ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม
คู่ที่
๑๐ โคจรคาหิกรูป กับ
อโคจรคาหิกรูป
โคจรคาหิกรูป
บางแห่งเรียก โคจรัคคาหิกรูป
บางแห่งเรียก โคจรัคคหกรูป
ในที่นี้เขียนว่า โคจรคาหิกรูป
แปลว่า รูปที่รับปัญจารมณ์ได้
องค์ธรรมได้แก่ ปสาทรูป ๕
โคจรคาหิกรูป
คือ รูปที่รับปัญจารมณ์ได้
ได้แก่ ปสาทรูป ๕ รูปเท่านั้น
เพราะปสาทรูป ๕ นี้ มีความใส
มีความสามารถในการรับปัญจารมณ์ได้
จักขุปสาทรูป สามารถรับ รูปารมณ์ ทำให้เกิดการ
เห็น
โสตปสาทรูป "
สัททารมณ์ " " ได้ยิน
ฆานปสาทรูป "
คันธารมณ์ " " รู้กลิ่น
ชิวหาปสาทรูป
"
รสารมณ์ " " รู้รส
กายปสาทรูป "
โผฏฐัพพารมณ์ "
"
รู้สัมผัส
ส่วนรูปที่เหลือ
เป็นรูปที่รับปัญจารมณ์ไม่ได้
จึงมีชื่อเรียกว่า อโคจรคาหิกรูป
แปลว่า
รูปที่รับปัญจารมณ์ไม่ได้
องค์ธรรมได้แก่ รูปที่เหลือ ๒๓
อนึ่ง
โคจรคาหิกรูป คือ ปสาทรูปทั้ง ๕
ที่มีความใส ความสามารถรับ
ปัญจารมณ์ได้นั้น ยังจำแนกได้ ๒
อย่าง คือ
๑. อสัมปัตตโคจรคาหิกรูป
หมายความว่า
เป็นรูปที่สามารถรับอารมณ์ที่
ยังไม่มาถึงตนได้ มี ๒ รูป ได้แก่
จักขุปสาทรูป และโสตปสาทรูป
๒. สัมปัตตโคจรคาหิกรูป
หมายความว่า
เป็นรูปที่สามารถรับได้แต่อารมณ์
ที่มาถึงตน มี ๓ รูป ฆานปสาทรูป
ชิวหาปสาทรูป และกายปสาทรูป
มีคำอธิบายว่า
จักขุปสาทรูป
รับรูปารมณ์ที่ยังมาไม่ถึงตน
จึงจะทำให้เกิดการ เห็นได้
ถ้ารูปารมณ์นั้นมาถึงจักขุปสาทรูปเสียแล้ว
รูปนั้นก็จะมาปิดความใสเสีย
จึงไม่สามารถรับได้ คือ
ไม่เกิดการเห็น เช่น
ยกมือมาจนถึงนัยน์ตา
ก็จะไม่เห็นเลย
โสตปสาทรูป
ก็เช่นเดียวกัน
ต้องเป็นเสียงที่อยู่ในระยะที่พอเหมาะแก่
โสตปสาทรูปจะรับได้
จึงจะเกิดการได้ยิน
ถ้าเสียงนั้นถึงโสตปสาทรูปเสียทีเดียวแล้ว
ก็รับไม่ได้
ไม่ทำให้เกิดการได้ยิน เช่น
ถ้าจะเอาอะไรเคาะที่โสตปสาทรูป
ก็จะไม่ได้ ยินเสียง
แต่จะเจ็บไปเท่านั้นเอง
ส่วนฆานปสาทรูป
ต้องมีกลิ่น
คือไอระเหยนั้นมาถึงตน
จึงจะรับได้
ทำให้เกิดรู้ว่ากลิ่นนั้นเหม็นหรือหอม
ถ้าไอระเหยนั้นไม่ลอยมาถึงฆานปสาทรูปแล้ว
ก็จะไม่รู้ว่าเหม็นหรือหอมเลย
เช่น สุนัขเน่าลอยน้ำมา
แม้แต่จะไกลสักหน่อย ก็จะแลเห็น แต่ไม่ได้กลิ่น
เพราะกลิ่นนั้นลอยลมมาไม่ถึงฆานปสาทรูป
ชิวหาปสาทรูป
ก็ต้องมีรสมาถึงลิ้นจึงจะรู้
ถ้าไม่ถึงเป็นไม่รู้ เช่น
ไม่นำมาแตะ ลิ้น
ก็ไม่รู้ว่าเปรี้ยวหรือหวาน
ต่อเมื่อแตะถูกลิ้น
จึงรู้ว่าหวานเป็นก้อนน้ำตาลกรวด
ถ้าแตะที่ลิ้นรู้ว่าเปรี้ยวเป็นก้อนสารส้ม
กายปสาทรูป
ก็เช่นเดียวกัน
ต่อเมื่อสัมผัสถูกต้องแล้ว
จึงจะรู้ว่าแข็งหรืออ่อน
ร้อนหรือเย็น ถ้าไม่สัมผัสถูก
ก็เป็นเพียงแต่นึกรู้เอาตามสัญญาที่จำได้
ไม่ใช่รู้ทาง กายปสาทรูป
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ