ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

สัพพสังคหะกองที่ ๔ ธาตุ

อตฺตโน สภาวํ ธาเรตีติ ธาตุ ฯ ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาพของตนนั้นชื่อว่า ธาตุ

ธาตุ คือสิ่งที่ทรงสภาพของตนไว้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือวิปริตไปเป็น อย่างอื่น เป็นต้นว่า สภาพที่ทรงไว้ซึ่งความแข็ง ก็เรียกว่า ปฐวีธาตุ สภาพที่ทรง ไว้ซึ่งการรับรู้อารมณ์ ก็เรียกว่า วิญญาณธาตุ เป็นสภาพที่มีอยู่เองเป็นเอง ไม่มีสัตว์ มีบุคคลทำขึ้นหรือสร้างขึ้นมาเลย

ธาตุ มี ๑๘ ก็ด้วยการเกิดขึ้นของวิญญาณ โดยอำนาจหรือความสามารถแห่ง ทวาร ๖ และอารมณ์ ๖

หมายความว่า ด้วยอำนาจแห่งอายตนะภายใน คือ ทวาร ๖ รับกระทบกับ อายตนะภายนอก คือ อารมณ์ ๖ จึงทำให้เกิด วิญญาณ ๖ ได้แก่ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ และ มโนวิญญาณธาตุ เป็นหมวด ๆ (คือเป็นชุด) ดังนี้

ทวาร (ธาตุรับ)

อารมณ์ (ธาตุกระทบ)

วิญญาณ (ธาตุรู้)

จักขุธาตุ

รูปธาตุ

จักขุวิญญาณธาตุ

โสตธาตุ

สัททธาตุ

โสตวิญญาณธาตุ

ฆานธาตุ

คันธธาตุ

ฆานวิญญาณธาตุ

ชิวหาธาตุ

รสธาตุ

ชิวหาวิญญาณธาตุ

กายธาตุ

โผฏฐัพพธาตุ

กายวิญญาณธาตุ

ทั้ง ๓ หมวด เป็นจำนวนธาตุ ๑๕ ธาตุนี้ เป็นการสงเคราะห์เป็นหมวด ๆ โดยมุขยนัย คือนัยโดยตรง ยังเหลืออีก ๓ ธาตุ คือ มโนธาตุ ธัมมธาตุ และ มโน วิญญาณธาตุ ธาตุที่เหลือ ๓ ธาตุนี้ สงเคราะห์เป็นหมวด ๆ ได้โดยปริยาย คือ โดย อ้อมเท่านั้น ดังนี้

ปัญจทวาร

ปัญจารมณ์

มโนธาตุ

มโนทวาร

ธัมมธาตุ

มโนวิญญาณธาตุ

ที่ว่าสงเคราะห์เป็นหมวด ๆ ได้โดยปริยาย คือ โดยอ้อมนั้น เป็นเพราะองค์ ธรรมแตกต่างกัน แต่ว่าใกล้เคียงกัน คือ

วิญญาณ                    ได้แก่ จิต ๘๙

วิญญาณธาตุ ๗ ได้แก่ ๑.จักขุวิญญาณธาตุ ๒.โสตวิญญาณธาตุ ๓.ฆาน วิญญาณธาตุ ๔.ชิวหาวิญญาณธาตุ ๕.กายวิญญาณธาตุ ๖.มโนธาตุ ๗.มโนวิญญาณธาตุ

มโน หรือ มนะ                    ได้แก่ จิต ๘๙

มนายตนะ                    ได้แก่ จิต ๘๙

มโนทวาราวัชชนะ                    ได้แก่ มโนทวาราวัชชนจิตดวงเดียวเท่านั้น

มโนทวาร ได้แก่ ภวังคจิต ๑๙ คือ อุเบกขาสันตีรณจิต ๒, มหา วิบากจิต ๘,  มหัคคตวิบากจิต ๙

มโนธาตุ                    ได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ และ สัมปฏิจฉันนจิต ๒

มโนวิญญาณธาตุ ได้แก่จิต ๗๖ ดวง(เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มโนธาตุ ๓)

ธัมมารมณ์ ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, ปสาทรูป ๕, สุขุมรูป ๑๖, บัญญัติ, นิพพาน

ธัมมายตนะ

ธัมมธาตุ

ได้แก่ เจตสิก ๕๒, สุขุมรูป ๑๖, นิพพาน

ธาตุทั้ง ๑๘ นี้ เป็นรูปล้วน ๆ ๑๐ ธาตุ คือ

รูปธาตุ          สัททธาตุ          คันธธาตุ          รสธาตุ          โผฏฐัพพธาตุ

จักขุธาตุ          โสตธาตุ          ฆานธาตุ          ชิวหาธาตุ          กายธาตุ

เป็นนามล้วน ๆ ๗ ธาตุ คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ

เป็นทั้งรูปทั้งนาม ๑ ธาตุ คือ ธัมมธาตุ

การเกิดขึ้นของธาตุตามทวารต่าง ๆ

การเกิดขึ้นของธาตุในเวลาที่มี การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น เป็นต้นนั้น มีดังนี้360.JPG (7040 bytes)

ในขณะที่เห็น มีธาตุเกิดร่วมกัน ๔ ธาตุ คือ

. รูปธาตุ ได้แก่ สีต่าง ๆ                    . จักขุธาตุ ได้แก่ จักขุปสาท

. จักขุวิญญาณธาตุ ได้แก่ จักขุวิญญาณจิต                    . ธัมมธาตุได้แก่เจตสิกที่ประกอบ

แต่ถ้ากล่าวถึง จักขุทวารวิถี แล้ว วิถีนี้มีธาตุเกิดร่วมด้วยกัน ๖ ธาตุ คือ ๑.รูปธาตุ ๒.จักขุธาตุ ๓.จักขุวิญญาณธาตุ ๔. ธัมมธาตุ (ทั้ง ๔ นี้ เหมือนในขณะ เห็น) และ ๕.มโนธาตุ หมายถึง ปัญจทวาราวัชชนจิต และ สัมปฏิจฉันนจิต      . มโนวิญญาณธาตุ หมายถึง สันตีรณจิต มโนทวาราวัชชนจิต ชวนจิต ตลอดถึง ตทาลัมพนจิต

ในการได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัสถูกต้อง ก็มีธาตุเกิดขึ้นทำนองเดียวกับ การเห็นดังที่ได้กล่าวแล้วนี้

ส่วนทาง มโนทวาร นั้น รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ ธัมมธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ ย่อมเกิดได้ เพราะมโนทวารรู้อารมณ์ได้ถึง ๖ อารมณ์

?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...