ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม
วิชชา
และ จรณะ
ก.
ที่ว่า
สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ ๒
องค์นี้เป็นวิชชา
นั้นหมายถึง วิชชา ๓
บ้างก็เรียกว่า ญาณ ๓
ซึ่งเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ
วิชชา ๓ หรือ ญาณ ๓ ได้แก่
๑.
บุพเพนิวาสานุสติญาณ
ระลึกชาติได้
๒.
ทิพพจักขุญาณ
หรือ จุตูปปาตญาณ
ตาทิพย์
รู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์
ทั้งหลาย
๓.
อาสวักขยญาณ
รู้วิชาที่ทำให้สิ้นกิเลสและอาสวะ
(เป็นปัญญาเจตสิก
ที่ในอรหัตตมัคคจิต)
นอกจากวิชชา
๓ ที่กล่าวแล้วนี้ ยังมีวิชชา ๖
และวิชชา ๘ อีก วิชชา ๖ หรือ ญาณ ๖
ได้แก่ วิชชา ๓ ที่กล่าวแล้ว
และเพิ่มอีก ๓ คือ
๔.
ปรจิตตวิชานนะ
หรือ เจโตปริยญาณ
รู้จิตใจผู้อื่น
๕.
ทิพพโสตญาณ
หูทิพย์
๖.
อิทธิวิธญาณ
สำแดงฤทธิได้
วิชชา
๘ หรือ ญาณ ๘ ได้แก่
วิชชา
๖ นั่นแหละ แล้วเพิ่มขึ้นอีก ๒
คือ
๗.
มโนมยิทธิญาณ
เนรมิตร่างกายได้
๘.
วิปัสสนาญาณ
ญาณที่รู้เห็นไตรลักษณ์ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา
มี ๑๐ ญาณด้วยกัน คือ สัมมสนญาณ
อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ อาทีนว
ญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกามยตาญาณ
ปฏิสังขาญาณ สังขารุเบกขาญาณ และ
อนุโลมญาณ
ยังมีอีก
๒ ญาณ ได้แก่
ยถากัมมุปาคญาณ
รู้ว่าที่สัตว์นั้นทุกข์หรือสุข
เพราะได้กระทำกรรมอะไร
มาแต่ปางก่อน
อนาคตังสญาณ
รู้เหตุการณ์ล่วงหน้า
เช่นรู้ว่าสัตว์นั้นจะไปเกิดเป็นอะไร
ที่ไหนมีความเป็นอยู่อย่างไร
เป็นต้น
ถ้านับ
๒ ญาณนี้เข้าอีกด้วย ก็เป็น ๑๐
แต่ส่วนมากมักจะถือว่า ๒ ญาณนี้
รวมอยู่ในจุตูปปาตญาณด้วยแล้ว
เพราะต้องมีจุตูปปาตญาณแล้ว
จึงจะมีญาณทั้ง ๒ นี้ได้
วิชชา
หรือ ญาณ
ทั้งหมดนี้เป็นโลกียทั้งนั้น
เว้นแต่ อาสวักขยญาณ
ญาณเดียวเท่านั้นที่เป็น
โลกุตตรญาณ
คือเป็นปัญญาเจตสิกที่ในอรหัตตมัคคจิต
ข.
ที่ว่าที่เหลืออีก
๖ องค์ (คือ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)
เป็น
จรณะ นั้น จรณะ มี ๑๕ คือ
(๑)
สีลสัมปทา
ถึงพร้อมด้วยสีล
(๒)
อินทรียสังวร
สำรวมอินทรีย
(๓)
โภชเนมัตตัญญุตา
รู้จักประมาณในการบริโภค
(๔)
ชาคริยานุโยค
ตื่นอยู่เสมอ คือนอนน้อย
ในอรรถกถาแสดงว่า วันและ
คืนหนึ่ง แบ่งเป็น ๖ ส่วน
ตื่นทำความเพียร ๕ ส่วน นอนหลับ ๑
ส่วน คือ ตื่น ๒๐ ชั่วโมง หลับ ๔
ชั่วโมง
(๕)
สัทธา
ความเชื่อถือเลื่อมใสในธรรมที่เป็นฝ่ายดี
(๖)
หิริ
ความละอายแก่ใจในอันที่จะกระทำบาป
(๗)
โอตตัปปะ
ความเกรงกลัวผิด
กลัวผลแห่งการกระทำบาป
(๘)
พหุสัจจ
ความเป็นผู้ได้ศึกษามามาก
(๙)
วิริยะ
ความพากเพียร
(๑๐)
สติ
ความไม่ประมาท
(๑๑)
ปัญญา
ความรอบรู้
(๑๒)
ปฐมฌาน
(๑๓)
ทุติยฌาน
ฌานจตุกนัย
(๑๔)
ตติยฌาน
(๑๕)
จตุตถฌาน
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ