ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม
มัคคอริยสัจจ
มัคคสัจจ
มัคคอริยสัจจ
ทุกขนิโรธคามินีอริยสัจจ
และ ทุกขนิโรธคามินี
ปฏิปทาอริยสัจจ
เหล่านี้ล้วนแต่เป็นชื่อของสัจจที่
๔ นี้ ซึ่งมีความหมายว่า เป็น
ข้อปฏิบัติ เป็นเหตุ เป็นทาง
ให้ถึงพระนิพพาน
คือถึงซึ่งความดับตัณหา เป็นผล
ให้สิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งปวง
ทางที่ให้ถึงซึ่งความดับแห่งทุกข์นี้
มีทางเดียว อันมีส่วนประกอบ ๘
ประการ ที่มีชื่อว่า อัฏฐังคิกมัคค
คือ มัคคมีองค์ ๘
นี้เท่านั้น นอกจากมัคคมีองค์ ๘
นี้แล้ว
ไม่มีทางอื่นใดที่จะให้บรรลุนิพพานได้เลย
ในมหาวัคคฎีกา
ได้วิเคราะห์คำว่า มัคค (ซึ่งได้กล่าวมาข้างต้นครั้งหนึ่งแล้ว)
ว่า
กิเลเส
มาเรนฺโต นิพฺพานํ คจฺฉนฺติ
เอเตนาติ มคฺโค ฯ
แปลความว่า
ธรรมชาติที่ประหารกิเลสแล้ว
ย่อมถึงพระนิพพานนั้น ชื่อว่า
มัคค
ตามสาธกนี้จะเห็นได้ว่า
มัคคมีองค์ ๘ แต่ละองค์มีหน้าที่
๒ ประการ คือ
ก.
ทำหน้าที่
ประหารกิเลส
ข.
ทำหน้าที่
บรรลุพระนิพพาน
ดังนั้นจะได้กล่าวถึงหน้าที่
๒ ประการแห่งมัคคมีองค์ ๘
มีโดยย่อ
๑.
สัมมาทิฏฐิ
ได้แก่
ปัญญาเจตสิกที่ในมัคคจิต ๔
ประหารมิจฉาทิฏฐิ คือ อวิชชา (โมหะ)
ตามกำลังแห่งมัคค
มีปัญญาเห็นแจ้ง ในอริยสัจจ ๔
โดยมีพระ นิพพาน เป็นอารมณ์
๒.
สัมมาสังกัปปะ
ได้แก่ วิตกเจตสิกที่ในมัคคจิต ๔
ประหาร กามวิตก พยาปาทวิตก
และวิหิงสาวิตก
ตามกำลังแห่งมัคค
มีแต่การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์
พระนิพพาน คือมีวิตกในนิพพาน
โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๓.
สัมมาวาจา
ได้แก่
สัมมาวาจาวิรตีเจตสิกที่ในมัคคจิต
๔ ประหารมิจฉา วาจา คือ วจีทุจริต
๔ ตามกำลังแห่งมัคค
โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๔.
สัมมากัมมันตะ
ได้แก่
สัมมากัมมันตวิรตีเจตสิกที่ในมัคคจิต
๔ ประหาร มิจฉากัมมันตะ คือ
กายทุจริต ๓ ตามกำลังแห่งมัคค
โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๕.
สัมมาอาชีวะ
ได้แก่
สัมมาอาชีววิรตีเจตสิกในมัคคจิต
๔ ประหาร มิจฉาอาชีวะ
คือมีความเป็นอยู่ที่ทุจจริต ๗
ประการ
โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๖.
สัมมาวายามะ
ได้แก่ วิริยเจตสิกที่ในมัคคจิต
๔ ประหารมิจฉาวายามะ
คือความเพียรที่ผิดที่เป็นทุจจริต
มีแต่เพียรถึงพระนิพพาน
โดยมีพระนิพพานเป็น อารมณ์
๗.
สัมมาสติ
ได้แก่ สติเจตสิกที่ในมัคคจิต ๔
ประหารมิจฉาสติ คือ ความ
ปราศจากสติสัมปชัญญะ
คงมีแต่สติที่ระลึกรู้อยู่แต่พระนิพพาน
โดยมีพระนิพพาน เป็นอารมณ์
๘.
สัมมาสมาธิ
ได้แก่
เอกัคคตาเจตสิกที่ในมัคคจิต ๔
ประหารมิจฉาสมาธิ
คือการขาดความตั้งใจมั่นโดยชอบ
คงมีแต่ความตั้งใจมั่นแน่วแน่ในพระนิพพาน
โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
อริยมัคคนี่แหละที่ได้ชื่อว่า
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ
เป็นข้อปฏิบัติไป
สู่ธรรมที่ดับทุกข์
ให้สัตว์ที่ดับทุกข์โดยไม่มีเหลือ
เป็นอริยสัจจของจริงอันบริสุทธิ
ไปจากข้าศึก
เป็นของจริงที่พระอริยเจ้าได้เข้าถึงแล้ว
อริยมัคคนี้เป็นวิชชาด้วย
เป็นจรณะด้วย
สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ ๒
องค์นี้เป็นวิชชา ที่เหลืออีก ๖
องค์เป็นจรณะ
ดุจบุคคลผู้สัญจรเดินทางไปตามปกติ
ย่อมพร้อมด้วยจักษุสามารถในการเห็น
และพร้อมด้วยเท้าสามารถในการเดินไป
จักษุที่สามารถในการเห็นนั้นเปรียบกับปัญญาคือวิชชา
เท้าที่สามารถในการเดินนั้น
เปรียบด้วยจรณะ
อริยมัคคนี้เป็นสมถะด้วย
เป็นวิปัสสนาด้วย
สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ ๒
องค์นี้ สงเคราะห์ด้วยวิปัสสนา
ยาน (พาหนะ)
เครื่องนำไป
คือ วิปัสสนา ที่เหลืออีก ๖
องค์สงเคราะห์ด้วยสมถะ ยาน (พาหนะ)
เครื่องนำไปคือสมถะ
พระอริยสาวกท่านเว้นส่วน ๒ คือ
เว้นกามสุขัลลิกานุโยค
ด้วยวิปัสสนายาน และเว้นอัตตกิลมถานุโยคด้วยสมถยาน
ดำเนินไปไต่ไปยังมัชฌิมาปฏิปทา
คือทาง สายกลาง
ทำลายกองโมหะด้วยปัญญาขันธ์
ทำลายกองโทสะด้วยสีลขันธ์ ทำลาย
กองโลภะด้วยสมาธิขันธ์
ถึงปัญญาสัมปทาด้วยอธิปัญญาสิกขา
ถึงสีลสัมปทาด้วย อธิสีลสิกขา
ถึงสมาธิสัมปทาด้วยอธิจิตตสิกขา
ทันทีที่ถึงพร้อมด้วยสิกขา ๓ นี้
ก็แจ้งซึ่ง พระนิพพาน
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ