ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

สงเคราะห์อริยสัจจโดยนัยต่าง ๆ

อริยสัจจทั้ง ๔ สงเคราะห์โดยนัยต่าง ๆ ได้ดังนี้ คือ

. ทุกขสัจจ มีเพียง ๑ คือ มีสภาพที่ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ยั่งยืนคงทนอันเป็น ตัวทุกข์จริง ๆ

สงเคราะห์ว่ามี ๒ ก็ได้ คือ ทุกขสัจจที่เป็นรูปธรรม และทุกขสัจจที่เป็น นามธรรม

สงเคราะห์ว่ามี ๓ ก็ได้ คือ ทุกขสัจจในกามภูมิ ทุกขสัจจในรูปภูมิ และทุกข สัจจในอรูปภูมิ

สงเคราะห์ว่ามี ๔ ก็จำแนกโดยอาหาร ๔ ซึ่งได้แก่ ชาติ ชรา พยาธิ และ มรณะ ธรรมทั้ง ๔ นี้ ล้วนแต่เป็นอาหารของทุกข์ คือเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เพราะ ถ้าไม่มีชาติ ไม่มีความเกิดแล้วทุกข์ทั้งหลายก็จะเกิดมีขึ้นมาไม่ได้

สงเคราะห์ว่ามี ๕ ก็จำแนกโดยอุปาทานขันธ์ ๕ คือ ทุกขสัจจ แห่งรูปขันธ์  แห่งเวทนาขันธ์ แห่งสัญญาขันธ์ แห่งสังขารขันธ์ และแห่งวิญญาณขันธ์

. สมุทยสัจจ ก็มีเพียง ๑ คือ ตัณหา ได้แก่ โลภะ อันเป็นต้นเหตุ เป็นมูลเหตุ ให้เกิดทุกขสัจจ

สงเคราะห์ว่ามี ๒ ก็จำแนกตัณหาเป็น ทิฏฐิคตสัมปยุตต และ ทิฏฐิคต วิปปยุตต

สงเคราะห์ว่ามี ๓ ก็จำแนกได้เป็น กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา

สงเคราะห์ว่ามี ๔ ก็จำแนกด้วยอำนาจแห่งการประหารของมัคคจิตทั้ง ๔

สงเคราะห์ว่ามี ๕ ก็จำแนกโดยกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และ การสัมผัสถูกต้อง

สงเคราะห์ว่ามี ๖ ก็จำแนกตามอารมณ์ทั้ง ๖ เป็น รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา และ ธัมมตัณหา360.JPG (7040 bytes)

. นิโรธสัจจ มีเพียง ๑ คือ พระนิพพาน

สงเคราะห์ว่ามี ๒ คือ จำแนกโดยปริยายแห่งเหตุ ก็ได้แก่ สอุปาทิเสส นิพพาน และอนุปาทิเสสนิพพาน

สงเคราะห์ว่ามี ๓ คือ จำแนกโดยอาการที่เข้าถึง ก็ได้แก่ อนิมิตตนิพพาน อัปปณิหิตนิพพาน และ สุญญตนิพพาน

สงเคราะห์ว่ามี ๔ คือจำแนกไปตามมัคคจิต ๔ ซึ่งเป็นผู้เห็นแจ้งพระนิพพาน มีโสดาปัตติมัคคจิต เป็นต้น

สงเคราะห์ว่ามี ๕ ก็ด้วยการนับความดับแห่งขันธ์ทั้ง ๕ คือ ความดับ แห่งรูปขันธ์ แห่งเวทนาขันธ์ แห่งสัญญาขันธ์ แห่งสังขารขันธ์ แห่งวิญญาณขันธ์

สงเคราห์ว่ามี ๖ ก็ด้วยการนับความดับแห่งอารมณ์ทั้ง๖ และหรือทวารทั้ง ๖

. มัคคสัจจ มีเพียง ๑ คือ อัฏฐังคิกมัคค มัคคมีองค์ ๘ อันเป็นทางเดียว ที่ให้บรรลุถึงพระนิพพานด้วยการประหารกิเลส

สงเคราห์ว่ามี ๒ เป็นการจำแนกตามนัยแห่งมาติกาคือ ทสฺสเนน ปหาตพฺ พา ธมฺมา หมายถึงมัคคสัจจแห่งโสดาปัตติมัคคจิต และ ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺ มา หมายถึงมัคคสัจจแห่งมัคคจิตเบื้องบนอีก ๓ มัคค

สงเคราะห์ว่ามี ๓ เป็นการจำแนกโดยขันธ์ ๓ คือ สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ และ ปัญญาขันธ์

สงเคราะห์ว่ามี ๔ คือ จำแนกโดยมัคคจิต ๔360.JPG (7040 bytes)

. ปัญญา ความรู้ในอริยสัจจธรรมนี้ยังสงเคราะห์ให้เป็น ๒ คือ โลกีย และ โลกุตตร

โลกีย เรียกว่า อนุโพธญาณ ได้แก่ญาณที่หยั่งรู้ในสัจจธรรมด้วยสุตญาณ และ จินตาญาณ

โลกุตตร เรียกว่า ปฏิเวธ เพราะเหตุมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ และรู้แจ้งแทง ตลอดในอริยสัจจทั้ง ๔

. ทุกขสัจจ กับ สมุทยสัจจ เป็นโลกียสัจจ นิโรธสัจจ กับ มัคคสัจจ เป็นโลกุตตรสัจจ

ทุกขสัจจกับสมุทยสัจจ สงเคราะห์ว่าเป็นธรรมที่เสมอกัน เพราะเป็นโลกีย ด้วยกัน และเป็นธรรมที่เป็นไปกับอาสวะได้เหมือนกัน แต่ต่างกันที่ทุกขสัจจเป็นผล สมุทยสัจจเป็นเหตุ และต่างกันที่ ทุกขสัจจเป็นกิจที่ต้องกำหนดรู้ สมุทยสัจจเป็นกิจ ที่ต้องละ

นิโรธสัจจกับมัคคสัจจ สงเคราะห์ว่าเป็นธรรมที่เสมอกัน เพราะเป็นโลกุตตร ด้วยกันแต่ต่างกันที่ นิโรธสัจจนั้นเป็นอารมณ์ มัคคสัจจเป็นอารัมมณกะ คือเป็น ผู้จับอารมณ์ และต่างกันที่ นิโรธสัจจเป็นกิจที่ต้องทำให้แจ้ง มัคคสัจจเป็นกิจที่ต้อง เจริญ กับต่างกันที่ นิโรธสัจจเป็นผล มัคคสัจจเป็นเหตุ

. ทุกขสัจจกับนิโรธสัจจ สงเคราะห์ว่าเหมือนกันเพราะเป็นฝ่ายผลเหมือน กัน แต่ต่างกันที่ทุกขสัจจเป็นฝ่ายโลกียธรรม เป็นสังขตธรรม เป็นสังขารธรรม ส่วนนิโรธสัจจเป็นฝ่ายโลกุตตรธรรม เป็นสังขตธรรม เป็นวิสังขารธรรม

สมุทยสัจจกับมัคคสัจจ สงเคราะห์ว่าเหมือนกัน เพราะเป็นฝ่ายเหตุเหมือนกัน เป็นสังขตธรรมเหมือนกัน แต่ต่างกันที่สมุทยสัจจเป็นฝ่ายโลกียและเป็นอกุสล ส่วน มัคคสัจจเป็นฝ่ายโลกุตตรและเป็นกุสล360.JPG (7040 bytes)

สังขตะ กับสังขารนั้น พยัญชนะต่างกัน แต่มีอรรถเหมือนกันว่าเป็นธรรม ที่มีปัจจัยปรุงแต่ง กล่าวคือ จิต และเจตสิก ก็ปรุงแต่งด้วย อารมณ์ วัตถุ มนสิการ และรูปก็ปรุงแต่งด้วยกรรม จิต อุตุ อาหาร ส่วนนิพพานเป็นอสังขตะ เป็นวิสังขาร เพราะไม่มีอะไรปรุงแต่งเลย

. สงเคราะห์โดยความเป็น นามสัจจ และนามรูปสัจจ

ทุกขอริยสัจจ เป็น นามรูปสัจจ เพราะทุกขสัจจนี้มีทั้งรูปทั้งนาม คือ โลกีย ๘๑, เจตสิก ๕๑ (เว้นโลภเจตสิก) และรูป ๒๘

ทุกขสมุทยอริยสัจจ ทุกขนิโรธอริยสัจจ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ เป็นนามสัจจ เพราะมีแต่นามอย่างเดียวทั้ง ๓ สัจจ คือ ทุกขสมุทยอริยสัจจ ได้แก่ โลภเจตสิก ทุกขนิโรธอริยสัจจ ได้แก่พระนิพพาน และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจจ ได้แก่มัคคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นเจตสิกทั้ง ๘ ดวง

. สงเคราะห์โดยความเป็น สุทธิสัจจ และมิสสกสัจจ ทุกขสมุทยอริยสัจจ และทุกขนิโรธอริยสัจจ เป็นสุทธิสัจจเพราะทุกขสมุทยอริยสัจจก็มีองค์ธรรมคือ โลภ เจตสิกแต่อย่างเดียว ทุกขนิโรธอริยสัจจก็มีองค์ธรรม คือ นิพพาน แต่อย่างเดียว ไม่มีธรรมอย่างอื่นมาปะปนด้วยอีกเลย จึงได้ชื่อว่า สุทธิสุจจ

ทุกขอริยสัจจ และ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ นั้นเป็นมิสสกสัจจ เพราะทุกขอริยสัจจมีองค์ธรรม ถึง ๑๖๐ องค์ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ ก็มีองค์ธรรมถึง ๘ องค์ คือ มีปะปนกันหลายสิ่งหลายอย่างจึงเรียกว่า มิสสกสัจจ

๑๐. สงเคราะห์โดยความเป็น วัฏฏสัจจ และวิวัฏฏสัจจ

ทุกขอริยสัจจ และทุกขสมุทยอริยสัจจ เป็นวัฏฏสัจจ เป็นความจริงที่อยู่ใน วัฏฏะ ยังต้องวนเวียนอยู่ในโลกทั้ง ๓ คือ กามโลก รูปโลก และอรูปโลก

ทุกขนิโรธอริยสัจจ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ เป็นวิวัฏฏสัจจ เป็น ความจริงที่พ้นจากวัฏฏะ พ้นจากโลกทั้ง ๓

?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...