ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม
สัพพสังคหะกองที่
๒ ปัญจุปาทานขันธ์
ปัญจุปาทานขันธ์
เขียนแบบบาลีเป็น ปญฺจุปาทานกฺขนฺธ
คือ อุปาทาน ขันธ์ ๕
มีความหมายว่า ขันธ์ ๕
ที่กล่าวแล้วนั่นแหละ
เมื่ออุปาทานยึดหน่วง
มาเป็นอารมณ์ ก็เรียกว่า
อุปาทานขันธ์ ดังมีบาลีว่า อุปาทานานํ
โคจรา ขนฺธา อุปาทานกฺขนฺธา ฯ
แปลความว่า
ขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
ชื่อว่า อุปาทาน ขันธ์
อุปาทานขันธ์นี้
แสดงว่าขันธ์ ๕
ที่เป็นไปในภูมิทั้ง ๓
ตรัสเรียกว่า อุปาทาน ขันธ์ ๕ (ส่วน)
พระนิพพาน
พ้นจากการรวมนับว่าเป็นขันธ์
เพราะไม่มีความต่าง (คือไม่เป็นประเภทครบทั้ง
๑๑ กอง มี กาล ๓,
อัชฌัตตะ,
พหิทธะ,
โอฬาริกะ,
สุขุมะ,
หีนะ,
ปณีตะ,
สันติเก
และทูเร)
มีความหมายว่า
สัตว์ที่ยังเป็นไปในภูมิ ๓ คือ
กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ นั้น
ส่วนมากยังละสักกายทิฏฐิ คือ
อัตตวาทุปาทาน
ความยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นตัว
เป็นตน เป็นเขา เป็นเราหาได้ไม่
เมื่อยังยึดมั่นอยู่เช่นนี้
ก็คือมีอุปาทาน มีความ
ยึดมั่นในขันธ์ ๕ อยู่ ขันธ์ ๕
ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานนี่แหละ
ได้ชื่อว่า อุปาทานขันธ์
ส่วนนิพพานไม่มีความแตกต่างกัน
เช่น ในกาล ๓ เป็นต้น
จึงพ้นจากความ เป็นขันธ์
และเรียกว่าขันธวิมุตติ
ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นตอนเบ็ญจขันธ์นั้น
ปัญจุปาทานขันธ์
คือ อุปาทานขันธ์
๕
นั้น ได้แก่
๑.
รูปูปาทานักขันธ์
คือรูปที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
ได้แก่ รูปธรรมหมด ทั้ง ๒๘ รูป
๒.
เวทนูปาทานักขันธ์
คือเวทนาที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
ได้แก่ เวทนา
เจตสิกที่ในโลกียจิต ๘๑
๓.
สัญญูปาทานักขันธ์
คือ
สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
ได้แก่ สัญญา เจตสิก
ที่ในโลกียจิต ๘๑
๔.
สังขารูปาทานักขันธ์
คือ เจตสิกที่เหลือ ๕๐
ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ได้แก่
เจตสิก ๕๐ (เว้นเวทนาเจตสิก
และสัญญาเจตสิก)
ที่ในโลกียจิต
๘๑
๕.
วิญญาณูปาทานักขันธ์
คือ
จิตที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
ได้แก่ โลกีย จิต ๘๑
ถ้าได้พิจารณาองค์ธรรมของเบ็ญจขันธ์กับของอุปาทานขันธ์แล้ว
จะเห็นความ
แตกต่างระหว่างเบ็ญจขันธ์
กับอุปาทานขันธ์ได้ชัดเจน คือ
เบ็ญจขันธ์
ได้แก่ รูป ๒๘ และจิต
เจตสิกทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งจิต
เจตสิก ที่เป็นโลกีย
และโลกุตตรด้วย
ส่วน
อุปาทานขันธ์นั้น
ได้แก่ รูปทั้งหมด คือ ๒๘
รูปเหมือนกัน แต่จิต เจตสิก
ได้เฉพาะแต่ที่เป็นโลกียเท่านั้น
จิตและเจตสิกที่เป็นโลกุตตรไม่เป็นอุปาทาน
ขันธ์
เพราะผู้ที่ถึงซึ่งโลกุตตรธรรมแล้วนั้น
ไม่มีสักกายทิฏฐิ คือ
อัตตวาทุปาทาน เป็นเด็ดขาด
และผู้ที่ยังไม่บรรลุถึงโลกุตตรธรรม
ก็จะได้โลกุตตรจิต ที่ไหนมาเป็น
อารมณ์
นอกจากจะเดาหรือนึกเอาเอง
การที่แสดงเบ็ญจขันธ์
และมาแสดงอุปาทานขันธ์อีก
ก็เพื่อประโยชน์แก่การ
กำหนดพิจารณาในขณะที่เจริญวิปัสสนาภาวนา
เพราะการกำหนดพิจารณารูปนาม
ต้องกำหนดรูปนามที่เป็นโลกียเท่านั้น
นามธรรม คือ จิต และเจตสิก
ส่วนที่เป็น โลกุตตรนั้น
จะหน่วงมาเป็นอารมณ์ในการกำหนดพิจารณาเวลาเจริญวิปัสสนา
ภาวนา หาได้ไม่
ในการกำหนดพิจารณานั้น
ชั้นต้นกำหนดรูปก่อน
เพราะรูปเป็นสิ่งที่เห็น
ได้ง่าย ต่อไปจึงกำหนดนาม (ที่เป็นโลกีย)
เพื่อให้แจ้งไตรลักษณ์
คือ การเกิดดับ
ของรูปนามให้เห็นแจ้งตามสภาพที่เป็นจริงว่าเป็น
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ