ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม
ข้อธรรมที่น่ารู้ในปริจเฉทนี้
อกุสลสังคหะ
มี ๙ กอง
๑.
อาสวะ
๔
สิ่งใดถูกหมักดองอยู่นาน ๆ
สิ่งนั้นชื่อว่า อาสวะ อาสวะมี ๔ คือ
(๑)
กามาสวะ
จมอยู่ในความติดใจแสวงหากามคุณทั้ง
๕ คือ รูป เสียง
กลิ่น รส และการสัมผัส
(๒)
ภวาสวะ
จมอยู่ในความชอบใจยินดีในอัตภาพของตน
ตลอดจนชอบใจ อยากได้ในรูปภพ
อรูปภพ
(๓)
ทิฏฐาสวะ
จมอยู่ในความเห็นผิดจากความเป็นจริงแห่งสภาวธรรม
มี ความติดใจในความเห็นผิดนั้น
(๔)
อวิชชาสวะ
จมอยู่ในความไม่รู้เหตุผลความเป็นจริง
จึงได้ โลภ โกรธ หลง
๒.
โอฆะ
๔
ธรรมชาติใดย่อมท่วมทับเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย
ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า โอฆะ
คือห้วงน้ำ โอฆะมี ๔ คือ
(๑)
กาโมฆะ
ห้วงแห่งกาม
พาให้สัตว์จมอยู่ในกามคุณทั้ง ๕ (รูป
เสียง กลิ่น รส สัมผัส)
(๒)
ภโวฆะ
ห้วงแห่งภพ
พาให้สัตว์จมอยู่ในความยินดีต่ออัตภาพของตน
ตลอดจนชอบใจอยากได้ถึงรูปภพ
อรูปภพ
(๓)
ทิฏโฐฆะ
ห้วงแห่งความเห็นผิด
พาให้สัตว์จมอยู่ในความเห็นผิดจาก
ความเป็นจริงของสภาวธรรม
(๔)
อวิชโชฆะ
ห้วงแห่งความหลง
พาให้สัตว์ลุ่มหลงจมอยู่ในความไม่รู้
เหตุผลตามความเป็นจริง จึงโลภ
โกรธ หลง
๓.
โยคะ
๔
ธรรมที่ประกอบสัตว์ให้ติดอยู่ในวัฏฏทุกข์
(คือภพต่าง
ๆ )
นั้นชื่อว่า
โยคะ มี ๔ คือ
(๑)
กามโยคะ
ตรึงให้ติดอยู่กับกามคุณ (รูป
เสียง กลิ่น รส สัมผัส)
(๒)
ภวโยคะ
ตรึงให้ติดอยู่กับความยินดีในอัตภาพของตน ตลอดจนชอบใจ
ในรูปภพ อรูปภพ
(๓)
ทิฏฐิโยคะ
ตรึงให้ติดอยู่กับความเห็นผิด
จากความเป็นจริงของสภาว ธรรม
(๔)
อวิชชาโยคะ
ตรึงให้ติดอยู่กับความหลง
เพราะไม่รู้เหตุผลตามความจริง
จึง โลภ โกรธ หลง
๔.
คันถะ
ธรรมเหล่าใดผูก คือ
เกี่ยวคล้องไว้ระหว่างนามกายในรูปกายปัจจุบันภพ
กับนามกายรูปกายในอนาคตภพ
ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า กายคันถะ
คันถะ มี ๔ คือ
(๑)
อภิชฌากายคันถะ
ผูกมัดอยู่กับความยินดี ชอบใจ
อยากได้
(๒)
พยาปาทกายคันถะ
ผูกมัดอยู่กับความโกรธ
จะถึงกับคิดปองร้ายด้วย
หรือไม่ก็ตาม
(๓)
สีลัพพตปรามาสกายคันถะ
ผูกมัดอยู่ในความชอบใจในการปฏิบัติที่ผิด
ว่าปฏิบัติอย่างนี้แหละเป็นทางให้พ้นทุกข์
โดยเข้าใจว่าเป็นการถูกต้อง
แล้ว ชอบแล้ว
แต่ถ้าหากว่ามีผู้รู้แนะนำสั่งสอนทางที่ถูกต้องให้
ก็ สามารถกลับใจได้
(๔)
อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ
ผูกมัดอยู่ในความชอบใจในการปฏิบัติที่ผิด
แต่ว่ารุนแรงมั่นคงแน่วแน่มากกว่าในข้อ
(๓)
นอกจากนั้นแล้วยังดู
หมิ่นและเหยียบย่ำทับถมวาทะหรือมติของผู้อื่นด้วย
ถึงแม้ว่าจะมีผู้รู้มา
ชี้แจงแสดงเหตุผลในทางที่ถูกที่ชอบประการใด
ๆ ก็ไม่ยอมกลับใจ ได้เลย
๕.
อุปาทาน
๔
ธรรมเหล่าใดย่อมยึดมั่นในอารมณ์
ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อุปาทาน มี
๔ คือ
(๑)
กามุปาทาน
ความยึดมั่นในวัตถุกามทั้ง ๖ มี
รูปารมณ์ เป็นต้น
(๒)
ทิฏฐุปาทาน
ความยึดมั่นในการเห็นผิด มี
นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓
และ ทิฏฐิ ๖๒
(๓)
สีลัพพตุปาทาน
ความยึดมั่นในการปฏิบัติที่ผิด มีการปฏิบัติเยี่ยงโค
และสุนัขเป็นต้น
(๔)
อัตตวาทุปาทาน
ความยึดมั่นในขันธ์ ๕
ว่าเป็นตัวตน
๖.
นิวรณ
๖
ธรรมเหล่าใดขัดขวางกุสลธรรม
มีฌาน เป็นต้น ไม่ให้เกิดขึ้น
ธรรม เหล่านั้นชื่อว่า นิวรณ มี ๖
คือ
(๑)
กามฉันทนิวรณขัดขวางไว้เพราะความชอบใจอยากได้ในกามคุณอารมณ์
(๒)
พยาปาทนิวรณ
ขัดขวางไว้เพราะความไม่ชอบใจในอารมณ์
(๓)
ถีนมิทธนิวรณ
ขัดขวางไว้เพราะความหดหู่ท้อถอยในอารมณ์
(๔)
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ
ขัดขวางไว้เพราะคิดฟุ้งซ่าน
รำคาญใจ
(๕)
วิจิกิจฉานิวรณ
ขัดขวางไว้เพราะความสงสัย
ลังเลใจ
(๖)
อวิชชานิวรณ
ขัดขวางไว้เพราะความไม่รู้
มีการทำให้หลงลืม ก็ย่อมขาด สติ
ไม่ระลึกถึงความดีที่ตนจะทำ
๗.
อนุสัย
๗
ธรรมเหล่าใดที่ตามนอนเนื่องอยู่ในสันดานเป็นเนื่องนิจ
ธรรมเหล่า นั้นชื่อว่า อนุสัย มี
๗ คือ
(๑)
กามราคานุสัย
สันดานที่ชอบใจในกามคุณอารมณ์
(๒)
ภวราคานุสัย
สันดานที่ชอบใจในอัตภาพของตน และชอบใจในรูปภพ
อรูปภพ
(๓)
ปฏิฆานุสัย
สันดานที่โกรธเคือง
ไม่ชอบใจในอารมณ์
(๔)
มานานุสัย
สันดานที่ทะนงตน ถือตัว
ไม่ยอมลงให้แก่ใคร
(๕)
ทิฏฐานุสัย
สันดานทีมีความเห็นผิด
(๖)
วิจิกิจฉานุสัย
สันดานที่ลังเล
และสงสัยไม่แน่ใจ
(๗)
อวิชชานุสัย
สันดานที่มีความลุ่มหลงมัวเมา
เพราะไม่รู้เหตุผลตามความ
เป็นจริง
๘.
สังโยชน
๑๐
ธรรมเหล่าใดย่อมผูกสัตว์ทั้งหลายไว้ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า
สังโยชน์ มี ๑๐ คือ
(๑)
กามราคสังโยชน
โลภเจตสิกที่ในโลภมูลจิต ๘
(๒)
ภวราคสังโยชน
โลภเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต ๔
(๓)
ปฏิฆสังโยชน
โทสเจตสิกที่ในโทสมูลจิต ๒
(๔)
มานสังโยชน
มานเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต ๔
(๕)
ทิฏฐิสังโยชน
ทิฏฐิเจตสิกที่ในทิฏฐิสัมปยุตต
๔
(๖)
สีลัพพตปรามาสสังโยชน
ทิฏฐิเจตสิกที่ในทิฏฐิสัมปยุตต
๔
(๗)
วิจิกิจฉาสังโยชน
วิจิกิจฉาเจตสิกที่ในวิจิกิจฉาจิต
(๘)
อิสสาสังโยชน
อิสสาเจตสิกที่ในโทสมูลจิต ๒
(๙)
มัจฉริยสังโยชน
มัจฉริยเจตสิกที่ในโทสมูลจิต
๒
(๑๐)
อวิชชาสังโยชน
โมหเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒
๙.
กิเลส
๑๐ ธรรมชาติใดย่อมทำให้เร่าร้อน
ธรรมชาตินั้นชื่อว่า กิเลส มี ๑๐
คือ
(๑)
โลภกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อน
เพราะยินดีชอบใจในอารมณ์ ๖
(๒)
โทสกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อน
เพราะไม่ชอบใจในอารมณ์ ๖
(๓)
โมหกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อน
เพราะความมัวเมาลุ่มหลงไม่รู้สึกตัว
ปราศจากสติสัมปชัญญะ
(๔)
มานกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อน
เพราะความทะนงตนถือตัว
(๕)
ทิฏฐิกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อน
เพราะความเห็นผิดจากเหตุผลตาม
ความเป็นจริง
(๖)
วิจิกิจฉากิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อน เพราะ
ความสงสัย ลังเลใจใน พระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์
(๗)
ถีนกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อน
เพราะหดหู่ท้อถอยจากความเพียร
(๘)
อุทธัจจกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อน
เพราะเกิดฟุ้งซ่านไปในอารมณ์
ต่าง ๆ
(๙)
อหิริกกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อน
เพราะไม่ละอายในการกระทำบาป
(๑๐)
อโนตตัปปกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อน
เพราะไม่เกรงกลัวผลของการ
กระทำบาป
โพธิปักขิยสังคหะ
โพธิปักขิยสังคหะ
เป็นการรวบรวมธรรมที่เป็นเครื่องตรัสรู้มีธรรม
๓๗ประการคือ
๑.
สติปัฏฐาน
๔ สติ
คือ
ความระลึกรู้อารมณ์ที่เป็นฝ่ายดี,
ปัฏฐาน
คือ ความ ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์
(๑)
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง
กาย คือ รูปขันธ์ หรือรูปธรรม
(๒)
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง
เวทนา คือ เวทนาขันธ์
(๓)
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ
ซึ่งจิต คือ วิญญาณขันธ์
(๔)
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ
ซึ่งธรรม คือ รูปนามขันธ์ ๕
๒.
สัมมัปปธาน
๔
ธรรมที่เป็นความเพียรพยายามกระทำโดยชอบนั้น
ชื่อว่า สัมมัปปธาน
(๑)
เพียรพยายามละอกุสลที่เกิดขึ้นแล้ว
ให้หมดไป
(๒)
เพียรพยายามไม่ให้อกุสลธรรมที่ยังไม่เกิด
ไม่ให้เกิดขึ้น
(๓)
เพียรพยายามให้กุสลธรรมที่ยังไม่เกิด
ให้เกิดขึ้น
(๔)
เพียรพยายามให้กุสลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
๓.
อิทธิบาท
๔
ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงซึ่งความสัมฤทธิผลนั้นชื่อว่า
อิทธิบาท มี ๔ ประการ คือ
(๑)
ฉันทิทธิบาท
ความเต็มใจความปลงใจกระทำ
เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล
(๒)
วิริยิทธิบาท
ความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด
เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล
(๓)
จิตติทธิบาท
ความที่มีจิตจดจ่อปักใจอย่างมั่นคง
เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล
(๔)
วิมังสิทธิบาท
ปัญญา เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล
๔.
อินทรีย
๕
ความเป็นใหญ่
หรือความเป็นผู้ปกครองในสภาวธรรมที่เป็นฝ่ายดี
มี ๕ ประการ คือ
(๑)
สัทธินทรีย
เป็นใหญ่ในการยังความสัทธาปสาทในอารมณ์ที่เป็นฝ่ายดี
(๒)
วิริยินทรีย
เป็นใหญ่ในการยังความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด ซึ่งต้อง
เป็นความเพียรที่บริบูรณ์ด้วยองค์ทั้ง
๔ แห่งสัมมัปปธาน
(๓)
สตินทรีย
เป็นใหญ่ในการระลึกรู้อารมณ์อันเกิดมาจากสติปัฏฐาน
(๔)
สมาธินทรีย
เป็นใหญ่ในการทำจิตให้เป็นสมาธิ
ตั้งใจมั่นอยู่ในอารมณ์
กัมมัฏฐาน
(๕)
ปัญญินทรีย
เป็นใหญ่ในการให้รู้เห็น รูป นาม
ขันธ์ อายตนะ ธาตุ
ว่าเต็มไปด้วยทุกข์โทษภัย
เป็นวัฏฏทุกข์
๕.
พละ
๕
คือความอดทน
ไม่หวั่นไหวและย่ำยีธรรมที่เป็นข้าศึกมี
๕ ประการคือ
(๑)
สัทธาพละ
ความเชื่อถือเลื่อมใส
เป็นกำลังให้อดทนไม่หวั่นไหว
และ ย่ำยีตัณหาอันเป็นข้าศึก
(๒)
วิริยพละ
ความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด
เป็นกำลังทำให้อดทนไม่ หวั่นไหว
และย่ำยีความเกียจคร้าน
(๓)
สติพละ
ความระลึกได้ในอารมณ์สติปัฏฐานเป็นกำลัง
ทำให้อดทน ไม่หวั่นไหว
และย่ำยีความพลั้งเผลอ
(๔)
สมาธิพละ
ความตั้งใจมั่นอยู่ในอารมณ์กัมมัฏฐานเป็นกำลังทำให้อดทน
ไม่หวั่นไหว
และบำบัดความฟุ้งซ่าน
(๕)
ปัญญาพละ
ความรอบรู้เหตุผลตามความเป็นจริง
เป็นกำลังทำให้อดทน ไม่หวั่นไหว
และย่ำยีความหลงงมงาย
๖.
โพชฌงค์
๗
องค์ธรรมที่เป็นเครื่องให้ตรัสรู้
(อริยสัจจ
๔)
มี
(๑)
สติสัมโพชฌงค์
คือ
สติเจตสิกที่ระลึกรู้อยู่ในอารมณ์สติปัฏฐานทั้ง
๔ ต่อเนื่องกันมา
(๒)
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
คือ
ปัญญาเจตสิกที่รู้รูปนามว่าไม่เที่ยง
เป็น ทุกข์ เป็นอนัตตา
(๓)
วิริยสัมโพชฌงค์
คือ
วิริยเจตสิกที่ทำกิจสัมมัปปธานทั้ง
๔ จนแก่กล้า เป็นวิริยิทธิบาท
(๔)
ปีติสัมโพชฌงค์
คือ
ปีติเจตสิกที่มีความอิ่มใจในการเจริญสติปัฏฐาน
(๕)
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
คือ ปัสสัทธิเจตสิก
ที่มีความสงบกายสงบใจ
ในการเจริญสติปัฏฐาน
(๖)
สมาธิสัมโพชฌงค์
คือ เอกัคคตาเจตสิก
การตั้งใจมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว
อย่างแน่วแน่
(๗)
อุเบกขาสัมโพชฌงค์
คือ
ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก
ที่ทำให้จิตใจเป็นกลาง
๗.
มัคคมีองค์
๘
คือ
มัคคที่เป็นทางชอบแต่ฝ่ายเดียว (อัฏฐังคิกมัคค)
มี
๘ คือ
(๑)
สัมมาทิฏฐิ
เห็นชอบคือเห็นรูปนามโดยความเป็นอนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา
(๒)
สัมมาสังกัปปะ
คิดชอบ คือ คิดให้พ้นทุกข์
เพราะเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
(๓)
สัมมาวาจา
พูดชอบ คือ พูดโดยมีสติ
ไม่เผลอพูดชั่ว เพราะการพูดชั่ว
จะไม่พ้นทุกข์
(๔)
สัมมากัมมันตะ
ทำชอบ คือ ทำด้วยความมีสติ
ไม่เผลอทำชั่ว เพราะ การทำชั่ว
จะไม่พ้นทุกข์
(๕)
สัมมาอาชีวะ
เลี้ยงชีพชอบ
คือ มีความเป็นอยู่โดยชอบ
โดยมีสติ ไม่
เผลอให้ดำรงชีพอยู่โดยความชั่ว
เพราะมีความเป็นอยู่ชั่ว
จะไม่พ้นทุกข์
(๖)
สัมมาวายามะ
เพียรชอบ คือ
พยายามไม่นึกถึงความชั่ว
พยายามไม่ทำ ความชั่ว
พยายามทำชอบ
พยายามทำให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
เพราะ พยายามเช่นนี้จะพ้นทุกข์
(๗)
สัมมาสติ
ระลึกชอบ
คือระลึกถึงเฉพาะรูปนามที่มีความเป็นอนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา ระลึกเช่นนี้ โลภ
โกรธ หลง จึงจะไม่เกิดขึ้นได้
เพราะ ถ้าโลภ โกรธ หลง
ยังเกิดมีอยู่ ก็จะไม่พ้นทุกข์
(๘)
สัมมาสมาธิ
ตั้งใจมั่นโดยชอบ
คือให้แน่วแน่ในสติปัฏฐาน
ในอันที่จะ พ้นทุกข์
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ