ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม
องค์ธรรมของสัมมัปปธาน
องค์ธรรมของสัมมัปปธานทั้ง
๔ นี้ได้แก่ วิริยเจตสิก
ตามสัมปโยคนัย
วิริยเจตสิกประกอบกับจิตได้ ๗๓
หรือ ๑๐๕ ดวง (เว้นอวีริยจิต
๑๖)
แต่วิริยเจตสิกที่เป็นสัมมัปปธานได้
เฉพาะที่ประกอบกับกุสลญาณสัมปยุตต
จิต ๑๗ เท่านั้น คือ มหากุสลญาณ
สัมปยุตตจิต ๔,
มหัคคตกุสล
๙,
มัคคจิต
๔
ส่วนวิริยเจตสิกที่ในอกุสลจิต
๑๒,
ที่ในอเหตุกจิต
๒ (คือ
มโนทวารา วัชชนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต
๑)
ที่ในมหากุสลญาณวิปปยุตตจิต
๔,
ที่ในมหาวิบาก
จิต ๘,
ที่ในมหากิริยาจิต
๘,
ที่ในมหัคคตวิบากจิต
๙,
ที่ในมหัคคตกิริยาจิต
๙ และที่ในผลจิต ๔ รวม ๕๖ ดวงนี้
ไม่นับเป็นสัมมัปปธาน เพราะ
ก.
วิริยเจตสิกที่ในอกุสลจิต
๑๒ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้เพราะสัมมัปปธาน
หมายความว่า
การเพียรพยายามโดยชอบธรรม
แต่อกุสลจิตเป็นจิตที่ไม่ชอบธรรม
ดังนั้นวิริยเจตสิกที่ในอกุสลจิตจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
แต่เรียกได้ว่าเป็น มิจฉา
ปธาน
ข.
วิริยเจตสิกที่ในมโนทวาราวัชชนจิต
๑ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะ
มโนทวาราวัชชนจิตไม่มีหน้าที่ทำชวนกิจประการหนึ่ง
และเป็นจิตที่ไม่มีสัมปยุตต
เหตุเลยอีกประการหนึ่ง
ความเพียรพยายามนั้นจึงมีกำลังอ่อนไม่เรียกว่าเป็นความ
พยายามอันยิ่งยวด ดังนั้น
จึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
ค.
วิริยเจตสิกที่ในหสิตุปปาทจิต
๑ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะจิตดวง
นี้เป็นจิตยิ้มแย้มของพระอรหันต์
การยิ้มแย้มของพระอรหันต์เป็นแต่เพียงกิริยา
ไม่มี
การละอกุสลหรือเจริญกุสลแต่อย่างใด
ดังนั้นจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
ง.
วิริยเจตสิกที่ในมหากุสลญาณวิปปยุตต
๔ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา
ก็ย่อมมีความเพียรพยายามน้อยเป็นธรรมดา
ไม่
มากจนถึงกับเรียกว่าเป็นอย่างยิ่งยวดได้
และถ้าหากว่าจะเกิดมีความเพียรพยายาม
เป็นอย่างยิ่งยวดขึ้นมา
แต่เมื่อไม่ประกอบด้วยปัญญาแล้วไซร้
ก็ไม่สามารถที่จะรู้ อริยสัจจ ๔
ได้
ดังนั้นจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
แต่อีกนัยหนึ่งก็แสดงว่า
วิริยเจตสิกที่ในมหากุสลญาณวิปปยุตต
๔ ก็เป็น สัมมัปปธานได้
เพราะจิตที่เป็นมหากุสลญาณวิปปยุตตที่เกิดขึ้นในขณะเจริญสติ
ปัฏฐาน
ก็นับว่าเป็นสติปัฏฐานได้ดังที่กล่าวแล้วตอนแสดงองค์ธรรมของสติปัฏฐาน
นั้น
เมื่อเป็นเช่นนี้วิริยะที่ในมหากุสลญาณวิปปยุตต
๔ อันเกิดขึ้นในขณะเจริญ
สติปัฏฐาน
ก็ควรนับเป็นสัมมัปปธานได้โดยทำนองเดียวกัน
ส่วนที่จะบังเกิด
ผลเพียงใดหรือไม่นั้น
เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
จ.
วิริยเจตสิกที่ในมหาวิบากจิต
๘ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะวิบากจิต
ไม่ใช่ชวนจิต
จึงไม่มีหน้าที่ทำการละอกุสล
ไม่ก่ออกุสล ทำกุสล และเจริญกุสล
รวม ๔ อย่าง
อันเป็นกิจการงานโดยเฉพาะของสัมมัปปธาน
มหาวิบากจิตมีหน้าที่
ทำแต่ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ
จุติกิจ และตทาลัมพนกิจเท่านั้น
ดังนั้นจึงเป็น
สัมมัปปธานไม่ได้
ฉ.
วิริยเจตสิกที่ในมหากิริยาจิต
๘ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะจิตทั้ง
๘ ดวงนี้เป็นจิตของพระอรหันต์
ซึ่งเรียกว่า อเสกขบุคคล
คือบุคคลผู้จบการศึกษาแล้ว
ละกิเลสได้เป็นสมุจเฉทปหาน
ไม่มีอกุสลใดที่จะต้องละ
ต้องระวังอีก รวมทั้งไม่มี
กุสลใดที่จะต้องก่อ
จะต้องรักษาให้เจริญยิ่ง ๆ
ขึ้นไปอีกแล้ว
รวมความมหากิริยาจิต
ไม่ต้องทำหน้าที่การงานของสัมมัปปธานนั้นเลย
ดังนั้นจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
ช.
วิริยเจตสิกที่ในมหัคคตวิบากจิต
๙ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะ
จิตทั้ง ๙ ดวงนี้ ทำหน้าที่
ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ
โดยเฉพาะเพียง ๓ อย่างนี้
เท่านั้น
ไม่มีหน้าที่ในชวนกิจเลย
จึงไม่มีหน้าที่ทำการ
ละอกุสลไม่ก่ออกุสล ทำกุสล
และเจริญกุสลทั้ง ๔
อย่างนี้แต่อย่างใดเลย
เมื่อไม่มีหน้าที่ทำกิจการงานของสัมมัป
ปธานจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
ซ.
วิริยเจตสิกที่ในมหัคคตกิริยาจิต
๙ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะจิต
๙ ดวงนี้ เป็นจิตของพระอรหันต์
เมื่อเป็นจิตของพระอรหันต์
ก็มีเหตุผลดังกล่าวมา
แล้วในมหากิริยาจิตนั้น
ดังนั้นจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
ญ.
วิริยเจตสิกที่ในผลจิต
๔
(หรืออย่างพิสดาร
๒๐)
เป็นสัมมัปปธาน
ไม่ได้ เพราะผลจิตไม่ได้เป็นผู้กระทำการ
ละอกุสล ไม่ก่ออกุสลไม่ทำกุสล
และ เจริญกุสล
อันเป็นหน้าที่การงานโดยเฉพาะของสัมมัปปธานแต่อย่างใด
ๆ เลย เป็น
แต่เพียงเป็นผู้รับผลเสวยผลที่มัคคจิตได้กระทำการงานทั้ง
๔ นั้นมาให้แล้ว เมื่อ
ไม่ได้ทำหน้าที่ของสัมมัปปธาน
จึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ