ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม
องค์ธรรมของอริยสัจจ
๑.
ทุกขอริยสัจจ
ตามนัยแห่งพระอภิธรรมแสดงว่า
องค์ธรรมได้แก่ โลกียจิต ๘๑,
เจตสิก
๕๑ (เว้นโลภเจตสิก)
, รูป
๒๘ รวมเป็นธรรม ๑๖๐
ส่วนตามนัยแห่งพระสูตรแสดงว่า
ทุกขอริยสัจจ ได้แก่
(๑)
ชาติทุกข
ความเกิดเป็นทุกข์
เพราะมีการเกิดในภพใหม่นั้นเป็นลักษณะ
มีการประสิทธิประสาททุกข์ให้เป็นกิจ
มีการตั้งอยู่ในภพนั้นเป็นเครื่องปรากฏ
(๒)
ชราทุกข
ความแก่ชราเป็นทุกข์ เพราะ
มีความเสื่อมหรือความหง่อม
คร่ำคร่าเป็นลักษณะ
มีการนำเข้าหาความตายเป็นกิจ
มีการสูญเสียความสวยงามเป็น
เครื่องปรากฏ
(๓)
มรณทุกข
ความตายเป็นทุกข์
เพราะมีการจุติหรือเคลื่อนไปเป็นลักษณะ
มีการพลัดพรากหรือแตกสลายเป็นกิจ
มีการปราศไปจากคติที่ตนได้อยู่นั้นเป็นเครื่อง
ปรากฏ
(๔)
โสกทุกข
ความโศกเศร้าเป็นทุกข์ เพราะ
มีการแผดเผาจิตใจให้เร่าร้อน
ด้วยกิเลสเป็นลักษณะ
มีการทำให้จิตใจกระสับกระส่ายเป็นกิจ
มีการละห้อยละเหี่ย ใจ
เป็นเครื่องปรากฏ
(๕)
ปริเทวทุกข
การบ่นพร่ำรำพันเป็นทุกข์
เพราะมีการร่ำไรพร่ำบ่นเป็น
ลักษณะ
มีการประกาศคุณและโทษเป็นกิจ
มีการกล่าววกไปวนมาเป็นเครื่องปรากฏ
(๖)
ทุกขทุกข
ความไม่สบายกายเป็นทุกข์
เพราะมีการไม่แข็งแรง หรือ
ไม่สะดวก
ไม่แคล่วคล่องเป็นลักษณะ
มีการทำให้ใจไม่สบายไปด้วย
หรือมีความ วิตกกังวลเป็นกิจ
มีความลำบากทางกายเป็นเครื่องปรากฏ
ทุกข์นี้ได้แก่
ทุกขเวทนา อันมีชื่อเรียกว่า
ทุกขทุกข์
ที่มีชื่อว่าทุกขทุกข์
เพราะเมื่อกล่าวโดยสภาพ
ก็มีสภาพเป็นทุกข์
เมื่อกล่าวโดยชื่อ
ก็มีชื่อเป็นทุกข์
(๗)
โทมนัสทุกข
ความเสียใจเป็นทุกข์
เพราะมีการเสียใจ น้อยใจ กลุ้มใจ
เป็นลักษณะ
มีการชอกช้ำใจเป็นกิจ
มีการไม่แช่มชื่นรื่นเริงใจ
หรือมีการหงอยเหงา
เศร้าใจเป็นเครื่องปรากฏ
(๘)
อุปายาสทุกข
ความคับแค้นใจเป็นทุกข์
เพราะมีความคับแค้นแน่น
อกแน่นใจเป็นลักษณะ
มีการทำให้สะอื้นและอัดอั้นตันใจเป็นกิจ
มีการเดือดดาล เป็นเครื่องปรากฏ
เพื่อให้เห็นความแตกต่างกันในระหว่าง
โสกะ ปริเทวะ และอุปายาสะ จึงมี
ข้ออุปมาว่า
น้ำมันที่อยู่ในกะทะ
ซึ่งตั้งอยู่บนเตาไฟที่ร้อนจัดจนน้ำมันเดือด
ความเดือด ของน้ำมันนี้
อุปมาเหมือน โสกะ
เดือดพล่านจนน้ำมันล้นปากกะทะออกมา
อุปมาดัง ปริเทวะ คือความเศร้า
โศกนั้นเพิ่มพูนมากขึ้น
จนล้นออกมาทางปากถึงกับบ่นพร่ำรำพันไปพลางร้องไห้ไป
พลาง
น้ำมันที่เดือดพล่านจนล้นปากกะทะออกมานั้น
กลับไม่ล้น เพราะงวดแห้งลง
ไปจนล้นออกไม่ได้
มีแต่จะเหือดแห้งไปจนถึงกับไหม้ไปเลยนั้น
อุปมาดัง อุปายาสะ
(๙)
อัปปิเยหิ
สัมปโยโค ทุกโข
การได้พบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจเป็นทุกข์
เพราะมีการประสบกับอารมณ์ที่ไม่ต้องการเป็นลักษณะ
มีการทำให้ขุ่นใจเป็นกิจ
มีการทำให้ปราศจากความสุขเป็นเครื่องปรากฏ
(๑๐)
ปิเยหิ
วิปปโยโค ทุกโข
การสูญเสียสิ่งที่รักเป็นทุกข์
เพราะมีการพลัด
พรากจากสิ่งที่รักเป็นลักษณะ
มีการยังความโศกให้เกิดขึ้นเป็นกิจ
มีการฉิบหายจาก
วัตถุอันเป็นที่รักเป็นเครื่องปรากฏ
(๑๑)
ยัมปิจฉัง
น ลภติ ตัมปิ ทุกขัง
ความไม่สมหวังดังปรารถนาเป็นทุกข์
เพราะมีการอยากได้วัตถุที่ไม่ควรได้เป็นลักษณะ
มีการพยายามแสวงหาวัตถุนั้นเป็น
กิจ
มีการไม่สมประสงค์เป็นเครื่องปรากฏ
(๑๒)
สังขิตเตน
ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา รวมยอดสรุปว่า
อุปาทาน ขันธ์ ๕
นั่นแหละเป็นทุกข์เพราะอุปาทานขันธ์
๕ เป็นเหตุให้ทุกขทั้ง ๑๑ ประการ
ดังกล่าวแล้วนั้น อาศัยเกิด
ถ้าไม่มีขันธ์ ๕ เลย
ทุกข์ก็ไม่รู้ว่าจะอาศัยเกิดที่ไหนได้
เมื่ออุปาทานขันธ์
๕ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร
และวิญญาณ นี่เป็นทุกข์
ดังนั้นผู้ที่ยินดีใน รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ
ก็ชื่อว่ายินดีทุกข์ ชอบก็
ชื่อว่า ชอบทุกข์
รักก็ชื่อว่ารักทุกข์
แสวงหาชื่อก็ชื่อว่าแสวงหาทุกข์
เพราะว่าเป็น ไปเสียเช่นนี้
จึงไม่พ้นทุกข์ไปได้เลย
สมกับคำที่ว่า ผู้ใดชอบทุกข์
ผู้นั้นไม่พ้นทุกข์
ผู้ใดไม่ชอบทุกข์
ผู้นั้นจึงจะพ้นทุกข์
และเพราะเหตุว่า
ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
จึงจัดว่าขันธ์นี้เป็นมาร ๑
ในจำนวน มารทั้ง ๕
เลยถือโอกาสกล่าวถึงมาร ๕
ไว้ด้วย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ