ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๗ มัคคมีองค์ ๘

มัคคในมิสสกสังคหะ (ซึ่งกล่าวตามนัยแห่งพระอภิธรรม) มีองค์ ๑๒ องค์ แสดงถึงตัวเหตุแห่ง ทุคคติ สุคติ และนิพพาน อันเป็นทางให้ถึง ทุคคติ สุคติ และ นิพพาน คือกล่าวถึงมัคคทั้งที่เป็นทางชั่วและทางชอบ

แต่มัคคในโพธิปักขิยสังคหะนี้ กล่าวถึงมัคคเฉพาะที่เป็นทางชอบแต่ฝ่ายเดียว ไม่เกี่ยวถึงฝ่ายชั่วด้วย ดังนั้น มัคคในที่นี้จึงมีเพียง ๘ องค์ มีชื่อว่า อัฏฐังคิกมัคค คือ มัคคมีองค์ ๘ ดังมีวจนัตถะว่า

กิเลเส มาเรนฺโต นิพฺพานํ คจฺฉนฺติ เอเตนาติ มคฺโค ฯ ธรรมใดที่ประหาร กิเลสและย่อมเข้าถึงพระนิพพาน ฉะนั้นธรรมที่เป็นเหตุแห่งการฆ่ากิเลส และเข้าถึง พระนิพพาน ชื่อว่า มัคค ได้แก่องค์มัคค ๘ รวมกัน

มคฺคสฺส องฺโค มคฺคงฺโค ฯ ธรรมอันเป็นเครื่องประกอบของธรรมที่เป็นเหตุ แห่งการฆ่ากิเลส และเข้าถึงพระนิพพาน ชื่อว่า มัคคังคะ ได้แก่องค์มัคค ๘ โดย เฉพาะ ๆ

องค์มัคค ๘ โดยเฉพาะ ๆ ได้แก่

. สัมมาทิฏฐิ                    . สัมมาสังกัปปะ                    . สัมมาวาจา                    . สัมมากัมมันตะ

. สัมมาอาชีวะ                    . สัมมาวายามะ                    . สัมมาสติ                    . สัมมาสมาธิ

ความหมายแห่งมัคค ได้กล่าวแล้วในมิสสกสังคหะนั้น จึงจะไม่กล่าวซ้ำใน ที่นี้อีก เป็นแต่จะเพิ่มเติมเล็กน้อย ตามนัยที่เป็นเครื่องให้ตรัสรู้ว่า334.JPG (3074 bytes)

. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือเห็นรูปนามโดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

. สัมมาสังกัปปะ คิดชอบ คือ คิดให้พ้นทุกข์ เพราะเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

. สัมมาวาจา พูดชอบ คือ พูดโดยมีสติ ไม่เผลอพูดชั่ว เพราะการพูดชั่ว จะไม่พ้นทุกข์

. สัมมากัมมันตะ ทำชอบ คือ ทำด้วยความมีสติ ไม่เผลอทำชั่ว เพราะ การทำชั่วจะไม่พ้นทุกข์

. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ คือ มีความเป็นอยู่โดยชอบ โดยมีสติไม่เผลอ ให้ดำรงชีพอยู่โดยความชั่ว เพราะมีความเป็นอยู่ชั่ว จะไม่พ้นทุกข์

. สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือ พยายามไม่นึกถึงความชั่ว พยายามไม่ทำ ความชั่ว พยายามทำชอบ พยายามทำให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพราะพยายามเช่นนี้ จึงจะพ้นทุกข์

. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ระลึกถึงเฉพาะรูปนามที่มีความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ระลึกเช่นนี้ โลภ โกรธ หลง จึงจะไม่เกิดขึ้นได้ เพราะถ้าโลภ โกรธ หลง ยังเกิดมีอยู่ ก็จะไม่พ้นทุกข์

. สัมมาสมาธิ ตั้งใจมั่นโดยชอบ คือ ให้แน่วแน่ในสติปัฏฐาน ในอันที่จะ พ้นทุกข์

ดังนี้จะเห็นได้ว่า มัคคมีองค์ ๘ นี้ย่อมเกี่ยวเนื่องกัน ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน อย่างพรักพร้อม จึงจะสำเร็จกิจให้พ้นทุกข์ได้ ความเกี่ยวเนื่องกันนั้น เป็นดังนี้ คือ

เมื่อมีปัญญาเห็นชอบแล้ว                    ก็ย่อมจะ                    คิดชอบ

เมื่อคิดชอบ                    ก็ย่อมจะ                    พูดชอบ

เมื่อพูดชอบ                    ก็ย่อมจะ                    ทำชอบ

เมื่อทำชอบ                    ก็ย่อมจะ                    มีความเป็นอยู่ชอบ

เมื่อมีความเป็นอยู่ชอบ                    ก็ย่อมจะ                    มีความเพียรชอบ

เมื่อมีความเพียรชอบ                    ก็ย่อมจะ                    มีความระลึกชอบ

เมื่อมีความระลึกชอบ                    ก็ย่อมจะ                    ตั้งใจมั่นโดยชอบ

ที่มีความ ตั้งใจมั่นชอบ                    ก็เพราะมี                    ความระลึกชอบ

ที่มีความ ระลึกชอบ                    ก็เพราะมี                    ความเพียรชอบ

ที่มีความ เพียรชอบ                    ก็เพราะมี                    ความเป็นอยู่ชอบ

ที่มีความ เป็นอยู่ชอบ                    ก็เพราะมี                    ทำชอบ

ที่ ทำชอบ                    ก็เพราะมี                    พูดชอบ

ที่ พูดชอบ                    ก็เพราะมี                    คิดชอบ

ที่ คิดชอบ                    ก็เพราะมี                    ความเห็นชอบ

กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การที่มีความตั้งใจมั่นโดยชอบ ระลึกชอบ เพียรชอบ มีความเป็นอยู่ชอบ ทำชอบ พูดชอบ และคิดชอบ เหล่านี้334.JPG (3074 bytes) ก็เพราะมีความเห็น ชอบ คือ สัมมาทิฏฐิ เป็นรากฐาน

ในการแสดงมัคคมีองค์ ๘ นี้ พระพุทธองค์ทรงแสดง สัมมาทิฏฐิ ก่อน เพราะถือว่าเป็นองค์ที่มีอุปการะยิ่งเป็นเบื้องต้น(บุพพภาค) แก่ผู้ปฏิบัติเพื่อให้บรรลุ มัคคผล จนเปรียบไว้ว่า ปญฺญาปโชต ประทีปคือปัญญา ปญฺญาสตฺถ ศัสตราคือ ปัญญา เพื่อพระโยคาวจรจะได้กำจัดมืด คืออวิชชา และประหารโจร คือกิเลสเสีย ด้วยสัมมาทิฏฐิ

รองจากนั้นก็ทรงแสดง สัมมาสังกัปปะ ซึ่งเปรียบเหมือนอย่างช่างเงิน ผู้ชำนาญในการดูเงิน พลิกกหาปณะไปมาด้วยมือและดูด้วยจักษุ ย่อมรู้ว่ากหาปณะนี้ แท้หรือเทียม ฉันใดแม้ พระโยคาวจร ณ กาลบุพพภาคเบื้องต้นย่อมตรึก นึก รำพึง ด้วยวิตก และใช้ปัญญาเพ่งพินิจธรรมนั้น ๆ อยู่ ย่อมรู้ว่าธรรมนั้น ๆ เป็นรูป เป็น นาม เป็นต้น ก็ฉันนั้น

บุคคลย่อมตรึกก่อน จึงเปล่งวาจาออกมาภายหลัง จึงได้ทรงแสดง สัมมา วาจา เป็นลำดับต่อจากสัมมาสังกัปปะ

ตามปกติ ชนทั้งหลายย่อมกล่าวด้วยวาจาก่อนว่าจะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ แล้วจึง ประกอบกิจการงานต่าง ๆ เหล่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงนับว่าวาจามีอุปการะแก่การงาน ต่าง ๆ ที่ทำด้วยกาย ดังนั้นจึงได้ทรงแสดง สัมมากัมมันตะ เป็นลำดับรองลงมา จากสัมมาวาจา

อาชีวมัฏฐกสีล สีลมีอาชีวะเป็นที่ครบ ๘ ย่อมบริบูรณ์แก่ผู้ละวจีทุจจริต ๔ ประการ และละกายทุจจริต ๓ ประการ บำเพ็ญแต่กายสุจริตและวจีสุจริต ๒ ประการนั่นเทียว สีลนั้นไม่บริบูรณ์แก่ชนอื่นใดที่นอกจากนี้เลย เหตุนี้จึงทรงแสดง สัมมาอาชีวะ ต่อจากสัมมากัมมันตะ334.JPG (3074 bytes)

ผู้มีอาชีวะ คือความเลี้ยงชีพ หรือความเป็นอยู่โดยบริสุทธิเช่นนี้แล้ว ก็ไม่ควร ที่จะมีความยินดีอยู่ว่าอาชีวะของเราบริสุทธิ์แล้วเท่านั้น และเป็นผู้ประมาทอยู่ แต่ ควรจะปรารภความเพียรในอิริยาบถทั้งปวงโดยแท้ ดังนั้นจึงได้ทรงแสดงสัมมาวายา มะ ต่อจากสัมมาอาชีวะ

ผู้ปรารภความเพียรดังกล่าวแล้ว พึงตั้งสติให้มั่นคงดำรงอยู่ด้วยดีในวัตถุธรรม ๔ มี กาย เวทนา จิต ธรรม ด้วยประสงค์ดังนี้ จึงได้ทรงแสดง สัมมาสติ ต่อจาก สัมมาวายามะ

ก็และสติดำรงอยู่แล้วด้วยดีดังนี้ ย่อมองอาจแสวงหาคติธรรมทั้งหลายที่เป็น อุปการะ และละทิ้งสิ่งที่ไม่เป็นอุปการะแก่สมาธิ แล้วก็ตั้งจิตให้แน่วแน่ในอารมณ์ที่ กำหนดเพ่งพินิจอยู่นั้น ไม่ให้ฟุ้งเฟ้อไปเป็นอื่น จึงได้ทรงแสดง สัมมาสมาธิไว้เป็น อันดับสุดท้ายแห่งมัคคมีองค์ ๘ นี้


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...