ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม
ตามนัยแห่งภูมิ
ในภูมิใดรูปจะเกิดได้กี่รูป
หรือ ในภูมิใดจะมีรูปได้กี่รูป
กล่าวโดยทั่ว ๆ ไป ยังไม่จำแนกตามนัยแห่งกาล และตามนัยแห่งกำเนิด ของสัตว์ในภูมินั้น
ๆ แล้วมี ดังนี้
ในกามภูมิ
ย่อมเกิดรูปได้ทั้ง ๒๘ รูป
ในรูปภูมิย่อมเกิดรูปได้ ๒๓ รูป, ใน
อสัญญสัตตภูมิ
ย่อมเกิดรูปได้เพียง ๑๗ รูป, ในอรูปภูมิไม่มีรูปเกิดขึ้นเลย
อธิบาย
๑. ในกามภูมิ ๑๑
ภูมิ รูปทั้ง
๒๘ รูป เกิดได้ครบ
แต่ถ้ากล่าวโดยบุคคล
แต่ละบุคคลแล้ว ถ้าเป็นอิตถีเพศ
ก็ต้องเว้นปุริสภาวรูป
และถ้าเป็นบุรุษเพศ ก็ต้อง
เว้นอิตถีภาวรูป
เป็นอันว่าบุคคลในกามภูมิแต่ละบุคคล
มีรูปบุคคลละ ๒๗ รูป
แต่บางบุคคลอาจจะบกพร่อง
มีไม่ถึง ๒๗ รูปก็ได้ เช่น ตาบอด
ก็ไม่มี จักขุปสาทรูป
หูหนวกก็ไม่มีโสตปสาทรูป
เป็นต้น ไม่เหมือนกับพรหมบุคคล
๒. ในรูปภูมิ ๑๕
ภูมิ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ) มีรูปเกิดได้เพียง
๒๓ รูป เท่านั้น โดยเว้น
ฆานปสาทรูป ,ชิวหาปสาทรูป ,กายปสาทรูป ,อิตถีภาวรูป
และ ปุริสภาวรูป
ที่เว้น
ปสาทรูป ๓ และภาวรูป ๒ นั้น
เพราะรูปทั้ง ๕
รูปนี้เป็นรูปที่เป็น
ปัจจัยสนับสนุนก่อให้เกิดกามคุณอารมณ์เป็นส่วนมาก
อันล้วนแต่เป็นโทษอย่าง
เดียวพรหมบุคคลเป็นผู้ที่ปราศจากกามฉันทะดังนั้นรูปทั้ง๕จึงไม่เกิดมีแก่พวกพรหม
ส่วนจักขุปสาทรูปและโสตปสาทรูปเกิดมีแก่พวกพรหมได้ เพราะปสาทรูป ทั้ง
๒ นี้
มิใช่เป็นปัจจัยก่อให้เกิดกามคุณอารมณ์ที่จะเป็นโทษแต่อย่างเดียว
ย่อมมี
คุณประโยชน์เป็นอย่างยิ่งได้อีกด้วย
กล่าวคือ
นัยน์ตาก็เป็นประโยชน์ในการที่ได้เห็น
ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ
หูก็มีประโยชน์ในการที่จะได้ฟังธรรมอันประเสริฐ
ถึงกับได้ รับความยกย่อง
เรียกว่าเป็นทัสสนานุตตริยคุณ
และ สวนานุตตริยคุณ คือ เป็นคุณ
อย่างล้นพ้นแก่การเห็น
เป็นคุณอย่างล้นพ้นแก่การฟัง
ดังนั้น พรหมจึงยังคงมี
จักขุปสาทรูป และโสตปสาทรูปอยู่
พรหมในรูปภูมิทั้ง
๑๕ ภูมินี้
แต่ละบุคคลมีรูปครบทั้ง ๒๓ รูป
ทั่วทุกบุคคล
ไม่มีขาดตกบกพร่องเหมือนบุคคลในกามภูมิ
ดังที่กล่าวแล้วในข้อ ๑ คือ
ไม่มีพรหม ตาบอด พรหมหูหนวก
แต่นัยน์ตาของพรหมทำให้เห็นใด้ไกลมากจนถึงขนาดเป็น
ตาทิพย์
และหูของพรหมก็ทำให้ได้ยินได้ไกลมากจนถึงขนาดเป็นหูทิพย์
๓. ในอสัญญสัตตภูมิ
๑ ภูมิ นั้น
มีรูปเกิดได้เพียง ๑๗ รูป คือ
อวินิพ โภครูป ๘, ชีวิตรูป ๑, ปริจเฉทรูป ๑, วิการรูป ๓
และลักขณรูป ๔
๔. ส่วน อรูปภูมิทั้ง ๔
ภูมิ นั้น
ไม่มีรูปเกิดขึ้นเลย
ทั้งนี้เพราะท่านเจริญ
รูปวิราคภาวนา คือ ไม่ยินดี
และไม่ปรารถนาจะมีรูป
๕. ที่กล่าวตามข้อ
๑-๔
เป็นการกล่าวตามจำนวนรูปธรรมเรียงเป็นรูป
ๆ ไป ข้อต่อไปจะกล่าวเป็นกลาป ๆ
คือ เป็นกลุ่ม ๆ เป็นมัด ๆ
แต่ในข้อนี้จะแสดง
การเกิดขึ้นของรูปกลาปของมนุษย์ที่ยังอยู่ในครรภ์มารดาก่อน
ดังนี้
ปฏิสนธิจิต เป็นจิตดวงแรกที่สืบเนื่องต่อภพต่อชาติใหม่
ที่อุปาทขณะของ ปฏิสนธิจิตนี้ มี กัมมชกลาป
๓ กลาป ได้แก่
กายทสกกลาป
หทยทสกกลาป
ภาวทสกกลาป
ปฏิสนธิจิต
ที่ฐีติขณะ มีอุตุชกลาป
เริ่มเกิด
ภวังคจิต
เป็นจิตดวงที่ ๒ ในภพใหม่
และเป็นภวังคจิตดวงแรก ในภพใหม่
นั้น
ที่อุปาทขณะของปฐมภวังคจิตนี้
จิตตชกลาปเริ่มเกิด
๑.
กลลสตฺตาห เป็นน้ำใส
๑ สัปดาห์ เกิด กายทสกกลาป, หทยทสก
กลาป, ภาวทสกกลาป, อุตุชกลาป
และจิตตชกลาป (เป็นหยาดน้ำใส
เหมือนน้ำมันงา)
๒.
อมฺพุชสตฺตาห
เป็นฟองน้ำ ๑ สัปดาห์ (มีลักษณะเป็นฟอง
สีเหมือน
น้ำล้างเนื้อ)
๓. เปสิสตฺตาห
เป็นเมือกไข ๑ สัปดาห์
อาหารชกลาปเริ่มเกิด (มีลักษณะ
เหมือนชิ้นเนื้อเหลว
ๆ สีแดง)
๔.
ฆนสตฺตาห เป็นก้อนไข
๑ สัปดาห์ (มีลักษณะเป็นก้อน
มีสัณฐาน
เหมือนไข่ไก่)
๕.
ปสาขสตฺตาห
เกิดปุ่มทั้งห้า ๑ สัปดาห์ (ได้แก่ แขน๒
ขา๒ ศีรษะ๑)
๖.
ปริปากสตฺตาห
ขยายตัว ๕ สัปดาห์ สัปดาห์ที่ ๖
ชีวิตนวกกลาป
เริ่มเกิด
๗.
จกฺขาทิสตฺตาห
อายตนะเกิด ๑ สัปดาห์
เกิดจักขุทสกกลาป, ฆาน
ทสกกลาป, ชิวหาทสกกลาป
๘.
ปริปากสตฺตาห
เจริญเติบกล้า ๓๐ สัปดาห์
๙.
เกสาทิสตฺตาห
โกฏฐาสเกิด ๑ สัปดาห์ (ตั้งแต่สัปดาห์ที่
๑๒ ถึง ๔๒
ผม
ขน เล็บ ก็ปรากฏตามลำดับ)
รวม ๔๒ สัปดาห์ x ๗ วัน = ๒๙๔ วัน
๖. ในกามภูมิ ๑๑
ภูมิมีกลาปเกิดได้ครบทั้ง
๒๑ กลาปคือ กัมมชกลาป ๙, จิตตชกลาป ๖, อุตุชกลาป ๔, อาหารกลาป ๒
แต่ละบุคคลก็ต้องเว้น
อิตถีภาวทสกกลาป
หรือปุริสภาวทสกกลาป ตามควร
แก่บุคคล
และถ้าบุคคลใดมีความบกพร่อง
เช่น ตาบอด หูหนวก
ก็ต้องเว้นจักขุ ทสกกลาป
โสตทสกกลาป
ตามควรแก่ที่สัตว์นั้นบกพร่อง
มีข้อควรสังเกตอยู่ว่า
ความบกพร่องนี้มีเฉพาะในกัมมชกลาปเท่านั้น
๗. ในรูปภูมิ ๑๕
ภูมิ(เว้นอสัญญสัตตภูมิ) มีกลาปเกิดได้เพียง
๓ ประเภท เท่านั้น คือ กัมมชกลาป
จิตตชกลาป และ อุตุชกลาป
ส่วนอาหารชกลาปไม่มี
เพราะพรหมบุคคลไม่ต้องกลืนกินอาหาร
อนึ่ง
กัมมชกลาป ๙ ก็เกิดได้เพียง ๔
กลาป ได้แก่ จักขุทสกกลาป โสต
ทสกกลาป หทยทสกกลาป และ ชีวิตนวกกลาป
ส่วนฆานทสกกลาป
ชิวหาทสกกลาป กายทสกกลาป
อิตถีภาวทสกกลาป และ
ปุริสภาวทสกกลาป รวม ๕ กลาปนี้
ไม่มี
๘. ในอสัญญสัตตภูมิ
๑ ภูมิ มีกลาปเกิดได้เพียง
๒ สมุฏฐาน คือ กัมมช กลาป และ
อุตุชกลาป เท่านั้น
ส่วนจิตตชกลาปไม่มี
เพราะอสัญญสัตตพรหมไม่มีจิต
ด้วยท่านเจริญ สัญญา วิราคภาวนา
อาหารชกลาปก็ไม่มี
เพราะไม่ต้องกลืนกินอาหารเช่นเดียวกับพรหม
ทั้งหลาย
อนึ่ง
กัมมชกลาป
ก็เกิดได้กลาปเดียวเท่านั้น คือ
ชีวิตนวกกลาป ส่วนอุตุช กลาป
เกิดได้ ๒ กลาป คือ สุทธัฏฐกลาป
และ ลหุตาทิเอกาทสกกลาป
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ