ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

อกุสลสังคหะกองที่ ๔ คันถะ ๔

กาเยน กายํ คนฺเถนฺตีติ กายคนฺถา ฯ ธรรมเหล่าใดผูก คือเกี่ยวคล้องไว้ ระหว่างนามกายในรูปกายปัจจุบันภพ กับนามกายรูปกายในอนาคตภพ ธรรมเหล่า นั้นชื่อว่า กายคันถะ

คนฺถ กรณํ สงฺขลิก จกฺกลกานํ วิย ปฏิพนฺตา กรณํ วา คนฺถนํ คนฺโถ ฯ การร้อยรัดหรือผูกพันให้ติดอยู่ประดุจจะโซ่เหล็กนั้น ชื่อว่า คันถะ

คันถะ มีความหมายว่า ผูกมัดหรือทำให้เป็นปม อีกนัยหนึ่งหมายความว่า เป็นห่วงที่ร้อยรัดไว้ในระหว่าง จุติ-ปฏิสนธิ ให้เกิดก่อต่อเนื่องกันไม่ให้พ้นไปจาก วัฏฏทุกข์ได้

คันถะมี ๔ ประการ คือ

๑. อภิชฌากายคันถะ ผูกมัดอยู่กับความยินดี ชอบใจ อยากได้ องค์ธรรม ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในโลภมูลจิต ๘

อภิชฌา ที่เป็นคันถะนี้แตกต่างกับอภิชฌาที่เป็นมโนทุจริต คือ

อภิชฌาที่เป็นมโนทุจริตนั้น เป็นโลภะอย่างหยาบ มีสภาพอยากได้ทรัพย์ สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของตนโดยไม่ชอบธรรม

ส่วนอภิชฌาที่เป็นคันถะนี้ เป็นได้ทั้งโลภะอย่างหยาบ และอย่างละเอียดทั้ง หมดที่เกี่ยวกับความอยากได้ความชอบใจในทรัพย์สมบัติของผู้อื่น หรือแม้ของ ตนเอง จะโดยชอบธรรมก็ตาม ไม่ชอบธรรมก็ตาม จัดเป็นอภิชฌากายคันถะทั้งสิ้น

๒. พยาปาทกายคันถะ ผูกมัดอยู่กับความโกรธ จะถึงกับคิดปองร้ายด้วย หรือไม่ก็ตาม องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก ที่ในโทสมูลจิตทั้ง ๒ ดวง

พยาปาท ที่เป็นคันถะนี้ แตกต่างกับพยาปาทที่เป็นมโนทุจจริต คือ

พยาปาทที่เป็นมโนทุจจริต ได้แก่ โทสะอย่างหยาบ เกี่ยวกับการปองร้ายผู้อื่น ตลอดจนการนึกคิดให้เขามีความลำบาก เสียหายต่าง ๆ หรือนึกแช่งผู้อื่นที่เขา ไม่ชอบนั้นให้ถึงแก่ความตาย

ส่วนพยาปาท ที่เป็นคันถะนี้ ได้แก่ โทสะอย่างหยาบก็ตาม อย่างละเอียด ก็ตาม คือ ความไม่ชอบใจ ไม่พอใจ โกรธ เกลียด กลัว กลุ้มใจ เสียใจ ตลอดไปจน ถึงการทำปาณาติบาต ผรุสวาท เหล่านี้ จัดเป็นพยาปาทกายคันถะทั้งสิ้น

๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ ผูกมัดอยู่ในความชอบใจในการปฏิบัติที่ผิด ว่าปฏิบัติอย่างนี้แหละเป็นทางให้พ้นทุกข์ โดยเข้าใจว่าเป็นการถูกต้องแล้วชอบแล้ว แต่ถ้าหากว่ามีผู้รู้แนะนำสั่งสอนทางที่ถูกต้องให้ ก็สามารถกลับใจได้ จึงเปรียบไว้ว่า เป็นทิฏฐิชั้นลูกศิษย์ พอจะแก้ให้ถูกได้ องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคต สัมปยุตตจิต ๔

๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ ผูกมัดอยู่ในความชอบใจในการปฏิบัติที่ผิด แต่ว่ารุนแรงมั่นคงแน่วแน่มากกว่าในข้อ ๓ นอกจากนั้นแล้วยังดูหมิ่นและเหยียบย่ำ ทับถมวาทะ หรือมติของผู้อื่นด้วย ถึงแม้ว่าจะมีผู้รู้มาชี้แจงแสดงเหตุผลในทางที่ถูก ที่ชอบประการใด ๆ ก็ไม่ยอมกลับใจได้เลย จึงมีข้อเปรียบไว้ว่าเป็นทิฏฐิชั้นอาจารย์ เพราะไม่สามารถที่จะแก้มาในทางที่ชอบได้ องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตต ๔

รวมคันถะมี ๔ แต่องค์ธรรมมีเพียง ๓ คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก และทิฏฐิ เจตสิก (จำนวน ๓ เท่ากัน แต่องค์ธรรมไม่เหมือนกันกับของ อาสวะ โอฆะ โยคะ)

         โสดาปัตติมัคค ประหาร สีลัพพตปรามาสกายคันถะ        และ อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ

         อนาคามิมัคค ประหาร พยาปาทกายคันถะ

         อรหัตตมัคค ประหาร อภิชฌากายคันถะ

?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...