ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

สัพพสังคหะกองที่ ๓ อายตนะ

อายตนะย่อมมีโดยประเภทแห่งทวารและอารมณ์ ธาตุย่อมมีโดยวิญญาณที่เกิด ขึ้น เนื่องจากทวารและอารมณ์

บัดนี้จะกล่าวถึงอายตนะก่อน ส่วนธาตุ จะได้กล่าวในสัพพสังคหะกองที่ ๔ ต่อไปตามลำดับ

คำว่า อายตนะ แปลอย่างสั้นที่สุดก็ว่า เครื่องต่อ และมีความหมายหลายนัย คือ

. สญฺชาติเทสฏฺฐ เป็นที่เกิด หมายความว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้ชื่อ ว่า อายตนะ เป็นเครื่องต่อให้เกิดจิตและเจตสิก ถ้าไม่มีอายตนะแล้ว ก็ไม่มีเครื่อง ต่อให้เกิดจิตและเจตสิก ไม่มีวิถีจิต ไม่มีบุญไม่มีบาป

. นิวาสฏฺฐ เป็นที่อยู่ หมายความว่า อายตนะเป็นที่อาศัยอยู่ของจิตและ เจตสิก จิตเจตสิกไม่ได้อาศัยอยู่ที่อื่นเลย

. อากรฏฺฐ เกิดแก่สัตว์ทั่วไป หมายความว่า อายตนะนี้เกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย ไม่เลือกชั้นวรรณะ

. สโมสรฏฺฐ เป็นที่ประชุม หมายความว่า 357.JPG (10497 bytes)อายตนะภายในกับอายตนะภาย นอกมาประชุมกัน มาร่วมกัน มาต่อกันเมื่อใด จิตและเจตสิกก็จะเกิดขึ้นเมื่อนั้น ถ้าอายตนะไม่ประชุมกัน ไม่ต่อกัน จิตเจตสิกก็เกิดขึ้นไม่ได้เลย

. การณฏฺฐ เป็นเหตุให้เกิด หมายความว่า ถ้าไม่มีอายตนะเป็นเหตุเป็น ปัจจัยแล้ว จิตเจตสิกก็เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อมีอายตนะเป็นเหตุเป็นปัจจัย จิตเจตสิกก็ เกิดขึ้น เป็นเหตุให้เกิดบุญหรือบาปต่อไป

ความหมายของอายตนะอีกนัยหนึ่ง กล่าวไว้สั้น ๆ และได้ความดีด้วย ดังนี้

. สญฺชาติเทสฏฺฐ                    ที่เกิดของบุญและบาป

. นิวาสฏฺฐ                    ที่อยู่ของบุญและบาป

. อากรฏฺฐ             ทำการนำมาซึ่งบุญและบาป

. สโมสรฏฺฐ                    ที่ประชุมของบุญและบาป

. การณฏฺฐ             เหตุบุญและบาป

ดังนี้ จะเห็นได้ว่า อายตนะเป็นเครื่องต่อที่สำคัญอันทำให้สัตว์ต้องเวียนว่าย ตายเกิดไม่มีที่สิ้นสุด และเมื่อเกิดมาแล้ว ก็อายตนะนี้เองเป็นปัจจัยให้ประพฤติเป็น ไปในเหตุที่จะให้เกิดทุกข์ หรือจะให้พ้นทุกข์ ขึ้นชื่อว่าสัตว์แล้วจะไม่ต้องอาศัย อายตนะเลยนั้น เป็นไม่มี

อายตนะ จำแนกโดยประเภทแห่งทวารก็มี ๖ เรียกว่า อชฺฌตฺติกายตน เป็นอายตนะภายใน จำแนกโดยประเภทแห่งอารมณ์ ก็มี ๖ เหมือนกัน เรียกว่า พาหิรายตน เป็นอายตนะภายนอก รวม อายตนะมี ๑๒ คือ

         โดยประเภทแห่งทวาร                     โดยประเภทแห่งอารมณ์

         เป็นอายตนะภายใน ๖             เป็นอายตนะภายนอก ๖

จักขวายตนะ                    ต่อกับ                    รูปายตนะ

โสตายตนะ                    ต่อกับ                    สัททายตนะ

ฆานายตนะ                    ต่อกับ                    คันธายตนะ

ชิวหายตนะ                    ต่อกับ                    รสายตนะ

กายายตนะ                    ต่อกับ                    โผฏฐัพพายตนะ

มนายตนะ                    ต่อกับ                    ธัมมายตนะ

อายตนะทั้ง ๑๒ มีความหมายและองค์ธรรมดังนี้358.JPG (5972 bytes)

. จักขวายตนะ มักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่า จักขายตนะ คือ จักขุทวาร เป็น เครื่องต่อ หรือต่อทางจักขุทวาร องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท เป็นรูปธรรม

. โสตายตนะ คือ โสตทวารเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ โสตปสาท เป็นรูปธรรม

. ฆานายตนะ คือ ฆานทวารเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาท เป็นรูปธรรม

. ชิวหายตนะ คือชิวหาทวารเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท เป็นรูปธรรม

. กายายตนะ คือกายทวารเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ กายปสาท เป็น รูปธรรม

. มนายตนะ คือ จิตใจเป็นเครื่องต่อ โดยเฉพาะในที่นี้หมายถึงทวาร องค์ธรรมได้แก่ มโนทวาร เป็นนามธรรม (นามจิต)

. รูปายตนะ คือ รูป (วรรณ หรือ สี) เป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ รูปารมณ์ เป็นรูปธรรม

. สัททายตนะ คือ เสียงเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ สัททารมณ์ เป็น รูปธรรม

. คันธายตนะ คือ กลิ่นเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ คันธารมณ์ เป็น รูปธรรม

๑๐. รสายตนะ คือ รสเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ รสารมณ์ เป็น รูปธรรม

๑๑. โผฏฐัพพายตนะ คือ โผฏฐัพพะเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ โผฏฐัพ พารมณ์ ซึ่งมี ๓ คือ

. ปฐวีโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ แข็ง อ่อน เป็น รูปธรรม

. เตโชโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ ร้อน เย็น เป็น รูปธรรม

. วาโยโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ หย่อน ตึง เป็น รูปธรรม

๑๒. ธัมมายตนะ คือ ธรรมเป็นเครื่องต่อ องค์ธรรมได้แก่ ธรรม   ๖๙ คือ

. สุขุมรูป ๑๖           เป็นรูปธรรม

. เจตสิก ๕๒           เป็นนามธรรม (นามเจตสิก)

. นิพพาน          เป็นนามธรรม (นามนิพพาน)

รวมความกล่าวโดยปรมัตถธรรมแล้ว อายตนะหมายเลข ๖ มนายตนะ อัน เป็นอายตนะภายในนั้น เป็นจิตปรมัตถ

อายตนะ หมายเลข ๑๒ ธัมมายตนะ อันเป็นอายตนะภายนอกนั้นเป็น รูป ปรมัตถ เจตสิกปรมัตถ และนิพพาน

359.JPG (8699 bytes)ส่วนอายตนะที่เหลืออีก ๑๐ นั้น เป็นรูปปรมัตถทั้งหมด

รวม อายตนะ ๑๒ ได้ ปรมัตถธรรมครบทั้ง ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน

อนึ่ง ในบทอายตนะนี้มีข้อที่ควรสังเกตอยู่ว่า ธัมมายตนะนั้น องค์ธรรมได้แก่ สุขุมรูป ๑๖, เจตสิก ๕๒ และนิพพาน ๑ รวมเป็นธรรม ๖๙ ด้วยกัน

นิพพาน เป็นธรรมภายนอกโดยแท้และแน่นอน ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น นิพพานที่เป็นธรรมภายในนั้น ไม่มีเลย ส่วนสุขุมรูป ๑๖ และเจตสิก ๕๒ นั้น เป็นธรรมภายในก็มี เป็นธรรมภายนอกก็มี แต่เมื่อกล่าวโดยความเป็นอายตนะแล้ว ถือว่าธัมมายตนะเป็นอายตนะภายนอกทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะ

อายตนะ หมายถึงเครื่องต่อ อันว่าการต่อจะต้องมีของสองสิ่งมาต่อกัน เครื่อง ต่อสิ่งหนึ่งนั้นมีอยู่ในตัวเราแล้ว จึงเรียกว่า อายตนะภายใน ส่วนเครื่องต่ออีกสิ่ง หนึ่งนั้นเป็นสิ่งที่โน้มน้าวเข้ามาต่อ จึงถือว่าเป็นของภายนอก มนายตนะ เป็นเครื่อง ต่อภายในได้โน้มน้าว หรือ ยึดหน่วงธัมมายตนะเข้ามาให้เกิดความรู้ความเห็นขึ้น ดังนี้ จึงได้ถือว่า ธัมมายตนะเป็นอายตนะภายนอก

โดยทำนองเดียวกัน จักขวายตนะ หรือจักขายตนะ องค์ธรรมได้แก่ จักขุ ปสาทรูปนั้น มีอยู่ในสังขารร่างกายของเรา ก็เป็นธรรมภายใน ที่มีอยู่ในสังขาร ร่างกายอื่น ก็เป็นภายนอก

แม้ โสตายตนะ (โสตปสาทรูป), ฆานายตนะ (ฆานปสาทรูป), ชิวหายตนะ (ชิวหาปสาทรูป), กายายตนะ (กายปสาทรูป), ก็มีทั้งภายในและภายนอกเช่นเดียว กับจักขวายตนะ

แต่เมื่อกล่าวโดยอายตนะแล้ว ก็ถือว่าอายตนะทั้ง ๕ คือ ปสาทรูปทั้ง ๕ เหล่านี้เป็นอายตนะภายในแต่ฝ่ายเดียว เพราะเป็นเครื่องต่อที่มีอยู่ในตัวเราแล้ว และ โน้มน้าวหรือยึดหน่วงปัญจารมณ์ คือ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ อันเป็นภายนอกเข้ามา จึงทำให้เกิดความรู้ความเห็นขึ้น จึงต้องถือ ว่า อายตนะทั้ง ๕ เป็นอายตนะภายใน ปัญจารมณ์ทั้ง ๕ เป็นอายตนะภายนอก

?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...