ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

อกุสลสังคหะกองที่ ๕ อุปาทาน ๔

อุปาทาน = อุป(มั่น) + อทาน(ยึด) = ยึดมั่น

อุปาทียนฺตีติ อุปาทานานิ ฯ ธรรมเหล่าใดย่อมยึดมั่นในอารมณ์ ฉะนั้นธรรม เหล่านั้นชื่อว่า อุปาทาน

ภุสํ อาทิยนฺติ อมุญฺจคาหํ คณฺหนฺตีติ อุปาทานานิ ฯ ธรรมเหล่าใดยึดถือ อย่างแรงกล้า(คือถือไว้ไม่ปล่อย) ฉะนั้นธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อุปาทาน

ตัณหา คือ ความอยากได้ในอารมณ์ที่ตนยังไม่ได้

อุปาทาน คือ ความยึดมั่นในอารมณ์ที่ตนได้มาแล้วนั้นโดยไม่ยอมปล่อย

อีกนัยหนึ่ง ตัณหา คือ ความชอบใจต้องการอารมณ์ที่ตนได้พบครั้งแรก อุปาทาน คือ ความติดใจในอารมณ์ที่ตนได้พบนั้นไม่หาย ครุ่นคิดถึงอยู่เสมอ

ตัณหา เปรียบไว้ว่าเหมือนต้นไม้ที่ยังเล็กอยู่ ย่อมถอนได้ง่าย ส่วน อุปาทาน เหมือนต้นไม้ที่ใหญ่โตแล้ว ถอนยาก เพราะรากแก้วยึดมั่นเสียแล้ว

อุปาทาน มี ๔ ประการ คือ

๑. กามุปาทาน ความยึดมั่นในวัตถุกามทั้ง ๖ มี รูปารมณ์ เป็นต้น องค์ธรรม ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในโลภมูลจิต ๘

๒. ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นในการเห็นผิด มี นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ และ ทิฏฐิ ๖๒ (ที่นอกจาก สีลัพพตทิฏฐิ และสักกายทิฏฐิ ซึ่งจะกล่าวต่อไปเป็นข้อ ๓ และ ข้อ ๔) องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

๓. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในการปฏิบัติที่ผิด มีการปฏิบัติเยี่ยงโค และ สุนัข เป็นต้น อันเป็นการปฏิบัติที่นอกไปจาก มัชฌิมาปฏิปทา การยึดมั่นในการ ปฏิบัติที่ผิดเช่นนี้ บางทีก็เรียกว่า สีลัพพตทิฏฐิ องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิกที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

๔. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเป็นตน หรือว่ามีตัว มีตนอยู่ในเบ็ญจขันธ์ ซึ่งได้แก่ สักกายทิฏฐิ นั่นเอง องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

 รวมอุปาทาน มี ๔ แต่องค์ธรรมมีเพียง ๒ คือ โลภเจตสิก และทิฏฐิเจตสิก

โสดาปัตติมัคค ประหาร ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน

อรหัตตมัคค   ประหาร กามุปาทาน


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...