ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ ปัญญาเจตสิกที่รู้รูปนามว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จนแก่กล้า เป็นวิมังสิทธิบาท เป็นปัญญินทรีย เป็นปัญญาพละ เป็น สัมมาทิฏฐิด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาภาวนา ย่อมทำลายโมหะเสียได้ ปัญญาอย่างนี้ แหละที่เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มีความสามารถทำให้เกิดมัคคญาณได้ การที่ ปัญญาจะเป็นถึงธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ได้นั้น ก็ด้วยมีปัจจัยธรรม คือสิ่งที่อุปการะ เกื้อกูล ๗ ประการ คือ

. การศึกษาวิปัสสนาภูมิ ๖ มีขันธ์ ๕ เป็นต้น หรืออย่างน้อยก็ให้รู้รูปรู้นาม

. รักษาความสะอาดแห่งร่างกาย ตลอดจนเครื่องอุปโภคบริโภค และที่อยู่ อาศัย

. กระทำอินทรีย คือสัทธากับปัญญา และวิริยะกับสมาธิให้เสมอกัน เพราะ ว่า

ถ้าสัทธากล้า กลับทำให้เกิดตัณหา หากว่าสัทธาอ่อน ย่อมทำให้ความเลื่อมใส น้อยเกินควร

ปัญญากล้า ทำให้เกิดวิจิกิจฉา คือคิดออกนอกลู่นอกทางไป ปัญญาอ่อน ก็ทำให้ไม่เข้าถึงเหตุผลตามความเป็นจริง

วิริยะกล้า ทำให้เกิดอุทธัจจะ คือฟุ้งซ่านไป วิริยะอ่อน ก็ทำให้เกิดโกสัชชะ คือเกียจคร้าน

สมาธิกล้า ทำให้ติดในความสงบสุขนั้นเสีย สมาธิอ่อน ก็ทำให้ความตั้งใจมั่น ในอารมณ์นั้นหย่อนไป

ส่วนสตินั้น ไม่มีเกิน มีแต่จะขาดอยู่เสมอ332.JPG (7867 bytes)

ที่ว่าสัทธากล้า กลับทำให้เกิดตัณหานั้น เช่น เลื่อมใสเชื่อถืออย่างแรงกล้าใน ข้อที่ว่า เมื่อเกิดฟุ้งซ่านขึ้นมา ก็กำหนดให้ความฟุ้งนั้น จะสามารถเห็นไตรลักษณ์ได้ จึงเลยนั่งจ้องด้วยความอยากที่จะให้ความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นมา จะได้ดูให้สมอยาก ดังนี้ เป็นต้น การเชื่อโดยไม่คิดถึงเหตุถึงผลเช่นนี้ ก็ไม่ทำให้เกิดมีปัญญาขึ้นมาเลย

ในการเจริญสมถภาวนา แม้สมาธิจะมากไปสักหน่อย ก็พอทำเนาเพราะสมถะ นั้น สมาธิต้องเป็นหัวหน้า ส่วนทางวิปัสสนาภาวนา แม้ปัญญาจะมากไปสักเล็ก น้อย ก็ไม่สู้กระไรนัก เพราะวิปัสสนาภาวนานั้น ปัญญาจะต้องเป็นหัวหน้าผู้นำ

. ต้องเว้นจากผู้ไม่มีปัญญา เพราะไม่เคยรู้จักธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ หรือไม่ เคย เจริญวิปัสสนาภาวนา

. ต้องสมาคมกับผู้มีปัญญาที่เคยเจริญวิปัสสนา รอบรู้รูปนามดีแล้ว

. ต้องหมั่นเจริญภาวนาอยู่เนือง ๆ โดยอารมณ์ที่เป็นภูมิของวิปัสสนา

. ต้องกำหนดพิจารณารูปนามอยู่ทุกอิริยาบถและทุกอารมณ์

เมื่อบริบูรณ์ด้วยปัจจัยธรรมเหล่านี้แล้ว ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ก็ ย่อมจะเกิดขึ้น

องค์ธรรมของธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔

?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...