ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม
นอกจากนี้
ยังแบ่งรูปเป็นประเภทใหญ่อีกนัยหนึ่ง คือ รูปประเภทที่ ๑ ประเภทเดียว
ซึ่งมีมหาภูตรูป ๔ รูป
ได้ชื่อว่าเป็นมหาภูตรูป
(ตรงตามชื่อเดิม) ส่วนที่เหลืออีก
๑๐ ประเภท คือ ตั้งแต่ประเภทที่ ๒
ถึง ๑๑ รวมจำนวน ๒๔ รูป
ได้ชื่อว่าเป็น อุปาทายรูป
มหาภูตรูป
๔ ๑.
มหาภูตรูป มี ๔
รูป
๒.
ปสาทรูป มี ๕
รูป
๓.
โคจรรูป
มี ๔
รูป
๔.
ภาวรูป
มี ๒
รูป
๕.
หทยรูป
มี ๑
รูป
นิปผันนรูป
๑๘
๖.
ชีวิตรูป
มี ๑
รูป
อุปทายรูป
๒๔ ๗.
อาหารรูป มี ๑
รูป
๘.
ปริจเฉทรูป มี ๑
รูป
๙.
วิญญัตติรูป มี ๒
รูป
๑๐.
วิการรูป มี ๓
รูป
อนิปผันนรูป
๑๐
๑๑.
ลักขณรูป มี ๔
รูป
ก.
ที่ได้ชื่อว่า มหาภูตรูป
เพราะรูปธรรมทั้ง ๔ รูปนี้
เป็นรูปที่เป็นใหญ่ เป็นประธาน
เป็นที่อาศัยแก่รูปอื่น ๆ
ทั้งหลาย รูปอื่น ๆ
ทั้งหมดถ้าไม่มีมหาภูตรูป
รองรับก็เกิดขึ้นไม่ได้
มหาภูตรูปมีอยู่ทั่วไปในโลกธาตุทั้งปวง
ในวิสุทธิมัคคแสดงว่า
ที่ได้ชื่อว่ามหาภูตรูป เพราะ
๑. มหนฺตปาตุภาวโส
เป็นธาตุที่ปรากฏอยู่ เป็นใหญ่
เป็นประธาน
เป็นที่อาศัยแห่งรูปทั้งหลาย
๒. มหาภูตสามญฺญโต
มีลักษณะที่หลอกลวง
เกิดดับดุจปีศาจ
๓. มหาปริหารโต เป็นสิ่งที่ต้องบริหารมากเลี้ยงดูมาก
เพราะย่อยยับ
อยู่เสมอ
๔. มหาวิการโต
มีอาการเปลี่ยนแปลงมาก
เคลื่อนไหวมาก
๕. มหตฺต
ภูตตฺตา เป็นของใหญ่และมีจริง
ต้องพิจารณามาก
ข.
ที่ได้ชื่อว่า
อุปาทายรูป
เพราะเป็นรูปธรรมที่ต้องอาศัยมหาภูตรูปเป็นแดน
เกิด ถ้าไม่มีมหาภูตรูปแล้ว
อุปทายรูปก็ไม่สามารถที่จะเกิดตามลำพังได้
เมื่อไม่มีที่ อาศัยเกิด
ก็เกิดไม่ได้
ค. นิปผันนรูป ๑๘
รูป มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ๕
ชื่อ คือ
๑. นิปผันนรูป
คือ รูปที่มีสภาวะของตนเอง
๒. สภาวรูป
คือ รูปที่มีสภาพของตน
ปรากฏได้แน่นอน
๓. สลักขณรูป
คือ
รูปที่มีไตรลักษณ์โดยสภาพของตนเอง
๔. รูปรูป
คือ
เป็นรูปที่ผันแปรแตกดับด้วยความร้อนและความเย็น
๕. สัมมสนรูป
คือ
เป็นรูปที่ควรแก่การพิจารณาไตรลักษณ์ เพราะ
เห็นได้ง่าย
ง. อนิปผันนรูป ๑๐
รูป มีชื่อเรียก ๕ ชื่อ คือ
๑. อนิปผันนรูป
คือ รูปที่ไม่มีสภาวะของตนเอง
ต้องอาศัยนิปผันน
รูป
จึงจะมีรูปของตนเกิดขึ้นมาได้ ถ้าไม่มีนิปผันนรูปแล้ว อนิป
ผันนรูปก็จะมีขึ้นมาไม่ได้
๒. อสภาวรูป
คือ
รูปที่ไม่มีสภาพของตนโดยเฉพาะ
๓. อสลักขณรูป
คือ
รูปที่ไม่มีไตรลักษณ์โดยสภาพของตนเอง
๔. อรูปรูป
คือรูปที่ไม่ได้แตกดับเพราะความร้อนและความเย็น
๕. อสัมมสนรูป
เป็นรูปที่ไม่ควรใช้ในการพิจารณาไตรลักษณ์
เพราะเห็นได้ยาก
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ