ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๑ สติปัฏฐาน ๔

สติ คือ ความระลึกรู้อารมณ์ที่เป็นฝ่ายดี ยับยั้งมิให้จิตตกไปในทางชั่ว หรือ ความระลึกได้ที่รู้ทันอารมณ์อันเป็นฝ่ายดี

ปัฏฐาน คือ ความตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์

ดังนั้น สติปัฏฐาน ก็คือ ความตั้งมั่นในการระลึกรู้อารมณ์ที่เป็นฝ่ายดี มี ความหมายโดยเฉพาะถึงอารมณ์อันเป็นที่ตั้งมั่นแห่งสติ ๔ ประการคือ กาย เวทนา จิต ธรรม

สติตั้งมั่นพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมนี้มีจุดประสงค์จำแนกได้เป็น ๒ ทาง คือ

. สติตั้งมั่นในการพิจารณา บัญญัติ เพื่อให้จิตสงบ ซึ่งเรียกว่า สมถ ภาวนา มีอานิสงส์ให้บรรลุฌานสมาบัติ

. สติตั้งมั่นในการพิจารณา รูปนาม เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งเรียกว่า วิปัสสนาภาวนา มีอานิสงส์ให้บรรลุถึงมัคค ผล นิพพาน

การกำหนดพิจารณาไตรลักษณ์ ก็เพื่อให้รู้เห็นสภาพตามความเป็นจริงว่า สิ่ง ทั้งหลายล้วนแต่เป็นรูปนามเท่านั้น และรูปนามทั้งหลายเหล่านั้น ก็มีลักษณะเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หาได้เป็นแก่นสารยั่งยืนเลย จะได้ก้าวล่วงเสียซึ่งความเห็น ผิด ไม่ให้ติดอยู่ในความยินดียินร้ายอันเป็นการเริ่มต้นที่จะให้ถึงหนทางดับทุกข์ทั้ง ปวง303.JPG (20990 bytes)

สติปัฏฐานจึงเป็นทางสายเอก และเป็นทางสายเดียวที่ทำให้ผู้ดำเนินตาม ทางนี้ ถึงความบริสุทธิหมดจดจนบรรลุพระนิพพาน ดังนั้นผู้ที่ปรารถนาจะบรรลุ มัคค ผล นิพพาน ต้องเริ่มต้นด้วยสติปัฏฐานนี้

มหาสติปัฏฐานสูตร กล่าวไว้ว่า ภควา เอตทโวจ เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแล้ว ซึ่งพระพุทธวจนะดังนี้ ดูก่อน พระภิกษุทั้งหลาย อันว่าหนทางนี้เป็นหนทางเอก เพื่อความบริสุทธิหมดจดแห่งสัตว์ ทั้งหลาย เพื่อความก้าวล่วงเสียด้วยดี ซึ่ง ความโศกและความร่ำไร เพื่อดับไปแห่ง เหล่าทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน สิ่งนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔

ญายธรรม คือ ธรรมที่ควรรู้ มี ๕ ประการ ได้แก่

. สังขาร คือธรรมที่ปรุงแต่ง ได้แก่ อุปาทินนกสังขาร และอนุปาทินนก สังขาร

. วิการ คือธรรมที่ผันแปรเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ความเปลี่ยนแปรของสัตว์ ที่เป็นไปในภูมิต่าง ๆ

. ลักษณะ คือธรรมที่เป็นเหตุให้รู้เห็น ได้แก่ ลักษณะของสภาวะ

. นิพพาน คือธรรมที่พ้นแล้วจากกิเลส ได้แก่ ความดับที่ไม่เกิดอีกเลย

. บัญญัติ คือธรรมที่เพียงแต่ใช้พูดจากล่าวขานกันเท่านั้น ได้แก่ อัตถ บัญญัติ สัททบัญญัติ304.JPG (5493 bytes)

สติปัฏฐาน มี ๔ ประการ คือ

. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนืองๆ ซึ่งกาย คือ รูปขันธ์ หรือรูปธรรม มี ๑๔ ฐาน หรือ ๑๔ บรรพ (บรรพ = ข้อ)

. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งเวทนา คือ เวทนาขันธ์ มี ๙ ฐาน หรือ ๙ บรรพ

. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งจิต คือวิญญาณ ขันธ์ มี ๑๖ ฐาน หรือ ๑๖ บรรพ

. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งธรรม คือ รูปนามขันธ์ ๕ มี ๕ ฐาน หรือ ๕ บรรพ

รวมเป็น ๔๔ ฐาน หรือ ๔๔ บรรพ นี่เป็นการนับจำนวนโดยพิสดาร

ถ้านับอย่างสังเขป ก็มีเพียง ๒๑ ฐาน หรือ ๒๑ บรรพ คือ นับกาย ๑๔ ตามเดิม เวทนานับเพียง ๑ จิตก็นับเพียง ๑ และธรรมคงนับ ๕


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...