ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

มิสสกสังคหะกองที่ ๓ มัคคังคะ ๑๒

ธรรมที่เป็น เหตุให้ถึง สุคติภูมิก็ดี ทุคคติภูมิก็ดี นิพพานก็ดี และเป็น หนทางที่ให้ถึง สุคติ ทุคคติ และนิพพาน นั้นชื่อว่า องค์มัคค หรือ ธรรมที่เป็น ส่วนหนึ่ง ๆ ของมัคค เรียกว่า องค์มัคค

มัคค แปลว่า ทาง มีความหมายว่า เป็นเครื่องที่จะนำไปสู่หนทางอันเป็นกุสล และอกุสล อันเป็นทางให้ถึง ทุคคติภูมิ สุคคติภูมิ และนิพพาน นั้น ๆ ด้วย

มัคคังคะ แปลว่า องค์แห่งมัคค มี ๑๒ ประการ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ ความเห็นที่ถูกต้องตรงกับเหตุผลแห่ง สภาวธรรมตามความเป็นจริง มีอริยสัจจธรรมเป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ ปัญญา เจตสิก ที่ในติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙

๒. สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ ๓ ประการ ได้แก่

ก. เนกขัมมสังกัปปะ ดำริที่จะออกจากกิเลสและขันธ์ เป็นความคิดที่จะ ออกจากความระคนด้วยหมู่คณะ เพื่อออกบรรพชาไปเจริญสมถะและวิปัสสนา ปรารถนาให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

ข. อพยาปาทสังกัปปะ ดำริที่จะละความโกรธ ความพยาบาท ปองร้าย มีการล้างผลาญ ทำให้ชีวิตสัตว์ตกไป เพื่อให้เกิดความเมตตาปรานี

ค. อวิหิงสาสังกัปปะ ดำริที่จะออกจากวิหิงสา ความเบียดเบียนสัตว์ ให้เดือดร้อน เพื่อให้เกิดความไม่เบียดเบียน มีความกรุณาอารี

ความดำริอยู่ในอารมณ์ ๓ ประการนี้ เป็นความดำริชอบ เรียกว่า สัมมา สังกัปปะ องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิก ที่ในกามาวจรโสภณจิต ๒๔ ปฐมฌานจิต ๑๑ รวม ๓๕

๓. สัมมาวาจา คือ การกล่าววาจาชอบ ไม่กล่าววาจาอันเป็นวจีทุจริตทั้ง ๔ มีการพูดปดหลอกหลวง, ส่อเสียดยุยง, หยาบคาย, เพ้อเจ้อไร้สาระ, การเว้นจาก วจีทุจจริตเหล่านี้เรียกว่า สัมมาวาจา องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวาจาเจตสิก ที่ในมหา กุสลจิต ๘ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ รวม ๑๖ หรือ ๔๘

๔. สัมมากัมมันตะ คือ การทำงานชอบ เป็นการงานทางกายที่ไม่เนื่องด้วย การฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ล่วงประเวณี การเว้นจากกายทุจจริตเหล่านี้ เรียกว่าสัมมา กัมมันตะ องค์ธรรมได้แก่ สัมมากัมมันตะเจตสิก ที่ในมหากุสล ๘ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐

๕. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ มีความเป็นอยู่ชอบ ไม่เนื่องด้วย วจีทุจจริต ๔ และไม่เนื่องด้วยกายทุจจริต ๓ การหาเลี้ยงชีพที่ไม่เป็นไปด้วยทุจจริต ธรรมทั้ง ๗ นี้ เรียกว่า สัมมาอาชีวะ องค์ธรรมได้แก่ สัมมาอาชีวเจตสิก ที่ในมหา กุสล ๘ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐

๖. สัมมาวายามะ คือ ความเพียรชอบ ให้ตั้งหน้าพยายามในความพากเพียร ชอบ ๔ ประการ ได้แก่

ก. เพียรที่จะละบาปอกุสล ที่เกิดขึ้นแล้ว ให้หมดไป

ข. เพียรที่จะไม่ก่อบาปอกุสลที่ยังไม่เกิด โดยไม่ทำให้เกิดขึ้น

ค. เพียรที่จะก่อบุญกุสลที่ยังไม่เกิด โดยทำให้เกิดขึ้น

ง. เพียรที่จะเจริญบุญกุสลที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ภิญโญยิ่ง ๆ ขึ้นไป

ความพากเพียร ๔ ประการนี้ เรียกว่า สัมมาวายามะ องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑

๗. สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ เป็นการระลึกอยู่แต่ในอารมณ์ที่เป็นกุสล มีอนุสติ ๑๐ หรือสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑

๘. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจมั่นโดยชอบ เป็นความตั้งมั่นของจิตในอารมณ์ ของสมถกัมมัฏฐาน หรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน การที่จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่เป็นกุสล เช่นนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑

ในสัมมามัคค ทั้ง ๘ องค์นี้ เป็นตัวเหตุแห่งสุคติและพระนิพพาน อันเป็น ทางที่จะนำไปสู่สุคติ และเป็นทางที่จะให้บรรลุถึงพระนิพพานด้วย จึงเรียกสัมมา มัคค ๘ องค์นี้ ว่า อัฏฐังคิกมัคค คือ มัคคมีองค์ ๘

ส่วนองค์มัคคที่ยังเหลืออีก ๔ นั้น เป็นตัวเหตุแห่งทุคคติ อันเป็นทางที่จะ นำไปสู่ทุคคติภูมิ จึงเรียกว่า มิจฉามัคค ได้แก่

๙. มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด เป็นความเห็นที่ผิดไปจากเหตุผลแห่งสภาว ธรรมตามความเป็นจริง องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

๑๐. มิจฉาสังกัปปะ คือ ความดำริผิด เป็นการนึกการคิดที่ผิดทำนองคลอง ธรรม องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒

๑๑. มิจฉาวายามะ คือ ความเพียรผิด เป็นการบากบั่นมั่นมุ่งในสิ่งที่ผิด อัน เป็นโทษเป็นทุกข์ องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒

๑๒. มิจฉาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นที่ผิด เป็นความตั้งมั่นของจิตอยู่ใน อารมณ์อันเศร้าหมองเร่าร้อนกระวนกระวาย องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน อกุสลจิต ๑๑ (เว้นวิจิกิจฉาสหคตจิต) ๑)

รวมมัคคังคะมี ๑๒ ประการ แต่มีองค์ธรรมเพียง ๙ เท่านั้น คือ ปัญญา เจตสิก วิตกเจตสิก สัมมาวาจาเจตสิก สัมมากัมมันตเจตสิก สัมมาอาชีว เจตสิก วิริยเจตสิก สติเจตสิก เอกัคคตาเจตสิก และ ทิฏฐิเจตสิก

ในองค์ธรรมทั้ง ๙ นี้ มี ปัญญา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ และ สติ รวม ๕ องค์นี้ เป็นกุสลฝ่ายเดียว

เฉพาะ ทิฏฐิเจตสิก เป็นอกุสลฝ่ายเดียว

ส่วนวิตก วิริยะ และเอกัคคตา รวม ๓ องค์นี้ เป็นได้ทั้งฝ่ายกุสล และอกุสล

ตามนัยแห่งพระสุตตันตปิฎก คือตามแนวแห่งพระสูตรนั้น แสดงว่ามัคคมี ๑๖ องค์ คือ สัมมามัคคมี ๘ และมิจฉามัคคมี ๘ เท่ากัน ทั้งนี้เพื่อแสดงให้ทาง ที่ตรงกันข้าม ทั้งฝ่ายชอบ และฝ่ายชั่ว อันเป็นคู่ปฏิปักษ์กันดังนี้

๑. สัมมาทิฏฐิ เมื่อมีความเห็นชอบ ก็ประหารมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นชั่ว เสียได้

๒. สัมมาสังกัปปะ เมื่อมีความคิดชอบ ก็ประหารมิจฉาสังกัปปะ ความคิด ชั่วเสียได้

๓. สัมมาวาจา เมื่อกล่าววาจาชอบ ก็ประหารมิจฉาวาจา การพูดชั่วเสียได้

๔. สัมมากัมมันตะ เมื่อกระทำการงานชอบ ก็ประหาร มิจฉากัมมันตะ การทำชั่วเสียได้

๕. สัมมาอาชีวะ เมื่อมีความเป็นอยู่ชอบ ก็ประหารมิจฉาอาชีวะ ความเป็น อยู่ชั่วเสียได้

๖. สัมมาวายามะ เมื่อมีความเพียรชอบ ก็ประหารมิจฉาวายามะ ความ เพียรในทางชั่วเสียได้

๗. สัมมาสติ เมื่อมีความระลึกแต่ในทางชอบ ก็ประหารมิจฉาสติ ความ ระลึกชั่วเสียได้

๘. สัมมาสมาธิ เมื่อมีความตั้งใจมั่นโดยชอบ ก็ประหารมิจฉาสมาธิ ความ ตั้งใจมั่นในทางชั่วเสียได้

รวมความว่า มิจฉามัคคที่เพิ่มมากกว่าตามนัยแห่งพระอภิธรรมอีก ๔ นั้น คือ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ และมิจฉาสติ แต่ว่าเมื่อกล่าวโดยองค์ธรรม แล้ว มิจฉามัคค ทั้ง ๔ นี้ ไม่มีองค์ธรรมโดยเฉพาะ ๆ เป็นการแสดงตามนัยแห่ง จิตตุปปาทะคือตามแนวแห่งจิตที่เกิดขึ้นซึ่งเกี่ยวด้วยวจีทุจจริต กายทุจจริต การเลี้ยง ชีพที่ทุจจริต และ การระลึกนึกถึงสิ่งที่ชั่วต่างๆ นั่นเอง

อนึ่งข้อสังเกตในการแสดงองค์ธรรม ที่กล่าวไว้ตอนท้ายแห่ง ฌานังคะ ๗ นั้น มีกล่าวความเกี่ยวแก่มัคคังคะนี้อยู่ ๒ ประโยค คือ

อเหตุกจิต ๑๘ ย่อมไม่ได้มัคคังคะ ๑๒  ประโยคหนึ่ง

เอกัคคตาเจตสิกที่ในวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ย่อมไม่ถึงซึ่งมิจฉาสมาธิมัคคังคะ อีกประโยคหนึ่ง

มีอธิบายว่าอเหตุกจิต ๑๘ เป็นจิตที่ไม่มีสัมปยุตตเหตุ คือเป็นจิตที่ไม่มีเหตุ ๖ ประกอบด้วยเลยแม้แต่เหตุเดียว เมื่อไม่มีตัวเหตุแล้ว ก็ไม่เป็นเหตุและไม่เป็นทาง ให้ถึงสุคติทุคคติได้ เพราะองค์ธรรมทั้ง ๙ ที่จะจัดเป็นมัคคได้จะต้องเป็นเจตสิกที่ ประกอบกับ สเหตุกจิต คือ จิตที่มีเหตุเท่านั้น ตัวเหตุนั่นแหละจึงจะเป็นเหตุและ เป็นทางให้ถึงซึ่ง ทุคคติ สุคติ หรือ นิพพาน

ส่วนเอกัคคตาเจตสิกที่ในวิจิกิจฉาสหคตจิต ก็ไม่ถึงซึ่งมิจฉาสมาธิ มัคคังคะ คือ ไม่นับว่าเป็นองค์มัคค เพราะเหตุว่า แม้วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตจะเป็นจิตที่ ประกอบด้วยเหตุ คือ โมหเหตุก็จริง แต่ก็มีเพียงเหตุเดียว กำลังก็ไม่มากอยู่แล้ว ซ้ำยังมี ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจประกอบเข้าอีกด้วย จึงทำให้กำลังที่มีอยู่ไม่มากมา แต่เดิมนั้นอ่อนลงไปอีก เอกัคคตาเจตสิกในวิจิกิจฉาจิตจึงไม่ถึงซึ่งความเป็นสมาธิที่ เป็นองค์แห่งมัคค เอกัคคตาที่จะจัดว่าถึงสมาธินั้น จะต้องตั้งมั่นในอารมณ์เดียว อย่างแน่วแน่ มั่นคง ปราศจากความสงสัยลังเลใจ

?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...