ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม
อกุสลสังคหะกองที่
๓ โยคะ ๔
วฏฺฏสฺสมึ
สตฺเต โยเชนฺตีติ โยคา ฯ
ธรรมที่ประกอบสัตว์ให้ติดอยู่ในวัฏฏ
ทุกข์ (คือภพต่าง ๆ) นั้นชื่อว่า
โยคะ
โยคะ
หมายความว่า เครื่องประกอบ
ทำหน้าที่ประกอบสัตว์ทั้งหลายไว้ใน
สังสารทุกข์
เหมือนตะปูที่ตอกตรึงเครื่องประกอบบ้านเรือนไว้
อีกนัยหนึ่งหมายความว่า
ประกอบสัตว์ให้ติดแน่นในสังสารวัฏฏเหมือนติดไว้
ด้วยกาว
ยากแก่การที่จะถอนให้หลุดพ้นจากวัฏฏสงสาร
โยคะ
มี ๔
ประการ คือ
๑.
กามโยคะ
ตรึงให้ติดอยู่กับกามคุณ
องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก
ที่ในโลภ มูลจิต ๘
๒.
ภวโยคะ
ตึงให้ติดอยู่กับความยินดีในอัตภาพของตน
ตลอดจนชอบใจ ในรูปภพ อรูปภพ
องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก
ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
๓.
ทิฏฐิโยคะ
ตรึงให้ติดอยู่กับความเห็นผิดจากความเป็นจริงของสภาวธรรม
องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก
ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
๔.
อวิชชาโยคะ
ตรึงให้ติดอยู่กับความหลง
เพราะไม่รู้เหตุผลตามความเป็น
จริง จึงโลภ โกรธ หลง
องค์ธรรมได้แก่
โมหเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒
รวมโยคะมี
๔ แต่องค์ธรรมมีเพียง ๓ คือ โลภเจตสิก
ทิฏฐิเจตสิก
และ โมหเจตสิก
(เท่ากันและเหมือนกันกับองค์ธรรมของ
อาสวะ และของโอฆะ)
โสดาปัตติมัคค
ประหาร
ทิฏฐิโยคะ
อนาคามิมัคค
ประหาร
กามโยคะ
อรหัตตมัคค
ประหาร
ภวโยคะ
และ อวิชชาโยคะ
อนึ่ง
อาสวะ โอฆะ โยคะ ทั้ง ๓
กองที่กล่าวแล้วนี้
แต่ละกองก็มีธรรม ๔
ประการเท่ากัน
ชื่อของธรรมก็เหมือนกัน คือ มี
กาม ภวะ ทิฏฐิ อวิชชา และ
องค์ธรรมก็มี ๓
เท่ากันและเหมือนกัน คือ โลภะ
ทิฏฐิ โมหะ
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ