ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

องค์ธรรมของสติปัฏฐาน

องค์ธรรมของสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ได้แก่ สติเจตสิก

ตามสัมปโยคนัยนั้น สติเจตสิกประกอบกับจิตที่เป็นโสภณได้ทั้งหมด คือ ๕๙ หรือ ๙๑

แต่สติเจตสิก ในสติปัฏฐานนี้ได้แก่ สติเจตสิกที่ประกอบกับติเหตุกชวนจิต ๓๔ ดวง เท่านั้น

ส่วนสติเจตสิกที่ประกอบกับจิตที่เป็น มหากุสลญาณวิปปยุตต ๔ , มหากิริยา ญาณวิปปยุตต ๔, มหาวิบาก ๘, มหัคคตวิบาก ๙ รวมจิต ๒๕ ดวงนี้ เป็น สติปัฏฐานไม่ได้ เพราะ

. สติเจตสิกที่ในมหากุสลญาณวิปปยุตต ๔, มหากิริยาญาณวิปปยุตต ๔ นั้น เป็นจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา จึงไม่สามารถกำหนดให้ระลึกรู้ และตั้งมั่นใน อารมณ์อันเป็นหน้าที่ การงานของสติปัฏฐานนั้นให้ถึงนามรูปปริจเฉทญาณได้ เหตุนี้จึงเป็นสติปัฏฐานไม่ได้ 311.JPG (7458 bytes)

แต่อีกนัยหนึ่งแสดงว่า แม้สติเจตสิกที่ประกอบกับจิตที่เป็นมหากุสลญาณ วิปปยุตต ๔ และมหากิริยาญาณวิปปยุตต ๔ ก็จัดเป็นสติปัฏฐานได้ เพราะการ เจริญสติปัฏฐานนั้น มิใช่ว่าจิตจะเป็นมหากุสลญาณสัมปยุตตอยู่เสมอตลอดไป ย่อมต้อง มีจิตที่เป็นญาณวิปปยุตตบ้าง สัมปยุตตบ้าง สลับกันไป ดังนั้นสติเจตสิกที่ ประกอบกับจิตมหากุสลญาณวิปปยุตตที่เกิดขึ้นในขณะที่เจริญสติปัฏฐาน จึงนับว่า เป็นสติปัฏฐานได้ ส่วนการที่จะเจริญได้ผลเพียงใดหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ต่างหาก

ส่วน มหากิริยาญาณวิปปยุตตจิต ๔ จะเกิดขึ้นในขณะใด จึงจะนับว่าเป็นสติ ปัฏฐานได้อย่างไรหรือไม่ ยังไม่พบคำอธิบาย

. สติเจตสิกที่ในมหาวิบากจิต ๘ มีหน้าที่ทำ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ และ ตทาลัมพนกิจ ไม่ได้ทำหน้าที่ระลึกรู้อารมณ์ และตั้งมั่นในอารมณ์เพื่อให้เห็น รูปนาม อันเป็นหน้าที่การงานของสติปัฏฐาน คือ ชวนจิต ดังนั้นจึงเป็นสติปัฏฐาน ไม่ได้

. สติเจตสิกที่ในมหัคคตวิบากจิต ๙ ก็เช่นเดียวกัน มีหน้าที่การงานทำ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ และ จุติกิจเท่านั้น ไม่ได้ทำหน้าที่ รู้เห็นรูปนาม อันเป็นการ งานของสติปัฏฐาน คือ ชวนกิจแต่อย่างใดเลย จึงเป็นสติปัฏฐานไม่ได้


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...