ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ คือ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก ที่ทำให้จิตใจเป็นกลาง ไม่ให้เกิดความยินดีหรือยินร้ายในอารมณ์กัมมัฏฐาน เพราะในเวลาที่เจริญกัมมัฏฐาน ย่อมเกิดความชอบใจ และไม่ชอบใจติดตามอยู่เสมอ ด้วยว่าจิตยังไม่ตั้งอยู่ในมัชฌิมา ปฏิปทาได้อย่างแน่นอนและมั่นคง ต่อเมื่อตั้งอยู่ได้มั่นคงด้วยดีแล้ว ตัตรมัชฌัตตตา เจตสิกนั้นจึงได้ชื่อว่าเป็น อุเบกขาสัมโพชฌงค์

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกที่มีความเจริญถึงกับทำให้สัทธากับ ปัญญา และวิริยะกับสมาธิ มีความสม่ำเสมอกัน ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน แล้วทำลาย กามฉันทะ พยาปาทะ ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา เสียได้ ซึ่งสามารถที่จะ ทำให้มัคคญาณเกิดขึ้นได้ จึงจะได้ชื่อว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์

การที่อุเบกขาสัมโพชฌงค์จะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยมีอุปการะธรรม ๕ ประการ คือ

. ตั้งตนเป็นกลางในสัตว์ในบุคคล เพราะตามสภาพแห่งความเป็นจริงนั้น หามีสัตว์มีบุคคลไม่ มีแต่รูปนามที่เป็นไปตามกรรม จึงไม่ควรมีอคติแก่รูปนามนั้น รูปนามนี้เลย

. ตั้งตนเป็นกลางในสังขาร คือ บุคคล วัตถุ สิ่งของ ทั้งหลาย เพราะตาม สภาพแห่งความเป็นจริงนั้น สังขารทั้งหลายเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงไม่พึง ยินดีเมื่อได้มา และยินร้ายในเมื่อต้องสูญเสียสิ่งที่ไม่เป็นแก่นสารนั้น ๆ ไป

. ต้องเว้นจากผู้ที่ยึดมั่น รักใคร่ หวงแหน ในสัตว์ สิ่งของ ว่าเป็นของเรา เป็นของเขา

. ให้สมาคมกับบุคคลที่ตั้งตนเป็นกลางในสัตว์บุคคล และในสังขารทั้งหลาย

. น้อมใจให้ดิ่งไปในอุเบกขาสัมโพชฌงค์334.JPG (3074 bytes)

เมื่อบริบูรณ์ด้วยอุปการะธรรมเหล่านี้แล้ว อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมจะเกิดขึ้น

องค์ธรรมของอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก ที่ใน ติเหตุก ชวนจิต ๓๔

อนึ่ง ใน วิภังคอรรถกถาแสดงว่า ความเฉยที่เรียกว่า อุเบกขานั้น มีถึง ๑๒ ประการ คือ

() อญาณุเบกขา เป็นความเฉยที่ไม่รู้อะไรเลยหรือเฉยเพราะไม่รู้ องค์ธรรม ได้แก่ โมหเจตสิก

() ฉฬังคุเบกขา เป็นความเฉยของพระอรหันต์ ที่ไม่หวั่นไหวต่ออิฏฐา รมณ์ และอนิฏฐารมณ์ ในเมื่อประสบกับอารมณ์ทั้ง ๖ องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัช ฌัตตตาเจตสิก

() พรหมวิหารุเบกขา เป็นความเฉยอย่างพรหม ที่ไม่สงสาร ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ต่อสัตว์ทั้งหลาย คือไม่มีอคติ องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก

() โพชฌงคุเบกขา เป็นความเฉยที่เป็นองค์แห่งความตรัสรู้ คือ ไม่ยินดี ยินร้ายต่ออารมณ์กัมมัฏฐานในขณะที่เจริญวิปัสสนาภาวนา เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ในโพธิปักขิยสังคหะนี้เอง องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก

() วิริยุเบกขา เป็นความเฉยต่อความเพียร หมายความว่า ให้มีความเพียร อย่างกลาง อย่างพอดีที่คู่ควรแก่สมาธิ อย่างที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทาในการเจริญ วิปัสสนาภาวนา องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก

() สังขารุเบกขา เป็นความเฉยต่อสังขาร คือรูปนาม ที่ประจักษ์ความเกิด ดับในขณะเจริญวิปัสสนา องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก

() เวทนุเบกขา เป็นความเฉยต่อเวทนาที่ได้เสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ ไม่สุข ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก

() วิปัสสนุเบกขา เป็นความเฉยต่อรูปนาม หรือต่อไตรลักษณ์ที่ตนกำหนด พินิจอยู่ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก334.JPG (3074 bytes)

() อาวัชชนุเบกขา เป็นความเฉยต่อการรับอารมณ์ทางปัญจทวารวิถี และ มโนทวารวิถี องค์ธรรมได้แก่ เจตนาเจตสิก ที่ใน ปัญจทวาราวัชชนจิต และมโน ทวาราวัชชนจิต

(๑๐) ตัตรมัชฌัตตุเบกขา เป็นความเฉยที่ไม่เอนเอียงไปในทางอคติใด ๆ คือ ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน โทสาคติ ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา และภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตา เจตสิก

(๑๑) ฌานุเบกขา เป็นความเฉยต่อความสุขในจตุตถฌาน   เมื่อจะขึ้นสู่  ปัญจมฌาน องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า อุเบกขา คือองค์ฌาน เฉยอยู่ด้วยความเพ่ง ตั้งมั่นอยู่ด้วย สมาธิ ตั้งเฉยอยู่โดยปกติ ไม่เอนเอียงตกไปตามนิวรณ มีกามฉันทะเป็นต้น หมายถึง ตั้งมั่นเฉยอยู่ในอารมณ์ที่ตนพินิจ

(๑๒) ปาริสุทธุเบกขา เป็นความเฉยในปัญจมฌาน   ที่ไม่ได้ติดอยู่ในสุข เหมือนจตุตถฌาน คือเฉยเพราะละสุขเสียได้แล้ว ดังมีข้อเปรียบไว้ว่า สติเป็นไป ด้วยกับปัญจมฌานนั้น เป็นสติปาริสุทธิ เพราะเหตุเป็นไปด้วยอุเบกขา ดังนั้น ปาริ สุทธุเบกขานี้จึงได้แก่ปัญจมฌานนั่นเอง องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...