ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ
ซึ่งธรรมมี ๕ บรรพ คือ
บรรพที่
๑ นิวรณ ๕
บรรพที่
๒ ขันธ์
๕
บรรพที่
๓ อายตนะ ๑๒
บรรพที่
๔ โพชฌงค์ ๗
บรรพที่
๕ อริยสัจจ ๔
นิวรณ
๕
ได้กล่าวแล้วข้างต้นในอกุสลสังคหะ
อันเป็นสังคหะแรกของ ปริจเฉทนี้
ขันธ์
๕,
อายตนะ
๑๒
และ อริยสัจ
๔
จะกล่าวต่อไปในสัพพสังคหะ
อันเป็นสังคหะสุดท้ายของปริจเฉทนี้
โพชฌงค์
๗
ก็จะได้กล่าวในโพธิปักขิยสังคหะ
ที่กำลังกล่าวอยู่นี่แหละ
สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง
ๆ ซึ่งนิวรณ ๕ นั้น เช่น กามฉันทะ
หรือ อุทธัจจะ เกิดขึ้น
ก็ให้รู้ทันในทันใดนั้นว่า
กามฉันทะหรืออุทธัจจะเกิดขึ้น
เมื่อดับไป ก็ให้รู้
ทันในทันทีว่า ดับไป
สติตั้งมั่นในการพิจารณา
อุปาทานขันธ์ ๕,
อายตนะ
๑๒,
โพชฌงค์
๗ หรือ อริยสัจจ ๔ นั้น
เมื่อธรรมใดปรากฏขึ้น
ก็ให้รู้ทันว่า ธรรมนั้น ๆ
เกิดขึ้น เมื่อธรรม
ที่เกิดขึ้นนั้นดับไป
ก็ให้รู้ทันว่าธรรมนั้น ๆ ดับไป
ทำนองเดียวกัน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ใช้ในการเจริญวิปัสสนาภาวนาแต่อย่างเดียว
เป็น
การพิจารณาให้รู้ให้เห็นทั้งรูปทั้งนาม
จึงกล่าวได้ว่า
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้ง ๓
นี้ ย่อมรวมลงได้
ในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ทั้งสิ้น
ดังนั้น ข้อความและความหมายต่าง
ๆ ใน ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ก็เป็นไปตามนัยแห่ง กาย เวทนา จิต
ที่กล่าวมาแล้วนั้น
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ