ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม
โพธิปักขิยธรรมย่อมประกอบพร้อมกัน
ตามปกติ
โพธิปักขิยธรรมย่อมประกอบพร้อมกันทั้ง
๓๗ ประการ แต่ว่าใน
บางกรณีก็มีเว้น ดังนี้
ในโลกุตตรจิต
มี(โพธิปักขิยธรรม)
ครบทั้งหมด(คือทั้ง
๓๗)
แต่ว่าสังกัปปะ
และปีติ บางทีก็ไม่ประกอบ
แม้ในโลกียวิสุทธิ ๖ (โพธิปักขิยธรรม)
ก็ประกอบเท่า
ที่ควรจะเป็นไปได้
มีความหมายว่า
๑.
โลกุตตรจิตโดยย่อ
๘ ดวงนั้น
โพธิปักขิยธรรมประกอบพร้อมกันครบ
หมดทั้ง ๓๗ ประการ
๒.
โลกุตตรจิตโดยพิศดาร
๔๐ ดวง
ซึ่งเป็นโลกุตตรจิตที่มีฌานประกอบ
ด้วยนั้น
ก.
โลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยปฐมฌาน
๘ ดวง มีโพธิปักขิยธรรมประกอบ
ครบหมดทั้ง ๓๗ ประการ
ข.
โลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยทุติยฌาน
๘ ดวง และที่ประกอบด้วย
ตติยฌานอีก ๘ ดวง รวมเป็น ๑๖ ดวง
มีโพธิปักขิยธรรมประกอบเพียง ๓๖
เท่านั้น
โดยต้องเว้นสัมมาสังกัปปะ คือ
วิตกเจตสิก เสีย ๑
ค.
โลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยจตุตถฌาน
๘ ดวง และที่ประกอบด้วย ปัญจมฌาน
๘ ดวง รวม ๑๖ ดวง
มีโพธิปักขิยธรรมประกอบเพียง ๓๕
เท่านั้น คือ ต้องเว้น ปีติ
เพิ่มขึ้นอีก ๑ ด้วย รวมเว้นทั้ง
วิตก และ ปีติ
๓.
โลกียจิต
มีรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง (เว้นปฐมฌาน
๓)
และอรูปาวจรจิตทั้ง
๑๒ ดวง รวมเป็นจิต ๒๔ ดวงนี้
วิตกเจตสิกย่อมไม่เข้าประกอบ
๔.
โลกียจิตที่เป็นจตุตถฌาน
๓ และปัญจมฌาน ๑๕ รวมเป็นจิต ๑๘
ดวงนี้ ปีติไม่เข้าประกอบ
ก็ต้องเว้นปีติออกเสียอีกด้วย
๕.
แม้ในขณะที่โยคีบุคคลเจริญวิสุทธิ
๖ ประการ
ซึ่งยังเป็นโลกียวิสุทธิ
อยู่นั้น
โพธิปักขิยธรรมก็เกิดได้ตามสมควร
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ