ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม
สติปัฏฐาน
กับ สติสัมปชัญญะ
สติปัฏฐาน
คือ สติตั้งมั่นในการพิจารณา กาย
เวทนา จิต ธรรม ซึ่งมี
ความหมายว่า
ให้พินิจในธรรมเหล่านั้น
เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นรูปเห็นนาม
โดยความ เป็น อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา
สติสัมปชัญญะ
ก็หมายถึงว่าให้พินิจในประโยชน์
ให้พินิจในการควร เป็นต้น
เมื่อพินิจเห็นว่ามีประโยชน์และพินิจเห็นว่าควรทำ
จึงทำ
ซึ่งมีความมุ่งหมายให้พินิจ
เพื่อให้เกิดปัญญาเช่นเดียวกัน
ดังนั้น
การเจริญสติปัฏฐานจึงต้องกระทำไปด้วยความมีสติสัมปชัญญะ
คือให้ พินิจด้วยปัญญา
เพื่อให้เกิดปัญญาภิญโญยิ่ง ๆ
ขึ้นไป
อันว่าความพินิจที่ประกอบด้วยปัญญานี้
ถ้ามีแก่ผู้ใดแล้ว
นับว่าผู้นั้นอยู่ใกล้
พระนิพพาน ดังปรากฏใน ธรรมบท
ว่า
นตฺถิ
ฌานํ อปญฺญสฺส
ความพินิจย่อมไม่มีแก่ผู้หาปัญญามิได้
นตฺถิ
ปญฺญา อฌายิโน
ปัญญาเล่า
ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ
ยมฺหิ
ฌานญฺจ ปญฺญา จ
ความพินิจและปัญญามีในผู้ใด
ส
เว นิพฺพานํ สนฺติเก
ผู้นั้นแหละอยู่ในที่ใกล้พระนิพพาน
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ