ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม
สติปัฏฐาน
กับ อัฏฐังคิกมัคค
สติปัฏฐาน
๔
อันเป็นกองแรกของโพธิปักขิยสังคหะนี้
ก็แสดงว่าเป็นไปเพื่อ
ให้แจ้งพระนิพพาน โดยอธิบายว่า
ผู้ที่ปรารถนาจะบรรลุพระนิพพานต้องประพฤติ
ดำเนินไปในสติปัฏฐาน ๔ นี้ และอัฏฐังคิกมัคค
คือ มัคคมีองค์ ๘ อัน เป็นกอง
สุดท้ายของโพธิปักขิยสังคหะนี้
ก็ว่าเป็นไปเพื่อให้แจ้งพระนิพพาน
โดยอธิบายว่า ผู้
ที่จะบรรลุพระนิพพานต้องดำเนินทางสายกลาง
คือ มัคคมีองค์ ๘ นี้ ความทั้ง ๒
ข้อ นี้สงเคราะห์เข้ากันได้
มีอธิบายไว้ว่า
ในอริยมัคค
หรืออัฏฐังคิกมัคค คือ
มัคคมีองค์ ๘ นั้น
มีองค์หนึ่งชื่อว่า สัมมาสติ
ก็คือ สติปัฏฐานนี่เอง
ดังนั้นเมื่อเห็นในสติปัฏฐานก็ชื่อว่าเห็นชอบ
ดำริ
ในสติปัฏฐานก็ชื่อว่าดำริชอบ
พูดเรื่องสติปัฏฐาน
ก็ชื่อว่าพูดชอบ การงานของใจ
เป็นไปในสติปัฏฐาน
ก็ชื่อว่าการงานชอบ
มีความเป็นอยู่ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน
ก็ชื่อว่าเป็นอยู่ชอบ
เพียรในสติปัฏฐาน
ก็ชื่อว่าเพียรชอบ
ระลึกในสติปัฏฐาน ก็ชื่อ ว่า
ระลึกชอบ
ตั้งจิตมั่นในสติปัฏฐาน
ก็ชื่อว่าตั้งใจมั่นชอบ
ดังนี้จะเห็นได้ว่า เป็น
การดำเนินสติปัฏฐานกับเจริญอัฏฐังคิกมัคคพร้อมกันไปในตัวทีเดียวด้วยแล้ว
แม้สติ ปัฏฐานจะเป็นจุดเริ่มต้น
และอัฏฐังคิกมัคคเป็นจุดที่สำเร็จผล
แต่ในขณะที่บรรลุแจ้ง
พระนิพพานนั้น
โพธิปักขิยธรรมทั้ง ๓๗
ประการย่อมประกอบพร้อมกัน
ซึ่งจะได้ กล่าวต่อไปข้างหน้า
พระธรรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามีมากมาย
ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น
เปรียบเหมือนเถาวัลย์ขึ้นพันต้นไม้
บุคคลจะจับตรงไหนและฉุดกระชาก
ย่อม กระเทือนไหวไปตลอดทั้งเถา
ดังนั้นจึงได้ทรงแสดงว่า
สติปัฏฐานเป็นไปเพื่อทำ
พระนิพพานให้แจ้ง
ชื่อว่าไม่แย้งไม่ขัดต่อต่ออริยมัคคซึ่งเป็นมรรคาทางแห่งพระ
นิพพานตามนัยแห่งอริยสัจจนั้นแต่ประการใดเลย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ