ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

อารมณ์ของสติปัฏฐาน

. มนฺทสฺส ตณฺหาจริตสฺส โอฬาริกํ กายานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ วิสุทฺธิ มคฺโค ฯ การพิจารณากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งมีอารมณ์หยาบ เป็นเหตุแห่ง ความบริสุทธิ์จากกิเลสแก่มันทะบุคคลที่มีตัณหาจริต

. ติกฺขสฺส สุขุมํ เวทนานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ วิสุทฺธิมคฺโคฯ การพิจารณา เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งอารมณ์ละเอียดสุขุม เป็นเหตุแห่งความบริสุทธิจาก กิเลส แก่ติกขะบุคคลที่มีตัณหาจริต

. ทิฏฺฐิจริตสฺสปิ มนฺทสฺส นาติปฺปเภทคตํ จิตฺตานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ วิสุทฺธิมคฺโค ฯ การพิจารณาจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งมีอารมณ์ไม่กว้างขวางนัก เป็นเหตุแห่งความบริสุทธิ์จากกิเลส แก่มันทะบุคคลที่มีทิฏฐิจริต

. ติกฺขสฺส ทิฏฺฐิจริตสฺส อติปฺปเภทคตํ ธมฺมานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ วิสุทฺธิมคฺโค ฯ การพิจารณาธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งมีอารมณ์กว้างขวางมาก เป็นเหตุแห่งความบริสุทธิจากกิเลส แก่ติกขะบุคคลที่มีทิฏฐิจริต

. ยสฺมา ปน กายเวทนาจิตฺตธมฺเมสุ กิญฺจิ ธมฺมํ อนามสิตฺวา ภาวนา นาม นตฺถิ ตสฺมา กิญฺจิ ธมฺมํ มนสิกาตพฺพํ ฯ บุคคลผู้ต้องการ มัคค ผล ถ้าไม่ เอาใจใส่พิจารณาธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดา กาย เวทนา จิต ธรรม จะได้ชื่อ ว่า ทำมัคคญาณให้เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นผู้ปรารถนามัคคผล ควรเอาใจใส่ พิจารณาสติปัฏฐานทั้ง ๔ อย่างใดอย่างหนึ่ง311.JPG (7458 bytes)

. อยญฺหิ มคฺโค ภาวิโต อนุปุพฺเพน นิพฺพานสจฺฉิกิริยํ สาเธติฯ หนทาง คือ สติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้แล เมื่อบุคคลอบรมทำให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่ง พระนิพพาน ให้สำเร็จได้โดยลำดับ

ติกขะบุคคล ผู้รู้เร็ว มันทะบุคคล ผู้รู้ช้า ทั้ง ๒ นี้ต่างก็เป็นติเหตุกปฏิสนธิ บุคคลอย่างเดียวกัน คือ เป็นผู้ที่มีปัญญามาแต่กำเนิดเหมือนกัน เพียงแต่ว่าปัญญา นั้นกล้าหรืออ่อนกว่ากันไปหน่อยหนึ่งเท่านั้นเอง การรู้เร็วหรือรู้ช้านี้มีแสดงไว้อีก นัยหนึ่งว่า

. อุคฆฏิตัญญูบุคคล คือผู้ที่มีอุปนิสัยบารมีแก่กล้ายิ่ง สามารถรู้ธรรมพิเศษ ได้โดยพลัน เพียงแต่ได้ฟังพระธรรมเทศนาโดยสังเขป ก็ตรัสรู้มัคคผลนิพพาน อุปมาบุคคลจำพวกนี้ว่าเหมือนดอกบัวที่ขึ้นพ้นจากน้ำแล้ว คอยรับแสงอาทิตย์อยู่ เมื่อได้ รับแสงอาทิตย์ ก็จะบานในวันนั้นเอง

. วิปจิตัญญูบุคคล คือผู้มีอุปนิสัยบารมีพอปานกลาง ต่อเมื่อได้จำแนก อรรถาธิบายแห่งพระธรรมเทศนานั้น ๆ ให้พิสดารออกไป จึงจะสามารถรู้ธรรม พิเศษนั้น ๆ จนตรัสรู้มัคคผลนิพพานได้ อุปมาบุคคลจำพวกนี้ว่า เหมือนดอกบัวที่ เพิ่งโผล่ขึ้นมาเสมอผิวน้ำ อันจะบานต่อเมื่อถึงวันรุ่งขึ้น

. เนยยบุคคล คือ ผู้ที่มีอุปนิสัยบารมีน้อยหน่อย แม้จะได้สดับพระธรรม เทศนาอย่างพิสดาร ก็ยังไม่เห็นแจ้งในธรรมนั้น ต้องกระทำมนสิการด้วยอุบาย ปัญญา สมาคมคบหาด้วยกัลยาณมิตร บำเพ็ญกิจอย่างพากเพียร เล่าเรียนสมถะ วิปัสสนาด้วย ความอุตสาห จึงจะสำเร็จมัคคผล เปรียบบุคคลจำพวกนี้ว่า เหมือน ดอกบัว ที่ยังอยู่ใต้น้ำ ซึ่งมีโอกาสที่จะบานได้เหมือนกัน แต่ว่านานวันสักหน่อย

. อภัพพบุคคล คือ ผู้ที่มีอุปนิสัยบารมียังไม่สมบูรณ์ แม้จะพากเพียรสัก เพียงไร ก็ไม่อาจที่จะรู้ธรรมพิเศษในชาตินั้นได้เลย311.JPG (7458 bytes) แต่ก็จะเป็นนิสัยปัจจัยต่อไปใน ภายภาคหน้า เปรียบบุคคลจำพวกนี้ว่า เหมือนดอกบัวที่ยังไม่ทันจะได้โผล่พ้นเปือก ตมขึ้นมาด้วยซ้ำไป รังแต่จะเป็นอาหารของเต่าปลา

เพื่อให้เห็นได้ง่ายว่า สติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้มีอารมณ์ อะไรเป็นที่อาศัย พิจารณา นิมิต (คือเครื่องหมาย) อันเกิดจากการพิจารณา, วิปัลลาสธรรม (คือสิ่งที่ทำให้ เห็นวิปลาสไป) ที่ประหารได้ และ ปปัญจธรรม (คือสิ่งที่ทำให้เนิ่นช้า) อันเป็นตัว การที่ก่อให้เกิดการวิปลาสไป จึงขอแสดงดังนี้

สติปัฏฐาน ๔

อารมณ์อันเป็นที่อาศัยพิจารณา

นิมิตอันเกิดจากการพิจารณา

วิปัลลาสธรรมที่ประหารได้

ปปัญจธรรม

กาย

รูปขันธ์

อสุภสัญญา

สุภสัญญา

ตัณหา

เวทนา

เวทนาขันธ์

ทุกขสัญญา

สุขสัญญา

ตัณหา

จิต

วิญญาณขันธ์

อนิจจสัญญา

นิจจสัญญา

มานะ

ธรรม

ทั้งรูปทั้งนาม

อนัตตสัญญา

อัตตสัญญา

ทิฏฐิ


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...