ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม
๔.
ปีติสัมโพชฌงค์
คือ
ปีติเจตสิกที่มีความอิ่มใจในการเจริญสติปัฏฐาน
ผู้ที่ เจริญสติปัฏฐาน
เมื่อมีสติ มีปัญญา
จนเกิดความเพียรพยายามอย่างจริงจังแล้ว
ย่อม เกิดปีติเป็นธรรมดา
ปีติที่เกิดด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาภาวนา
ย่อมทำลาย อรติ คือ ความไม่ยินดี
ที่เป็นเหตุให้เกิดความยินร้าย
หรือพยาปาทะเสียได้
ปีติดังนี้จึงได้ชื่อว่า
ปีติสัมโพชฌงค์
การที่ปีติเป็นถึงสัมโพชฌงค์นั้น
ย่อมประกอบด้วยธรรมที่อุปการะ
๑๑ ประการ คือ
ก.
พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของ พระพุทธเจ้า
ข.
ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณของ พระธรรม
ค.
สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของ พระสงฆ์
ง.
สีลานุสสติ ระลึกถึงคุณของ
ศีล
จ.
จาคานุสสติ ระลึกถึงคุณของ การเสียสละ
ฉ.
เทวดานุสสติ ระลึกถึงคุณของ เทวดา
ช.
อุปสมานุสสติ ระลึกถึงคุณของ พระนิพพาน
ซ.
เว้นจากผู้ที่ปราศจากสัทธา
ฌ.
สมาคมกับผู้ที่มีสัทธา
มีเจตนาอันดีงาม
ญ.
เรียนพระสูตรที่น่าเลื่อมใส
คือ ปสาทนิยสูตร เป็นต้น
ฏ.
หมั่นเจริญสติปัฏฐานเนือง
ๆ
เมื่อบริบูรณ์ด้วยอุปการะธรรมเหล่านี้
ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมจะเกิด
ขึ้น
องค์ธรรมของปีติสัมโพชฌงค์
ได้แก่ ปีติเจตสิก ที่ใน
โสมนัสมหากุสลญาณ สัมปยุตตจิต ๒
โสมนัสมหากิริยาญาณสัมปยุตตจิต
๒ และ สัปปีติอัปปนาชวนจิต ๓๐
รวมเป็น ๓๔ ดวง
สัปปีติอัปปนาชวนจิต
๓๐ คือ
โลกีย
กุสล ปฐมฌาน
๑
ทุติยฌาน
๑
ตติยฌาน
๑
โลกีย
กิริยา ปฐมฌาน
๑
ทุติยฌาน
๑
ตติยฌาน
๑
โลกุตตร ปฐมฌาน
๘
ทุติยฌาน
๘
ตติยฌาน
๘
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ