ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม
ลำดับการเทสนาอริยสัจจ
ในการที่พระองค์ทรงเทสนา
ทุกขอริยสัจจ
เป็นลำดับต้นก็เพราะว่า
ทุกข์เป็น ของหยาบ
และปรากฏอยู่เป็นเนืองนิจ
จึงรู้ได้ง่ายกว่าสมุทัย
สังขารทั้งหลายล้วนแต่เป็นทุกข์
และทุกข์ก็เกิดมีขึ้นได้เอง
ตามธรรมดาของ สังขาร
ส่วนสุขมีได้เฉพาะที่ตั้งใจเป็นธุระประกอบโดยชอบด้วยอุบาย
ถึงกระนั้นก็
ต้องผันแปรไปเป็นทุกข์อีก
รวมความว่า มีทุกข์เป็นพื้นฐาน
จะมีสุขเฉพาะเมื่อ
แก้ทุกข์ให้สงบชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น
สุขเป็นสิ่งที่ปรารถนาเมื่อได้สุขก็มักจะไม่ใคร่รู้สึก
มีแต่ยังไม่พอและปรารถนา
ต่อไปอีก
ส่วนทุกข์เป็นสิ่งที่ไม่ปรารถนา
เมื่อเกิดขึ้นแม้มีปริมาณน้อย
ผู้เสวยทุกข์ก็
ย่อมรู้สึกเหมือนว่ามากมายเสียเหลือเกิน
ดังนี้
ทุกข์จึงเป็นสิ่งที่รู้ได้ง่ายกว่าสมุทัย
ตัวอย่างเช่น
เกิดปวดท้องก็รู้สึกทันที
ว่าปวดท้อง
แต่เหตุอะไรที่ทำให้ปวดท้องนั้นรู้ได้ยาก
ที่ว่า
ทุกข์เกิดมีขึ้นได้เองตามธรรมดาของสังขาร
ส่วนสุขมีได้เฉพาะที่ตั้งใจ
ประกอบชอบด้วยอุบายนั้น
ยกตัวอย่างที่เห็นได้ง่าย ๆ เช่น
นั่งอยู่นาน ๆ ก็ปวด
เมื่อยเป็นทุกข์ขึ้นมาแล้ว
จึงลงนอนหรือลุกขึ้นเดินเสีย
ก็หายปวดหายเมื่อยไป ชั่วคราว
ครั้นเมื่อนอนหรือเดินนาน ๆ
หน่อย
ก็เมื่อยหรือเหนื่อยขึ้นมาอีก
ต้อง เปลี่ยนอริยาบถเรื่อย ๆ
ไปไม่มีที่สิ้นสุด
สังขารของมนุษย์อยู่ได้ด้วยอาหาร
ก็เป็น
ทุกข์ในการหาใส่ปากใส่ท้อง
หิวขึ้นมาก็ต้องตะเกียกตะกายทนหนาวทนร้อนหามา
บำบัดความหิว ดังนี้
เมื่อกล่าวตามสภาพแห่งความเป็นจริงแล้ว
ในโลกนี้เกือบไม่มี อะไรสุข
มีแต่ทุกข์ทั้งนั้น
เพราะเหตุนี้
วชิราภิกษุณีจึงกล่าวคาถาเฉพาะพระพักตร์
พระผู้มีพระภาคเจ้า
โดยใจความว่า
นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด
นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่
นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ
ทุกข์นั่นแหละเกิด
ทุกข์นั่นแหละตั้งอยู่
ทุกข์นั่นแหละดับไป
ดังในพระธรรมบท
กล่าวว่า
ทุกฺขเมว
หิ สมฺโภติิ
อันที่จริงทุกข์เท่านั้นเองเกิดขึ้น
ทุกฺขํ
ติฏฺฐติ เวติ จ
ทุกข์นั่นเองตั้งอยู่และเสื่อมไปด้วย
นาญฺญตฺร
ทุกฺขา สมฺโภติ
นอกจากทุกข์
ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
นาญฺญตฺร
ทุกฺขา นิรุชฺฌติ
นอกจากทุกข์
ไม่มีอะไรดับ
ตามที่ท่านสอนให้เห็นทุกข์
ให้รู้จักทุกข์
ก็เพื่อจะตัดความเข้าใจผิดว่าทุกข์นี้
เป็นสุข
และเพื่อจะได้สาวหาสาเหตุของทุกข์ว่ามาแต่อะไร
เมื่อเห็นทุกข์อันเป็นสิ่งที่เห็นได้ง่ายนั้นก่อนแล้ว
จึงสาวหาเหตุที่ทำให้เกิด
ทุกข์ซึ่งเป็นตัว สมุทัย
อันได้แก่ ตัณหา ดังนั้น
จึงแสดงสมุทัยในอันดับที่ ๒
เพราะสมุทัย เป็นของที่ชอบใจ
เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา
จึงสำคัญไปว่าเป็นสุข
ต่อเมื่อเห็นแจ้งว่า
สมุทัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
จึงจะเกิดความเบื่อหน่ายต่อสมุทัย
ความเบื่อหน่ายเช่นนี้
เป็นปัญญา
ความเบื่อหน่ายนั้นมี
๒ ประการ
ความเบื่อหน่ายที่เนื่องมาจากโทสะ
โมหะ นั้น เลือกเบื่อหน่าย
สิ่งใดไม่ชอบก็เบื่อหน่ายในสิ่งนั้น
แต่ว่าสิ่งใดที่ยังชอบใจ ติดใจ
อยู่ ก็หาเบื่อหน่ายไม่
หรือเบื่อหน่ายตามวัยตามกาล
เช่น
สิ่งใดที่ผิดวัยก็เบื่อหน่าย
ที่ถูกวัยก็ไม่เบื่อหน่าย
เวลาอิ่มก็เบื่อหน่าย
ครั้นหิวขึ้นมาก็ไม่เบื่อหน่าย
เป็นต้น
ส่วนความเบื่อหน่ายที่เกิดจากปัญญานั้น
เป็นการเบื่อหน่ายต่อสิ่งทั้งปวง
ไม่ใช่เลือก เบื่อหน่ายบ้าง ไม่เบื่อหน่ายบ้างอย่างที่ว่านั้น
ความเบื่อหน่ายต่อทุกข์
ทำให้เห็นโทษของสมุทัย
อันเป็นต้นเหตุให้เกิดทุกข์
ก็เลยเบื่อหน่ายต่อสมุทัย
ทำให้คลายความโลภลง
ครั้นความโลภคือตัณหาคลายลง
จนดับหมดสิ้นเมื่อใด
เมื่อนั้นก็เป็นพระนิพพาน
เพราะนิพพานเป็นที่ดับสิ้นแห่ง
ตัณหา
เหตุนี้จึงแสดงนิโรธสัจจอันหมายถึงพระนิพพานไว้เป็นอันดับที่
๓
นิโรธสัจจ
อันเป็นสัจจที่ ๓ นี้เป็นผล
เมื่อทรงแสดงผลพอให้เกิดปัญญาเห็น
อานิสงส์แห่งพระนิพพานแล้ว
จึงทรงแสดงมัคคอริยสัจจ
เป็นอันดับที่ ๔ อันเป็น
สัจจที่เป็นเหตุเป็นหนทางให้ถึงพระนิพพาน
หนทางที่จะถึงพระนิพพาน
ต้องประหารตัณหา
ตัณหาจะเกิดก็เพราะมีเวทนา
กล่าวคือ
เมื่อมีสุขเวทนาก็อยากให้สุขนั้นคงอยู่ตลอดไป
ครั้นเมื่อมีทุกขเวทนาก็
อยากให้ทุกข์นั้นหายไป
และอยากให้สุขเกิดขึ้นมาแทน
ขณะที่ไม่ทุกข์ไม่สุข ก็อยาก
ให้คงเป็นอยู่เช่นนั้น
เพราะแม้ว่าจะไม่สุขแต่ที่ไม่มีทุกข์ก็ดีอยู่แล้ว
ถ้ายิ่งเป็นสุขก็ยิ่ง ดีมาก
ปรารถนาเช่นนี้
ก็ด้วยอำนาจแห่งตัณหา
ถ้าหยุดได้แค่เวทนา
ตัณหาไม่เข้า มาต่อ
ความอยากอย่างนั้นอย่างนี้ก็ไม่มี
จะหยุดอยู่แค่เวทนาได้
ก็ต้องใช้สติเข้าไป กั้น
เพราะฉะนั้น
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ท่านจึงกล่าวว่าสำหรับแก้ตัณหาจริต
อย่างละเอียด
เมื่อมามีสติรู้เท่าทันของเวทนาอยู่เสมอ
ตัณหาก็เกิดขึ้นไม่ได้ ด้วยเหตุ
ฉะนี้
พระพุทธองค์จึงได้ทรงตรัสแก่อชิตมาณพ
ว่า
สติ
เตสํ นิวารณํ
สติเป็นเครื่องกั้นตัณหาทั้งหลาย
ปญฺญาเยเต
ปิถิยฺยเร ตัณหานั้นอันบุคคลจะตัดเสียได้ด้วยปัญญา
เพียงแต่สติก็กั้นหรือยับยั้งตัณหาไว้ได้แล้ว
ยังเติมปัญญาลงไปอีก
ตัณหาที่ถูก ยับยั้งไว้นั้น
จึงเป็นอันถึงซึ่งความตัดขาดให้ดับสูญไปเลย
สติและปัญญาทั้ง ๒ นี้ก็ คือ
มัคคอริยสัจจนี่เอง
มัคคอริยสัจจ
หรือ อัฏฐังคิกอริยมัคค
เป็นมัชฌิมาปฏิปทา
เป็นทางปฏิบัติที่ เป็นท่ามกลาง
เป็นสายกลาง
ไม่เข้าไปใกล้ส่วนที่ผิดอันลามก
๒ ประการ คือ กาม สุขัลลิกานุโยค
และ อัตตกิลมถานุโยค
ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น
ในบรรดาสังขตธรรมอันมีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
อัฏฐังคิกอริยมัคค
นี้เป็นยอด ของสังขตธรรมทั้งปวง
เพราะเป็นหนทางที่ดับตัณหา
ดับกิเลส ดับอกุสล พ้นจาก
ทุจจริตทั้งปวง
เป็นทางที่ให้เกิดปัญญารู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจจทั้ง
๔ โดยประ จักขสิทธิ
อัฏฐังคิกอริยมัคค
เป็นทางแห่ง วิวัฏฏกุสล
เป็นกุสลชนิดที่ไม่ต้องกลับมา
วนเวียนอยู่ในสังสารวัฏฏอีก
เป็น อกุปปธรรม
คือ ธรรมที่ไม่รู้กำเริบ
หมายความ ว่า เมื่อมัคคมีองค์ ๘
นี้ได้ประหารกิเลสใดแล้ว
กิเลสนั้น ๆ
เป็นไม่มีวันที่จะกำเริบ
ขึ้นมาได้อีกเลยเป็นอันขาด
เท่าที่กล่าวมาแล้วนี้
เป็นอันว่าจบเนื้อหาแห่งอริยสัจจทั้ง
๔ แล้ว แม้จะเป็น
โดยย่อก็คงพอจะเห็นได้ว่า
ทุกข์เป็นของจริง
ใครจะเห็นว่าเป็นสุขก็ตาม
แต่ทุกข์คงเป็นทุกข์อยู่นั่นเอง
สมุทัยคือตัณหา
เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง
แม้ใครจะเห็นว่าเป็นเหตุให้เกิดสุข
ตัณหาก็คงเป็นเหตุให้เกิดทุกข์อยู่นั่นเอง
นิโรธคือดับ
ดับตัณหาจนตัณหาดับ
ทุกข์ก็ดับได้จริง
ทุกข์ดับสิ้นก็เป็น พระนิพพาน
แม้ใครจะว่าพระนิพพานมีหรือไม่มีก็ตาม
แต่ว่าพระนิพพานก็มีอยู่จริง
มัคค
เป็นธรรมดาที่ดับทุกข์โดยแท้
แม้ผู้ใดจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม
ถ้าได้ดำเนิน ทางมัคคมีองค์ ๘
นี้แล้ว
ก็เป็นทางที่ดับทุกข์ได้จริง
อริยสัจจธรรมทั้ง
๔ ย่อมต้องเกี่ยวเนื่องกัน
ดังที่ได้กล่าวมานี้
จึงกล่าวไว้ว่า
เมื่อปัญญาได้แจ้งในสัจจใดสัจจหนึ่งแล้ว
ย่อมเกี่ยวเนื่องต่อโยงกันให้แจ้งในสัจจทั้ง
๔ นั้นด้วย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ