ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง จิต คือ วิญญาณ ขันธ์ อันมี ๑๖ บรรพ ได้แก่

บรรพที่ ๑                    สราค                    คือจิตที่                    มีราคะ

บรรพที่ ๒                    วีตราค                    คือจิตที่                    ไม่มีราคะ

บรรพที่ ๓                    สโทส                    คือจิตที่                    มีโทสะ

บรรพที่ ๔                    วีตโทส                    คือจิตที่                    ไม่มีโทสะ

บรรพที่ ๕                    สโมห                    คือจิตที่                    มีโมหะ

บรรพที่ ๖                    วีตโมห                    คือจิตที่                    ไม่มีโมหะ

บรรพที่ ๗                    สงฺขิตฺต                    คือจิตที่                    มีถีนมิทธะ

บรรพที่ ๘                    วิกฺขิตฺต                    คือจิตที                    ฟุ้งซ่าน

บรรพที่ ๙                    มหคฺคต             คือจิตที่                    เป็นรูปาวจร อรูปาวจร

บรรพที่ ๑๐                    อมหคฺคต             คือจิตที่                    ไม่ใช่รูปาวจร อรูปาวจร

                                               (หมายถึง กามาวจร)

บรรพที่ ๑๑                    สอุตฺตร                    คือจิตที่                    เป็นกามาวจร

บรรพที่ ๑๒             อนุตฺตร                    คือจิตที่                    ไม่ใช่โลกุตตร 

                                               (หมายถึง รูปาวจร และ อรูปาวจร)

บรรพที่ ๑๓                    สมาหิต                    คือจิตที่                    เป็นสมาธิ

บรรพที่ ๑๔                    อสมาหิต                    คือจิตที่                    ไม่เป็นสมาธิ

บรรพที่ ๑๕                    วิมุตฺติ             คือจิตที่                    ประหารกิเลส พ้นกิเลส

บรรพที่ ๑๖                    อวิมุตฺติ                    คือจิตที่                    ไม่ได้ประหารกิเลส ไม่พ้นกิเลส

311.JPG (7458 bytes)จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้ง ๑๖ บรรพนี้ ไม่ได้กล่าวถึงโลกุตตรจิตด้วยเลย เพราะโลกุตตรจิตนั้นจะใช้เป็นอารมณ์แห่งสติปัฏฐานไม่ได้ ด้วยเหตุว่าโลกุตตรจิต ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ๆ เหมือนจิตอื่น ๆ ซึ่งจิตอื่น ๆ นั้นเกิดขึ้นบ่อย ๆ เมื่อจิตใดกำลัง เกิดอยู่ ก็ใช้จิตนั้นเป็นอารมณ์ในการเจริญสติปัฏฐาน คือพิจารณาจิตนั้น อีกประการ หนึ่ง โลกุตตรจิตไม่ใช่อุปาทานขันธ์ จึงใช้เป็นอารมณ์วิปัสสนาไม่ได้

จิตทั้ง ๑๖ บรรพนี้ ใช้เป็นอารมณ์แห่งสติปัฏฐานในการเจริญวิปัสสนาภาวนา เว้นแต่ อากาสานัญจายตนกุสลจิต ๑ กิริยาจิต ๑ อากิญจัญญายตนกุสลจิต ๑ กิริยา จิต ๑ รวมมหัคคตจิต ๔ ดวงนี้เท่านั้น ที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถภาวนา ได้ด้วย

ที่กำหนดพิจารณาจิตเหล่านี้ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา ก็เพื่อให้รู้เท่าทันว่า จิตที่กำลังเกิดอยู่นั้นเป็นจิตโลภ จิตโกรธ จิตหลง จิตฟุ้งซ่าน หรือเป็นจิตชนิดใด เมื่อรู้ประจักษ์ชัดเช่นนี้ ก็ทำให้เกิดความรู้ต่อไปว่า ที่โลภ ที่โกรธ ที่หลงนั้น เป็นอาการของจิต หาใช่ว่าเราโลภ เราโกรธ เราหลงไม่ เพราะจิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา และ เราก็ไม่ใช่จิต จะห้ามไม่ให้จิตอย่างนั้นเกิด ให้เกิดแต่จิตอย่างนี้เถอะก็ไม่ได้เลย จิต ย่อมเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยที่มาปรุงแต่ง เหตุปัจจัยที่มาปรุงแต่งจิตมีสภาพอย่าง ใด จิตก็มีอาการเป็นไปอย่างนั้น เมื่อหมดเหตุหมดปัจจัยจิตก็ดับไป

จิตเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่มีรูปร่างตัวตน เห็นด้วยนัยน์ตาก็ไม่ได้ เป็น ธรรมชาติที่ไม่ใช่รูป แต่เป็นธรรมชาติที่เรียกว่า นาม คือ นามจิต

ความรู้ในจิตดังกล่าวนี้ จึงจะเรียกได้ว่าเป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานอันเป็น อารมณ์ของวิปัสสนาภาวนา ซึ่งมีความสามารถที่จะละสักกายทิฏฐิ คือ ความยึดถือ ว่าเป็นจิตเราจิตเขานั้นเสียได้

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๖ บรรพนี้ นับว่ามี ๑ บรรพก็ได้ โดยอาศัยนับ ตามลักษณะของจิต ซึ่งมีสภาพที่รับรู้อารมณ์แต่อย่างเดียวเท่านั้น

ในเรื่องที่ว่า จิตในจิต จิตในจิตอันเป็นภายใน จิตในจิตอันเป็นภายนอก ก็มี นัยเป็นทำนองเดียวกันกับ กายในกาย เวทนาในเวทนา ดังที่ได้กล่าวแล้วในตอนต้น นั้น จึงไม่ต้องกล่าวซ้ำในที่นี้อีก


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...