ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

๔. วาโย

       คำว่าวาโยธาตุ หรือวาโยรูป เป็นรูปปรมัตถ ซึ่งมีลักษณะไหวหรือเคร่งตึง มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

       วิตฺถมฺภน ลกฺขณา         มีความเคร่งตึง เป็นลักษณะ

       สมุทีรณ รสา                     มีการไหว เป็นกิจ

       อภินิหาร ปจฺจุปฏฺฐานา           มีการเคลื่อนย้าย เป็นผล

       อวเสสธาตุตฺตย ปทฏฺฐานา      มีธาตุทั้ ๓ ที่เหลือ เป็นเหตุใกล้

       ธรรมชาติที่ทรงภาวะการเคร่งตึงก็ดี การไหวก็ดีที่มีอยู่ในกายนั้น เรียกว่า วาโยธาตุ

       วาโยธาตุ ธาตุลม แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ

       ก. ลกฺขณาวาโย หรือ ปรมตฺถวาโย ได้แก่ลักษณะของธาตุลมที่มีสภาวะให้ พิสูจน์รู้ได้ ๒ ลักษณะ คือ

  (๑) วิตฺถมฺภน ลกฺขณ  มีลักษณะเคร่งตึง ซึ่งมีอยู่ในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

  (๒) สมุทีรณ ลกฺขณ  มีลักษณะไหวโคลง ซึ่งมีอยู่ในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

       วาโยธาตุตามนัยแห่งปรมัตถนั้น หมายถึง ธรรมชาติที่มีลักษณะ “ไหวหรือ เคร่งตึง” ธาตุลมที่มีลักษณะไหว เรียกว่า “สมุทีรณวาโย” และธาตุลมที่มีลักษณะ เคร่งตึง เรียกว่า “วิตฺถมฺภนวาโย”

       ธรรมชาติของวิตถัมภนวาโยนี้ ทำให้รูปที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้น ตั้งมั่นไม่ คลอนแคลนเคลื่อนไหวได้ ในร่างกายของคนเรา ถ้ามีวิตถัมภนวาโยปรากฏแล้ว บุคคลผู้นั้นจะรู้สึกตึง ปวดเมื่อยไปทั่วร่างกาย หรือเมื่อเวลาที่เราเกร็งแขน ขา หรือ เพ่งตาอยู่นานๆ โดยไม่กระพริบตา ก็จะปรากฏเป็นอาการเคร่งตึง นั่นคือ วิตถัมภน วาโยธาตุปรากฏ

       ในร่างกายของคนและสัตว์ ถ้ามีวิตถัมภนวาโยมากมีสมุทีรณวาโยน้อยร่างกาย หรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะเคร่งตึง   ถ้ามีสมุทีรณวาโยมากวิตถัมภนวาโยน้อย ร่างกายหรือสัดส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะเคลื่อนไหวหรือไหวไปได้

       ข. สสมฺภารวาโย คือ สัมภาระของลม หรือสสัมภาระต่าง ๆ ที่ประชุมกันอยู่ รวมเรียกว่า ลม แบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ

       (๑) อชฺฌตฺติกวาโย ธาตุลมภายใน หมายถึงธาตุลมอันเป็นส่วนประกอบของ ร่างกายที่มีวิญญาณ ซึ่งมีอยู่ ๖ อย่างคือ

   อุทฺธงฺคมวาโย ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน เช่น การเรอ การหาว การไอ   การจาม เป็นต้น

   อโธคมวาโย ลมที่พัดลงสู่เบื้องต่ำ เช่น การผายลม การเบ่ง (ลมเบ่ง)  เป็นต้น

   กุจฺฉิสยวาโย หรือ กุจฺฉิฏฺฐวาโย  ลมที่อยู่ในช่องท้อง  ทำให้ปวดท้อง  เสียดท้อง เป็นต้น

   โกฏฺฐาสยวาโย ลมที่อยู่ในลำไส้ เช่น ท้องลั่น ท้องร้อง เป็นต้น

   องฺคมงฺคานุสาริวาโย ลมที่พัดอยู่ทั่วร่างกาย ทำให้ไหวร่างกายได้

   อสฺสาสปสฺสาสวาโย ลมหายใจเข้าออก

       (๒) พาหิรวาโย ธาตุลมภายนอก หมายถึง ธาตุลมอันเป็นส่วนประกอบ ที่มีอยู่ในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ เช่น ลมพายุ ลมเหนือ ลมหนาว เป็นต้น

       ความปรากฏของธาตุลมซึ่งเรียกว่า วาโยธาตุ นั้น อาศัยธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือ ให้ปรากฏ และเป็นไปดังนี้

              ๑. มีปฐวีธาตุเป็นที่ตั้ง

              ๒. มีอาโปธาตุเกาะกุม

              ๓. มีเตโชธาตุ ทำให้อุ่นหรือเย็น

       ค. กสิณวาโย  หรือ อารมฺมณวาโย คือ ลมที่เป็นกสิณซึ่งเป็นอารมณ์ของ จิตแห่งพระโยคาวจร ผู้ทำฌานด้วยการที่เอาวาโยธาตุที่ทำให้ใบไม้ไหว ที่ทำให้ เส้นผมไหว ที่ทำให้ก้อนเมฆลอยไป เป็นนิมิต ตั้งแต่บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต จนถึงปฏิภาคนิมิต

       ง. ปกติวาโย หรือ สมฺมติวาโย คือ ลมธรรมดาที่พัดผ่านไปมานี่แหละ

       อนึ่ง วาโยธาตุนี้ เป็นรูปธาตุที่มีความสำคัญมากแก่สัตว์ที่มีวิญญาณ เพราะ ถ้าไม่มีลมหายใจก็ตาย และธาตุลมนี่แหละที่ทำให้ไหววาจาและไหวกายได้ ไหววาจา ไหวกายดีมีประโยชน์ ก็เป็นบุญเป็นกุสล ให้ผลเป็นสุข ไหววาจาไหวกายชั่ว มีโทษ ก็เป็นบาปเป็นอกุสลให้ผลเป็นทุกข์

       ธาตุทั้ง ๔ หรือมหาภูตรูปทั้ง ๔ อันได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช วาโย นี้เป็น สหชาตธรรม เป็นธรรมที่เกิดพร้อมกันเกิดร่วมกัน กล่าวคือไม่ว่าจะปรากฏ ณ ที่ ใด จะต้องปรากฏ ณ ที่นั้นครบทั้งคณะ คือทั้ง ๔ ธาตุเสมอ เป็นนิจและแน่นอน ต่างกันแต่เพียงว่า อาจจะมีธาตุใดธาตุหนึ่งยิ่งและหย่อนกว่ากันเท่านั้น จะขาดธาตุ ใด ธาตุหนึ่งใน ๔ ธาตุนี้ไปแม้แต่เพียงธาตุเดียว เป็นไม่มีเลย

       ธาตุดินที่แข็ง ย่อมจะอยู่กับน้ำที่เกาะกุมอยู่กับไฟที่เย็นและอยู่กับลมที่เคร่งตึง

       ส่วนธาตุดินที่อ่อน ย่อมจะอยู่กับน้ำที่ไหล อยู่กับไฟที่ร้อนและอยู่กับลมที่ไหว


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...