ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

. วิริยสัมโพชฌงค์ คือ วิริยเจตสิกที่ทำกิจสัมมัปปธานทั้ง ๔ จนแก่กล้า เป็นวิริยิทธิบาท เป็นวิริยินทรีย เป็นวิริยพละ และเป็นสัมมาวายามะ ด้วยอำนาจ แห่งวิปัสสนาภาวนา ย่อมทำลายโกสัชชะลงได้ วิริยะดังนี้จึงเรียกว่า วิริยสัมโพช ฌงค์ การที่วิริยะจะเป็นถึงสัมโพชฌงค์ได้นั้นก็ด้วยมีสิ่งอุปการะเกื้อกูล ๑๑ ประการ คือ

. พิจารณาให้รู้ถึงโทษภัยในอบายทั้ง ๔ และถ้ามีความประมาทมัวเมาอยู่ ก็จะไม่พ้นไปจากอบายได้ เมื่อรู้อย่างนี้ก็จะกระทำความเพียรพยายาม เพื่อให้พ้น อบาย

. ให้รู้ผลานิสงส์แห่งความเพียรว่า ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมสำเร็จได้ด้วยความ เพียร เมื่อรู้อย่างนี้ก็จะกระทำความเพียรโดยไม่ท้อถอย

. รู้และเข้าใจว่า การเจริญสติปัฏฐานนี้เป็นทางเดียวที่จะให้พ้นอบาย และ ให้บรรลุมัคคผล เมื่อรู้อย่างนี้ก็จะกระทำความเพียรอย่างยิ่งยวด

. พิจารณาให้รู้ว่า การที่ได้รับอามิสบูชา ก็เพราะปฏิบัติธรรมตามควรแก่ ธรรม จึงควรที่จะปฏิบัติด้วยความเพียรพยายามให้ยิ่ง ๆ ขึ้น

. พิจารณาว่า การที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ก็เพราะได้กระทำความดีมาแต่ปาง ก่อน เป็นโอกาสอันประเสริฐแล้วที่จะเพียรพยายามกระทำความดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป กว่านี้อีก ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีใจสูง

. พิจารณาว่า พระพุทธองค์ทรงคุณธรรมอันประเสริฐสุด ก็โดยได้เจริญสติ ปัฏฐานนี้เอง จึงควรอย่างยิ่งที่เราผู้ได้ชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชน จะต้องเพียรพยายาม เจริญสติปัฏฐานตามรอยพระยุคลบาท

. พิจารณาว่า สติปัฏฐานนี้เป็นมรดกที่ประเสริฐยิ่งของพระพุทธองค์ เราผู้ เป็นพุทธศาสนิกชน จึงควรบำเพ็ญตนให้สมกับที่จะเป็นทายาทรับมรดกนี้ ด้วยการ เจริญสติปัฏฐาน โดยความเพียรพยายามเป็นอย่างยิ่ง333.JPG (6792 bytes)

. พิจารณา ความเพียรพยายาม ของกัลยาณมิตรผู้ร่วมเจริญภาวนาด้วยกัน แล้ว และทำให้เกิดความเพียรพยายามยิ่งเช่นนี้

. ต้องเว้นจากผู้ที่เกียจคร้าน ไม่มีความขยันหมั่นเพียร

. ต้องสมาคมกับผู้ที่มีความเพียร เพื่อจูงใจให้เกิดความเพียรพยายามยิ่งขึ้น

. น้อมจิตใจไปสู่การพิจารณารูปนามที่เกิดดับอยู่ในอิริยาบถใหญ่น้อย  และ ในทุก ๆ อารมณ์

เมื่อบริบูรณ์ด้วยปัจจัยเหล่านี้แล้ว วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดก็ย่อมจะเกิดขึ้น

องค์ธรรมของวิริยสัมโพชฌงค์ ได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...