่ได้กล่าวถึงด้วย เพราะในอรูปภูมินั้น ไม่มีรูปธรรม เลยแม้แต่สักรูปเดียว

       . ตามนัยแห่งกาล หมายถึง ๓ กาล ดังนี้ คือ

. ปฏิสนธิกาล หมายถึง การสืบต่อภพสืบต่อชาติ เวลาที่เกิดต่อภพต่อ ชาติใหม่อีก

. ปวัตติกาล หมายถึง การทรงอยู่ เวลาที่ตั้งอยู่ในภพนั้น ชาตินั้น

. จุติกาล หมายถึง การเคลื่อนย้ายไปจากภพนั้นชาตินั้น คือ การที่ดับ ไป เวลาที่ตายไปจากภพนั้น ชาตินั้น

      . ตามนัยแห่งกำเนิด หมายถึงอาการที่เกิดใหม่ของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีอยู่ ๔ กำเนิด คือ

. ชลาพุชกำเนิด บางทีก็เรียกว่า ชลัมพุชกำเนิด หมายถึงสัตว์ที่เกิดใน ครรภ์

. อัณฑชกำเนิด หมายถึง สัตว์ที่เกิดในไข่ ชลาพุชกำเนิดกับอัณฑช กำเนิด รวมเรียกว่า คัพภเสยยกกำเนิด

. สังเสทชกำเนิด หมายถึง สัตว์ที่เกิดจากที่เปียกชื้น, เหงื่อ, ไคล, ยาง เหนียว,  เกษรดอกไม้  เป็นต้น

. โอปปาติกกำเนิด บางทีก็เรียกว่า อุปปาติกกำเนิด หมายถึงสัตว์ที่ ไม่ได้เกิดมาจากกำเนิดทั้ง ๓ ที่กล่าวแล้ว แต่เกิดโดยผุดหรือโผล่ขึ้น มาครบรูปกายใหญ่โตเต็มที่ในทันทีทันใด เหมือนกับว่าบินมาจาก ภพเก่า

 

?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...