ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม
โพธิปักขิยสังคหะกองที่
๕ พละ ๕
พละในโพธิปักขิยสังคหะนี้
หมายเฉพาะกุสลพละ ซึ่งมีลักษณะ ๒
ประการ
คืออดทนไม่หวั่นไหวประการหนึ่ง
และย่ำยีธรรมที่เป็นข้าศึกอีกประการหนึ่ง
ดังนั้น พละในโพธิปักขิยธรรม
จึงมีเพียง ๕ ประการ คือ
๑.
สัทธาพละ
ความเชื่อถือเลื่อมใส
เป็นกำลังทำให้อดทนไม่หวั่นไหว
และ ย่ำยีตัณหาอันเป็นข้าศึก
องค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิก
ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
ปกติสัทธา
เป็นสัทธาที่ยังปะปนกับตัณหา
หรือเป็นสัทธาที่อยู่ใต้อำนาจของ
ตัณหา จึงยากที่จะอดทนได้
ส่วนมากมักจะอ่อนไหวไปตามตัณหาได้โดยง่าย
อย่างที่ ว่า สัทธากล้า
ก็ตัณหาแก่
ส่วน
ภาวนาสัทธา
ซึ่งเป็นสัทธาที่เกิดมาจากอารมณ์กัมมัฏฐาน
จึงอดทน ไม่หวั่นไหว
และย่ำยีหรือตัดขาดจากตัณหาได้
๒.
วิริยพละ
ความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด
เป็นกำลังทำให้อดทนไม่หวั่น ไหว
และย่ำยีโกสัชชะ
คือความเกียจคร้านอันเป็นข้าศึก
องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก
ที่ในติเหตุกชวนจิต ๓๔
ความเพียรอย่างปกติตามธรรมดาของสามัญชน
ยังปะปนกับโกสัชชะอยู่ ขยัน บ้าง
เนือย ๆ ไปบ้าง
จนถึงกับเกียจคร้านไปเลย
แต่ว่าถ้าความเพียรอย่างยิ่งยวด
แม้เนื้อจะเหือดเลือดจะแห้ง
ก็ไม่ยอมท้อถอยแล้ว
ย่อมจะอดทนไม่หวั่นไหวไป
จนกว่าจะเป็นผลสำเร็จ
และย่ำยีความเกียจคร้านได้แน่นอน
๓.
สติพละ
ความระลึกได้ในอารมณ์สติปัฏฐานเป็นกำลัง
ทำให้อดทนไม่ หวั่นไหว และย่ำยี
มุฏฐสติ คือ ความพลั้งเผลอหลงลืม
อันเป็นข้าศึก องค์ธรรม ได้แก่
สติเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
๔.
สมาธิพละ
ความตั้งใจมั่นอยู่ในอารมณ์กัมมัฏฐาน
เป็นกำลังให้อดทน ไม่หวั่นไหว
และย่ำยี วิกเขปะ คือ
ความฟุ้งซ่าน อันเป็นข้าศึก
องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก
ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
๕.
ปัญญาพละ
ความรอบรู้เหตุผลตามความเป็นจริง
เป็นกำลัง ทำให้อดทน ไม่หวั่นไหว
และย่ำยี สัมโมหะ คือความมืดมน
หลงงมงาย อันเป็นข้าศึก องค์ธรรม
ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน
ติเหตุกชวนจิต ๓๔
การเจริญสมถภาวนาก็ดี
วิปัสสนาภาวนาก็ดี
จะต้องให้พละทั้ง ๕ นี้สม่ำ
เสมอกัน จึงจะสัมฤทธิผล
ถ้าพละใดกำลังอ่อน
การเจริญสมถะหรือวิปัสสนานั้น
ก็ตั้งมั่นอยู่ไม่ได้
ถึงกระนั้นก็ยังได้ผลตามสมควร
คือ
ก.
ผู้มีกำลังสัทธามาก
แต่พละอีก ๔ คือ วิริยะ สติ สมาธิ
ปัญญา นั้น อ่อนไป
ผู้นั้นย่อมรอดพ้นจากตัณหาได้บ้าง
โดยมีความอยากได้โภคสมบัติน้อยลง
ไม่ถึงกับแสวงหาในทางทุจริต
มีความสันโดษ คือ สนฺตุฏฺฐี
พอใจเท่าที่มีอยู่ พอใจ
แสวงหาตามควรแก่กำลัง และ
พอใจแสวงหาด้วยความสุจริต
ข.
ผู้ที่มีกำลังสัทธาและวิริยะมาก
แต่พละที่เหลืออีก ๓ อ่อนไป
ผู้นั้นย่อม
รอดพ้นจากตัณหาและโกสัชชะได้
แต่ว่าไม่สามารถที่จะเจริญ
กายคตาสติ และ
วิปัสสนาภาวนาจนเป็นผลสำเร็จได้
ค.
ผู้ที่มีกำลังสัทธา
วิริยะและสติมาก
แต่พละที่เหลืออีก ๒
อ่อนไปผู้นั้น ย่อมสามารถเจริญกายคตาสติได้
แต่ว่าเจริญวิปัสสนาภาวนาไม่สำเร็จได้
ง.
ผู้ที่มีกำลังทั้ง
๔ มาก แต่ว่าปัญญาอ่อนไป
ย่อมสามารถเจริญฌาน สมาบัติได้
แต่ไม่สามารถเจริญวิปัสสนาภาวนาได้
จ.
ผู้ที่มีปัญญาพละมาก
แต่พละอื่น ๆ อ่อนไป
ย่อมสามารถเรียนรู้พระปริยัติ
หรือพระปรมัตถได้ดี แต่ว่า ตัณหา
โกสัชชะ มุฏฐะ และ วิกเขปะ
เหล่านี้มีกำลัง ทวีมากขึ้น
ฉ.
ผู้ที่มีวิริยะพละและปัญญาพละ
เพียง ๒ อย่างเท่านี้
แต่เป็นถึงชนิด
อิทธิบาทโดยบริบูรณ์แล้ว
การเจริญวิปัสสนาก็ย่อมปรากฏได้
ช.
ผู้ที่บริบูรณ์ด้วย
สัทธา วิริยะ และสติพละ ทั้ง ๓
นี้ย่อมสามารถที่จะ
ทำการได้ตลอดเพราะ
สัทธาพละ
ย่อมประหาร
ปัจจยามิสสตัณหาและโลกามิสสตัณหาได้
วิริยพละ
ย่อมประหาร
โกสัชชะได้
(ความเกียจคร้าน)
สติพละ
ย่อมประหาร
มุฏฐสติ
(ความหลงลืม)
ได้
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว
ต่อจากนั้น
สมาธิพละและปัญญาก็จะปรากฏขึ้นตามกำลัง
ตามสมควร
ปัจจยามิสสตัณหา
คือ ความติดใจอยากได้ปัจจัย ๔ มี
อาหาร เครื่องนุ่งห่ม
ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค
โลกามิสสตัณหา
คือ ความติดใจอยากได้โลกธรรม ๔ มี
ลาภ ยศ สรรเสริญ และสุข
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ