ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม
สัจจวิมุตติ
ธรรมที่พ้นจากอริยสัจจ
๔ มี มัคคจิต ผลจิต
และธรรมที่ประกอบด้วยนั่น
เทียวพ้นพิเศษจากอริยสัจจ ๔
นี่แหละคือ
ธรรม ๕
ประเภทที่แสดงในสัพพสังคหะนี้
มีความหมายว่า
ในสัพพสังคหะนี้แสดงธรรม ๕
ประเภท คือ ๑.เบ็ญจขันธ์
๒.อุปาทานขันธ์
๓.อายตนะ
๔.ธาตุ
และ ๕.อริยสัจจ
ถึงกระนั้นก็ยังมีธรรมอีกจำพวกหนึ่งซึ่งพ้นพิเศษจาก
อริยสัจจ ๔ อันมีชื่อว่า สัจจวิมุตติ
ธรรมที่พ้นจากอริยสัจจ
๔ คือ สัจจวิมุตติ
นั้น ได้แก่ มัคคจิตและเจตสิก
ที่ประกอบกับผลจิตและเจตสิกที่ประกอบ
รวมจิต ๒ ประเภทนี้เท่านั้น
มัคคจิตเป็นโลกุตตรจิตไม่ใช่โลกียจิต
จึงไม่ใช่ทุกขสัจจ
และมัคคจิตก็ไม่ใช่ โลภเจตสิก
ไม่ใช่นิพพาน
ไม่ใช่อัฏฐังคิกมัคคด้วยเลยสักอย่างเดียว
ดังนั้นมัคคจิตจึง
พ้นพิเศษจากสัจจทั้ง ๔ นี้
ได้ชื่อว่าเป็น สัจจวิมุตติ
เจตสิกที่ประกอบกับมัคคจิตนั้นมี
๓๖ ดวง ในจำนวน ๓๖ ดวงนี้ มีปัญญา
เจตสิก วิตกเจตสิก
สัมมาวาจาวิรตีเจตสิก
สัมมากัมมันตวิรตีเจตสิก
สัมมาอาชีว วิรตีเจตสิก
วิรียเจตสิก สติเจตสิก
และเอกัคคตาเจตสิก รวมอยู่ด้วย
เจตสิก ๘ ดวง
นี้เป็นองค์อัฏฐังคิกมัคค
คือเป็นองค์ธรรมของมัคคสัจจ
เมื่อยกเจตสิก ๘ ดวง
ซึ่งเป็นตัวมัคคสัจจออกเสียแล้ว
เจตสิกที่เหลือ ๒๘ ดวง (๓๖-๘=๒๘)
ก็ไม่ใช่
สัจจใด ๆ เลย เพราะมีหลักอยู่ว่า
เจตสิกที่ประกอบกับจิตใดก็มีฐานะเหมือนจิตนั้น
ก็เจตสิก ๒๘
ดวงนี้ประกอบกับมัคคจิตซึ่งมีฐานะพ้นพิเศษจากสัจจทั้ง
๔ ดังนั้น เจตสิก ๒๘ ดวงนี้
จึงพ้นพิเศษจากอริยสัจจทั้ง ๔
ไปตามฐานะของมัคคจิตด้วย
ก็น่าจะสงสัยว่า
เจตสิกที่ประกอบกับจิตใดก็มีฐานะเหมือนจิตนั้น
เจตสิก ๘ ดวง
ที่ว่านี้ก็ประกอบกับมัคคจิต
ซึ่งมีฐานะพ้นพิเศษจากอริยสัจจ
๔ เหตุใดเจตสิก ๘ ดวงนี้
จึงไม่พ้นพิเศษไปตามฐานะของมัคคจิตด้วย
ข้อนี้เป็นเพราะในมัคคสัจจ
ได้ระบุบอกไว้โดยชัดแจ้งว่า
เจตสิก ๘ ดวงนี้
ที่ประกอบกับมัคคจิตเป็นองค์ธรรม
ของมัคคสัจจเป็นตัวมัคคสัจจ
ซึ่งเป็นสัจจที่ทำลายหรือประหารตัณหา
หรือสมุทัย ดังนั้นเจตสิก ๘
ดวงนี้
ถึงแม้ว่าจะประกอบกับมัคคจิตที่พ้นจากสัจจ
ก็ไม่ทำให้
ตัวเองพ้นจากสัจจไปได้
ตอนนี้รวมความได้ว่า
มัคคจิต ๑ เจตสิกที่ประกอบ ๒๘ (โดยเว้นเจตสิก
๘
ดวงที่เป็นองค์ธรรมของมัคคสัจจออกแล้ว)
รวมเป็นธรรม
๒๙ นี้ เป็นธรรมที่พ้น
พิเศษจากอริยสัจจ ๔ คือ
เป็นสัจจวิมุตติไป
ส่วนผลจิต
๑ ก็มีเจตสิกประกอบ ๓๖ ดวง
เหมือนกัน ผลจิต ๑ เจตสิก ๓๖ รวม
เป็นธรรม ๓๗ นี้
ก็พ้นพิเศษจากอริยสัจจ ๔ คือ
เป็นสัจจวิมุตติทั้ง ๓๗
เจตสิก
๓๖ ดวงที่ประกอบกับผลจิต
ก็มีเจตสิก ๘ ดวงที่เป็นองค์ของ
อัฏฐังคิกมัคค
คือเป็นองค์ธรรมของมัคคสัจจรวมอยู่ด้วย
แต่ไม่ต้องเว้นหรือไม่ต้อง
หักเจตสิก ๘ ดวงนี้ออก
เพราะเจตสิก ๘ ดวงนี้
ประกอบกับผลจิต ไม่ได้ประกอบ
กับมัคคจิต
ไม่ได้ทำหน้าที่ประหารสมุทัย
จึงไม่เป็นมัคคสัจจเหมือนกับที่ประกอบ
กับมัคคจิต
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ