ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม
โพธิปักขิยสังคหะกองที่
๔ อินทรีย ๕
อินทรียในมิสสกสังคหะมี
๒๒ กล่าวถึงความเป็นใหญ่
ความเป็นผู้ปกครอง
ในสภาวธรรมที่เกิดร่วมกับตน
ไม่ว่าสภาวธรรมนั้นจะเป็น กุสล
อกุสล หรือ อพยากตะ ก็มีอินทรีย
๒๒ นั้นได้ตามควร
ส่วนอินทรียในโพธิปักขิยสังคหะนี้
เป็นความเป็นใหญ่ หรือ
ความเป็นผู้
ปกครองในสภาวธรรมที่เป็นฝ่ายดี
และเฉพาะฝ่ายดีที่จะให้รู้ให้ถึงซึ่งฌานธรรมและ
อริยสัจจธรรม ดังนั้น
อินทรียในโพธิปักขิยสังคหะนี้จึงมีเพียง
๕ ประการ เรียกว่า อินทรีย
๕
คือ
๑.
สัทธินทรีย
เป็นใหญ่ในการยังความสัทธาปสาทในอารมณ์
ที่เป็นฝ่ายดี องค์ธรรมได้แก่
สัทธาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต
๓๔
สัทธา
มี ๒ อย่าง คือ ปกติสัทธา และ
ภาวนาสัทธา
ปกติสัทธา
ได้แก่ ทาน สีล ภาวนา
อย่างสามัญของชนทั้งหลาย
โดยปกติซึ่ง
สัทธาชนิดนี้ยังไม่แรงกล้า
เพราะอกุสลธรรมสามารถทำให้สัทธาเสื่อมไปได้โดยง่าย
ส่วน
ภาวนาสัทธา
ได้แก่
สมถะหรือวิปัสสนาที่เนื่องมาจากกัมมัฏฐานต่าง
ๆ มี อานาปานสติ เป็นต้น
สัทธาชนิดนี้แรงกล้าและแนบแน่นในจิตใจมาก
สมถะ ภาวนาสัทธานั้น
อกุสลจะทำให้สัทธาเสื่อมไปได้โดยยาก
ยิ่งเป็นวิปัสสนาภาวนา
สัทธาแล้วไซร้
อกุสลไม่อาจจะทำให้สัทธานั้นเสื่อมไปได้เลย
ภาวนาสัทธานี่แหละ
ที่ได้ชื่อว่า สัทธินทรีย
๒.
วิริยินทรีย
เป็นใหญ่ในการยังความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด
ซึ่งต้องเป็น
ความเพียรที่บริบูรณ์ด้วยองค์ทั้ง
๔ แห่งสัมมัปปธาน
จึงจะเรียกได้ว่าเป็น วิริยิน
ทรีย ในโพธิปักขิยธรรมนี้
องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก
ที่ในติเหตุกชวนจิต ๓๔
๓.
สตินทรีย
เป็นใหญ่ในการระลึกรู้อารมณ์อันเกิดมาจากสติปัฏฐาน
๔ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ใน
ติเหตุกชวนจิต ๓๔
๔.
สมาธินทรีย
เป็นใหญ่ในการทำจิตให้เป็นสมาธิ
ตั้งใจมั่นอยู่ในอารมณ์
กัมมัฏฐาน องค์ธรรมได้แก่
เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน
ติเหตุกชวนจิต ๓๔
๕.
ปัญญินทรีย
เป็นใหญ่ในการให้รู้เห็น รูป นาม
ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ว่า
เต็มไปด้วยทุกข์โทษภัย
เป็นวัฏฏทุกข์ องค์ธรรมได้แก่
ปัญญาเจตสิก ที่ในติเหตุก ชวนจิต
๓๔
อนึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่า
เหตุใดจึงไม่นับอินทรีย ๓ คือ
อนัญญาตัญญัสสามีติน ทรีย
อัญญินทรีย และ อัญญาตาวินทรีย
รวมอยู่ในโพธิปักขิยธรรมกองที่
๔ นี้ด้วย
เหตุที่ไม่นับรวมด้วยนั้น
ก็เพราะว่า
อินทรีย
๕ ในโพธิปักขิยธรรมนี้
แสดงความเป็นใหญ่ในอันที่จะให้ถึงซึ่ง
ความตรัสรู้ มัคค ผล นิพพาน
ส่วนอินทรีย ๓ ที่กล่าวอ้างนี้
เป็นโลกุตตรอินทรีย เป็นอินทรียของพระอริยเจ้า
ผู้ตรัสรู้แล้วถึงแล้ว
ซึ่งมัคค ผล นิพพาน กล่าวอีก
นัยหนึ่งว่า โพธิ
เป็นตัวรู้
โพธิปักขิยธรรมเป็นเครื่องให้เกิดตัวรู้
อนัญญาตัญญัส
สามีตินทรีย อัญญินทรีย และ
อัญญาตาวินทรีย ทั้ง ๓ นี้
เป็นตัวรู้ ไม่ใช่เป็นเครื่อง
ที่จะให้เกิดตัวรู้
ดังนั้นจึงจัดรวมอยู่ในที่นี้ด้วยไม่ได้
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ