ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

ประเภทที่ ๓ โคจรรูป

       โคจรรูป ๔ ได้แก่ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ และ รสารมณ์

       คำว่า โคจรรูป แปลตามพยัญชนะ ก็ว่ารูปที่ท่องเที่ยวไปเหมือนโค แต่ในที่นี้ หมายความว่า รูปที่เป็นอารมณ์

       โคจรรูป มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า วิสยรูป คำว่า วิสย ตรงกับคำไทยว่า วิสัย ซึ่ง แปลว่า ขอบเขต แดน ความเป็นอยู่ แต่คำ วิสยรูป ในที่นี้ก็หมายความว่า รูปที่ เป็นอารมณ์ เช่นเดียวกัน

       ดังนั้น วิสยรูป หรือโคจรรูป จึงมีความหมายเหมือนกันคือ “รูปที่เป็นอารมณ์ ของปัญจวิญญาณจิต” ซึ่งมีอยู่ ๗ ประการ คือ

       ๑. รูปารมณ์ ได้แก่ วัณณะรูป คือ รูปที่ปรากฏเห็นเป็นสีต่าง ๆ

       ๒. สัททารมณ์ ได้แก่ สัททะรูป คือ เสียงต่าง ๆ

       ๓. คันธารมณ์ ได้แก่ คันธะรูป คือ กลิ่นต่าง ๆ

       ๔. รสารมณ์ ได้แก่ รสะรูป คือ รสต่าง ๆ

       ๕. ปฐวีโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ ปฐวีรูป คือ อ่อน แข็ง

       ๖. เตโชโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ เตโชรูป คือ ร้อน เย็น

       ๗. วาโยโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ วาโยรูป คือ ไหว เคร่งตึง

       วิสยรูป หรือโคจรรูปทั้ง ๗ นี้ ถ้านับรูปที่มีองค์ธรรมโดยเฉพาะแล้วจะได้  ๔ คือ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ ส่วนโผฏฐัพพารมณ์ ทั้ง ๓ นั้น องค์ธรรมได้แก่ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ คือ มหาภูตรูป ๓ ที่ได้กล่าว มาแล้วนั่นเอง ดังนั้น “โผฏฐัพพารมณ์” จึงไม่มีสภาวะของตนเอง โดยเฉพาะ สาเหตุที่เรียก ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ว่า โผฏฐัพพารมณ์ ก็เพราะว่า ธาตุทั้ง ๓ นี้กระทบทางกายปสาทได้ เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณได้ จึงเรียก โผฏฐัพพารมณ์ ซึ่งก็หมายถึงอารมณ์ที่มากระทบให้รู้ได้ทางกายปสาทนั่นเอง


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...