ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม
อกุสลสังคหะกองที่
๘ สังโยชน ๑๐
สํโยเชนฺติ
พนฺธนฺตีติ สํโยชนานิ ฯ
ธรรมเหล่าใดย่อมผูกสัตว์ทั้งหลายไว้
ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า สังโยชน
ทูรคตสฺสาปี
อากฑฺฒนโต นิสฺสริตํ อปฺปทานวเสน
พนฺธนํ สํโยชนํ ฯ การผูกสัตว์ให้ติดอยู่ในวัฏฏทุกข์
ด้วยอำนาจไม่ให้ออกไปจากทุกข์ในวัฏฏะ
โดยเหตุ
ที่คร่าหรือดึงสัตว์ที่อยู่ในที่ไกลให้ลงมา
นั้นชื่อว่า สังโยชน
สัตว์ทั้งหลายที่ถูกเชือก
คือ สังโยชน
ผูกคอไว้ในกามคุณทั้ง ๕
ซึ่งเปรียบ ด้วยเรือนจำ
จึงไม่สามารถที่จะไปไหนได้เลย
สังโยชน
หรือ สัญโญชน
มี ๒ นัย คือ
ตามนัยแห่งพระอภิธรรมและ
ตามนัยแห่งพระสูตร
ต่างก็มีจำนวนนัยละ ๑๐
ประการเท่ากัน เหมือนกันบ้าง
ต่างกันบ้าง ดังต่อไปนี้
สังโยชนตามนัยแห่งพระอภิธรรม |
สังโยชนตามนัยแห่งพระสูตร |
๑.
กามราคสังโยชน |
๑.
กามราคสังโยชน |
โลภเจตสิกที่ในโลภมูลจิต
๘ |
โลภเจตสิกที่ในโลภมูลจิต
๘ |
๒.
ภวราคสังโยชน |
๒.
รูปราคสังโยชน |
โลภเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต
๔ |
โลภเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต
๔ |
๓.
ปฏิฆสังโยชน |
๓.
อรูปราคสังโยชน |
โทสเจตสิกที่ในโทสมูลจิต
๒ |
โลภเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต
๔ |
สังโยชนตามนัยแห่งพระอภิธรรม(ต่อ) |
สังโยชนตามนัยแห่งพระสูตร(ต่อ) |
๔.
มานสังโยชน |
๔.
ปฏิฆสังโยชน |
มานเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต
๔ |
โทสเจตสิกที่ในโทสมูลจิต
๒ |
๕.
ทิฏฐิสังโยชน |
๕.
มานสังโยชน |
ทิฏฐิเจตสิกในทิฏฐิสัมปยุตต
๔ |
มานเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต
๔ |
๖.
สีลัพพตปรามาสสังโยชน |
๖.
ทิฏฐิสังโยชน |
ทิฏฐิเจตสิกที่ในทิฏฐิสัมปยุตต
๔ |
ทิฏฐิเจตสิกในทิฏฐิสัมปยุตต
๔ |
๗.
วิจิกิจฉาสังโยชน |
๗.
สีลัพพตปรามาสสังโยชน |
วิจิกิจฉาเจตสิกที่ในวิจิกิจฉาจิต |
ทิฏฐิเจตสิกที่ในทิฏฐิสัมปยุตต
๔ |
๘.
อิสสาสังโยชน |
๘.
วิจิกิจฉาสังโยชน |
อิสสาเจตสิกที่ในโทสมูลจิต
๒ |
วิจิกิจฉาเจตสิกที่ในวิจิกิจฉาจิต |
๙.
มัจฉริยสังโยชน |
๙.
อุทธัจจสังโยชน |
มัจฉริยเจตสิกที่ในโทสมูลจิต
๒ |
อุทธัจจเจตสิกที่ในอกุสลจิต
๑๒ |
๑๐.
อวิชชาสังโยชน |
๑๐.
อวิชชาสังโยชน |
โมหเจตสิกที่ในอกุสลจิต
๑๒ |
โมหเจตสิกที่ในอกุสลจิต
๑๒ |
|
|
รวมสังโยชนตามนัยแห่งพระอภิธรรม
มีองค์ธรรม ๘ คือ |
รวมสังโยชนตามนัยแห่งพระสูตร
นั้นมี องค์ธรรมเพียง ๗ คือ |
โลภเจตสิก |
โลภเจตสิก |
โทสเจตสิก |
โทสเจตสิก |
มานเจตสิก |
มานเจตสิก |
ทิฏฐิเจตสิก |
ทิฏฐิเจตสิก |
วิจิกิจฉาเจตสิก |
วิจิกิจฉาเจตสิก |
อิสสาเจตสิก |
อุทธัจจเจตสิก
และ |
มัจฉริยเจตสิก
และ |
โมหเจตสิก |
โมหเจตสิก |
|
เมื่อรวมองค์ธรรมของสังโยชน
ตามนัยแห่งพระอภิธรรม
และตามนัยแห่ง
พระสูตรเข้าด้วยกันแล้ว
ก็ได้องค์ธรรม ๙ คือ
โลภเจตสิก โทสเจตสิก มานเจตสิก
ทิฏฐิเจตสิก วิจิกิจฉาเจตสิก
อิสสาเจตสิก มัจฉริยเจตสิก
อุทธัจจเจตสิก และ โมหเจตสิก
ดังนั้นจึงกล่าวว่า
สังโยชน มี ๑๐ ประการ
รวมมีองค์ธรรม ๙
สังโยชนนี้
ยังจำแนกได้เป็น ๒ จำพวก คือ โอรัมภาคิยสังโยชน
และ อุทธังภาคิยสังโยชน
โอรัมภาคิยสังโยชน
หมายความว่า
สังโยชนอันเป็นกิเลสธรรมมีส่วนในเบื้องต่ำ
อุทธังภาคิยสังโยชน
หมายความว่า
สังโยชนอันเป็นกิเลสธรรมมีส่วนในเบื้องสูง
ตามนัยแห่งพระอภิธรรม |
ตามนัยแห่งพระสูตร |
โอรัมภาคิยสังโยชน
๗ |
โอรัมภาคิยสังโยชน
๕ |
กามราคะ |
กามราคะ |
ปฏิฆะ |
ปฏิฆะ |
ทิฏฐิ |
ทิฏฐิ |
สีลัพพตปรามาส |
สีลัพพตปรามาส |
วิจิกิจฉา |
วิจิกิจฉา |
อิสสา |
|
มัจฉริยะ |
|
อุทธังภาคิยสังโยชน
๓ |
อุทธังภาคิยสังโยชน
๕ |
ภวราคะ |
รูปราคะ |
|
อรูปราคะ |
มานะ |
มานะ |
|
อุทธัจจะ |
อวิชชา |
อวิชชา |
การประหารสังโยชนโดยลำดับแห่งกิเลส
คือ ตามลำดับแห่งสังโยชนนั้น
สังโยชนใดพึงประหารโดยอริยมัคคใด
ดังต่อไปนี้
กิเลสปฏิปาฏิยา
กามราคปฏิฆสํโยชนานิ
อานาคามิมคฺเคน ปหียนฺติ มาน
สํโยชนํ อรหตฺตมคฺเคน,
ทิฏฺฐิวิจิกิจฺฉา
สีลพฺพตปรามาสา โสตาปตฺติมคฺเคน,
ภวราคสํโยชนํ
อรหตฺตมคฺเคน,
อิสฺสามจฺฉริยานิ
โสตาปตฺติมคฺเคน,
อวิชฺชา
อรหตฺตมคฺเคนฯ
กามราคสังโยชน ปฏิฆสังโยชน |
พึงประหารโดย
อนาคามิมัคค |
มานสังโยชน |
พึงประหารโดย
อรหัตตมัคค |
ทิฏฐิสังโยชน วิจิกิจฉาสังโยชน สีลัพพตปรามาสสังโยชน |
พึงประหารโดย
โสดาปัตติมัคค |
ภวราคสังโยชน |
พึงประหารโดย
อรหัตตมัคค |
อิสสาสังโยชน มัจฉริยสังโยชน |
พึงประหารโดย
โสดาปัตติมัคค |
อวิชชาสังโยชน |
พึงประหารโดย
อรหัตตมัคค |
ที่กล่าวมานี้
เป็นการแสดงการประหารสังโยชน ๑๐
ตามนัยแห่งพระอภิธรรม
ส่วนการประหารสังโยชน ๑๐
ตามนัยแห่งพระสูตรนั้น ดังนี้
โสดาปัตติมัคค
ประหาร |
ทิฏฐิสังโยชน สีลัพพตปรามาสสังโยชน วิจิกิจฉาสังโยชน |
อนาคามิมัคค ประหาร |
กามราคสังโยชน ปฏิฆสังโยชน |
อรหัตตมัคค ประหาร |
รูปราคสังโยชน อรูปราคสังโยชน มานสังโยชน อุทธัจจสังโยชน อวิชชาสังโยชน |
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ