ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

มิสสกสังคหะกองที่ ๔ อินทรีย ๒๒

อินฺทนฺติ ปรมอิสฺสริยํ กโรนฺตีติ อินฺทฺริยานิ ฯ ธรรมเหล่าใดเป็นผู้ปกครอง ย่อมกระทำตนให้เป็นอิสระยิ่ง ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อินทรีย

อินทรีย หมายความว่า ความเป็นใหญ่หรือเป็นผู้ปกครองในสภาวธรรมที่เกิด ร่วมด้วยตน หรือเป็นใหญ่ในการที่จะให้สำเร็จกิจการในหน้าที่ของตน ๆ คือเป็น ใหญ่ในกิจการนั้น ๆ

อธิบายด้วยการยกตัวอย่าง เช่น จักขุนทรีย องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาทรูป อันว่าจักขุปสาทรูปนี้ มีธรรมที่เกิดร่วมด้วย ๙ รูป คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย วัณโณ คันโธ รโส โอชา และชีวิตรูป รวมทั้งตัวเอง คือ จักขุปสาทรูปด้วย ก็เป็น ๑๐ รูปด้วยกัน ในจำนวน ๑๐ รูปนี้ ถ้าจะกล่าวถึงหน้าที่การงานในการที่จะให้ สำเร็จกิจในด้านรับรูปารมณ์แล้ว จักขุปสาทรูปนี่แหละเป็นใหญ่ในการนี้แต่ผู้เดียว รูปอื่นๆ อีก ๙ รูป ที่เกิดร่วมกับจักขุปสาทรูปนั้น ไม่สามารถที่จะกระทำหน้าที่รับ รูปารมณ์ได้เลย ดังนั้นจักขุปสาทรูปจึงเป็นใหญ่ในการรับรูปารมณ์ เรียกความเป็น ใหญ่นั้นว่า อินทรีย และโดยเหตุที่เป็นใหญ่ทางจักขุ จึงมีชื่อว่า จักขุนทรีย

ตามตัวอย่างเดียวกันนี้ ถ้าจะกล่าวถึงการงานที่จะให้สำเร็จกิจในหน้าที่รักษา รูปให้ดำรงคงอยู่ ให้ตั้งอยู่ หรือให้เป็นไปได้แล้ว ชีวิตรูปแต่ผู้เดียวนี่แหละเป็นใหญ่ ในการที่จะให้รูปทั้ง ๙ นั้น มีชีวิตชีวาตั้งอยู่ได้จนถึงภังคขณะรูปอื่น ๆ ทั้ง ๙ นั้น ไม่สามารถที่จะกระทำหน้าที่ให้สำเร็จกิจ ในด้านการดำรงคงอยู่ดังกล่าวนั้นได้เลย ดังนั้น ชีวิตรูป จึงเป็นใหญ่ในการรักษารูปเหล่านั้นให้ตั้งอยู่ได้จนถึงภังคขณะ เรียก ความเป็นใหญ่นั้นว่า อินทรีย และโดยเหตุที่เป็นใหญ่ในทางรักษาชีวิต จึงมีชื่อว่า ชีวิตินทรีย

เท่าที่กล่าวมาแล้วนี้ คงจะพอให้เข้าใจความหมายของอินทรียได้พอควรแล้ว ดังนั้น เมื่อแสดงถึงอินทรียอื่น ๆ ต่อไปนี้ ก็จะกล่าวถึงหน้าที่การงานแต่เพียงย่อ ๆ

อินทรีย มี ๒๒ ประการ คือ

๑. จักขุนทรีย เป็นใหญ่ในการรับรูปารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาทรูป

๒. โสตินทรีย เป็นใหญ่ในการรับสัทธารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ โสตปสาทรูป

๓. ฆานินทรีย เป็นใหญ่ในการรับคันธารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาทรูป

๔. ชิวหินทรีย เป็นใหญ่ในการรับรสารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาทรูป

๕. กายินทรีย เป็นใหญ่ในการรับโผฏฐัพพารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ กายปสาท รูป

๖. อิตถินทรีย เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งภาวเพศให้ปรากฏความเป็นหญิง องค์ธรรมได้แก่ อิตถีภาวรูป

๗. ปุริสินทรีย เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งภาวเพศให้ปรากฏความเป็นชาย องค์ธรรมได้แก่ ปุริสภาวรูป

๘. ชีวิตินทรีย เป็นใหญ่ในการรักษารูปที่เกิดร่วมกับตน ๑ และเป็นใหญ่ใน การรักษานามที่เกิดร่วมกับตน ๑ ให้ดำรงคงตั้งอยู่หรือเป็นไปได้ในฐิติของรูป และ ของนามนั้น ๆ

          เป็นใหญ่ในการรักษารูป         องค์ธรรมได้แก่           ชีวิตรูป

          เป็นใหญ่ในการรักษานาม  องค์ธรรมได้แก่       ชีวิตินทรียเจตสิก

๙. มนินทรีย เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการนำธรรมทั้งหลายให้เป็นไปใน อารมณ์นั้น ๆ (ธรรมทั้งหลายในที่นี้หมายถึงเจตสิก) องค์ธรรมได้แก่ จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑

๑๐. สุขินทรีย เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งความสบายกายในขณะที่ประสบ กับอิฏฐารมณ์ทางกายทวาร องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ใน สุขสหคตกาย วิญญาณจิต ๑

๑๑. ทุกขินทรีย เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งความไม่สบายกาย ในขณะที่ ประสบกับอนิฏฐารมณ์ทางกายทวาร องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ในทุกข สหคตกายวิญญาณจิต ๑

๑๒. โสมนัสสินทรีย เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งความสุขใจ ในขณะที่ได้ เสวยอารมณ์ที่ถูกใจที่ชอบใจทางมโนทวาร องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ใน โสมนัสสหคตจิต ๖๒

๑๓. โทมนัสสินทรีย เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งความทุกข์ใจ ในขณะที่ เสวยอารมณ์ที่ไม่ถูกใจ ที่ไม่ชอบใจทางมโนทวาร องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒

๑๔. อุเบกขินทรีย เป็นใหญ่ในการแสดงออกซึ่งความเป็นอุเบกขา คือ ไม่ ทุกข์ไม่สุข องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ในอุเบกขาสหคตจิต ๕๕

๑๕. สัทธินทรีย เป็นใหญ่ในการยังความเชื่อความเลื่อมใส ในอารมณ์ที่เป็น ฝ่ายดีงาม องค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑

๑๖. วิริยินทรีย เป็นใหญ่ในการยังความเพียรในอารมณ์ทั้ง ๖ ที่เป็นกุสล และอกุสล องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ในวิริยสหคตจิต ๗๓ หรือ ๑๐๕

๑๗. สตินทรีย เป็นใหญ่ในการระลึกรู้ในอารมณ์ (เฉพาะที่เป็นฝ่ายดีงาม ฝ่ายชอบ ฝ่ายกุสล) ที่ตนต้องการ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑

๑๘. สมาธินทรีย เป็นใหญ่ในการทำให้จิตเป็นสมาธิ ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่ ตนต้องประสงค์ องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ในวิริยจิต ๗๒ หรือ ๑๐๔ (เว้นวิจิกิจฉาสหคตจิต ๑)

๑๙. ปัญญินทรีย เป็นใหญ่ในการรู้ตามความเป็นจริง ทำลายความหลง ความเข้าใจผิดในสภาวธรรม องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า องค์ธรรมของปัญญินทรียนี้ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน ญาณสัมปยุตตกามจิต ๑๒ และในมหัคคตจิต ๒๗ รวม ๓๙ ดวงเท่านั้น

๒๐. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย เป็นใหญ่ในการรู้อริยสัจจธรรมเป็นครั้ง แรก ปรากฏว่าสิ่งที่ไม่เคยรู้เคยเห็น ก็ได้มารู้มาเห็นเป็นอัศจรรย์ปานนี้ องค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในโสดาปัตติมัคคจิต ๑

๒๑. อัญญินทรีย เป็นใหญ่ในการรู้ธรรมที่โสดาปัตติมัคคจิต เคยรู้เคยเห็นมา แล้วนั้น จนภิญโญยิ่งขึ้นไปอีก องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในมัคคเบื้องบน ๓ ผลเบื้องต่ำ ๓

มัคคเบื้องบน ๓ นั้นได้แก่ สกทาคามิมัคคจิต ๑ อนาคามิมัคคจิต ๑ และ อรหัตตมัคคจิต ๑

ผลเบื้องต่ำ ๓ นั้นได้แก่ โสดาปัตติผลจิต ๑ สกทาคามิผลจิต ๑ และอนาคา มิผลจิต ๑

๒๒. อัญญาตาวินทรีย เป็นใหญ่ในการรู้แจ้งในธรรมที่สุดแห่งทุกข์ ที่สุด แห่งโสฬสกิจ กิจที่จะต้องรู้ต้องศึกษาอีกนั้นไม่มีแล้ว ทำอาสวะจนสิ้นไม่มีเศษเหลือ แม้แต่น้อยแล้ว องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในอรหัตตผลจิต ๑

อินทรียมี ๒๒ แต่องค์ธรรมมีเพียง ๑๖ เท่านั้น คือ จักขุปสาทรูป โสต ปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป อิตถีภาวรูป ปุริสภาวรูป ชีวิตรูป ชีวิตินทรียเจตสิก จิต เวทนาเจตสิก สัทธาเจตสิก วิริยเจตสิก สติเจตสิก เอกัคคตาเจตสิก และปัญญาเจตสิก

อินทรีย ๒๒ นี้ ที่เป็นรูปธรรมอย่างเดียว มี ๗ คือ ตั้งแต่จักขุนทรีย ถึง ปุริสินทรีย เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม มี ๑ คือ ชีวิตินทรีย

เป็นนามธรรมอย่างเดียว มี ๑๔ คือ ตั้งแต่ มนินทรีย ถึงอัญญาตาวินทรีย

อินทรีย ๒๒ นี้ ที่เป็นโลกียฝ่ายเดียวนั้นมี ๑๐ คือ จักขุนทรีย โสตินทรีย ฆานินทรีย ชิวหินทรีย กายินทรีย อิตถินทรีย ปุริสินทรีย สุขินทรีย ทุกขินทรีย โทมนัสสินทรีย

เป็นโลกุตตรฝ่ายเดียว มีเพียง ๓ คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย อัญญินทรีย และ อัญญาตาวินทรีย

เป็นทั้งโลกียและโลกุตตร มี ๙ คือ อินทรียที่เหลือทั้งหมด

อนึ่งข้อสังเกตในการแสดงองค์ธรรม ที่กล่าวไว้ตอนท้ายแห่งฌานังคะ ๗ นั้น มีความเกี่ยวแก่อินทรีย ๒๒ นี้อยู่ ๒ ประโยค คือ

เอกัคคตาเจตสิกในอวีริยจิต ๑๖ ย่อมไม่ถึงซึ่งสมาธินทรีย ประโยคหนึ่ง และ

เอกัคคตาเจตสิกในวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ย่อมไม่ถึงซึ่งสมาธินทรีย อีกประโยค หนึ่ง

อวีริยจิตคือ จิตที่ไม่มีวิริยเจตสิกประกอบ มีจำนวน ๑๖ ดวง ได้แก่ ทวิปัญจ วิญญาณ ๑๐ สัมปฏิจฉนจิต ๒ สันตีรณจิต ๓ และ ปัญจทวาราวัชชนจิต อีก ๑ นั้น ก็คือ อเหตุกจิต ๑๖ เว้นมโนทวาราวัชชนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑ เพราะจิต ๒ ดวงนี้ มีวิริยเจตสิกประกอบ

มีอธิบายว่า เอกัคคตาเจตสิกที่ในอวีริยจิต ๑๖ เป็นเอกัคคตาที่ใน อเหตุกจิต อเหตุกจิตเป็นจิตที่ไม่มีสัมปยุตตเหตุ จึงมีกำลังน้อย กำลังอ่อน เอกัคคตาเจตสิกที่ ประกอบก็มีกำลังน้อยกำลังอ่อนไปตามฐานะของจิตนั้นด้วย ซ้ำยังไม่มีวิริยะ คือ ความกล้าความเพียรมาช่วยส่งเสริมอุดหนุนอีกด้วยดังนี้ จะครองความเป็นใหญ่ได้ อย่างไร เมื่อไม่สามารถจะเป็นใหญ่ได้ จึงไม่จัดเป็นอินทรีย

ส่วนเอกัคคตา ที่ในวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตนั้น ก็เป็นจิตที่ลังเล สงสัยไม่แน่ใจ ลักษณะเช่นนี้ จึงไม่สามารถที่จะเป็นผู้ปกครองหรือครองความเป็นใหญ่ได้ ดังนั้นจึง ไม่นับเป็นอินทรีย


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...