ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

มิสสกสังคหะกองที่ ๑ เหตุ ๖

ผลย่อมเกิดเพราะธรรมเหล่านี้ ดังนั้นธรรมเหล่านี้จึงได้ชื่อว่า เหตุ ธรรมทั้ง หลายที่ได้รับอุปการะจากเหตุ ย่อมมีสภาพมั่นคงในอารมณ์ เหมือนต้นไม้ที่มีราก งอกงามแผ่ไปฉะนั้น

มีความหมายว่า ผลย่อมเกิดมาจากธรรมเหล่าใด ธรรมเหล่านั้นแหละชื่อว่า เหตุ

กล่าวอีกนัยหนึ่งอย่างสั้น ๆ ก็ว่า เหตุคือสิ่งที่ทำให้เกิดผล

เหตุมี ๖ ประการ คือ

โลภะเหตุ                    องค์ธรรมได้แก่                    โลภเจตสิก                    ที่ใน                    โลภมูลจิต ๘

โทสเหตุ                    องค์ธรรมได้แก่                    โทสเจตสิก                    ที่ใน                    โทสมูลจิต ๒

โมหเหตุ                    องค์ธรรมได้แก่                    โมหเจตสิก                    ที่ใน                    อกุสลจิต ๑๒

อโลภเหตุ                    องค์ธรรมได้แก่                    อโลภเจตสิก                    ที่ใน                    โสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑

อโทสเหตุ                    องค์ธรรมได้แก่                    อโทสเจตสิก                    ที่ใน                    โสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑

อโมหเหตุ                    องค์ธรรมได้แก่                    ปัญญาเจตสิก                    ที่ใน                    ญาณสัมปยุตตจิต๔๗หรือ๗๙

โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ เหตุทั้ง ๓ นี้เป็นเหตุของอกุสลจิตและอกุสล เจตสิก จึงได้ชื่อว่า อกุสลเหตุ

อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ เหตุทั้ง ๓ นี้ เป็นเหตุของโสภณจิต และ โสภณเจตสิก

ถ้าอโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ ประกอบกับโสภณจิตประเภทที่เป็นกุสล จิต ก็เรียกเหตุทั้ง ๓ นี้ว่าเป็น กุสลเหตุ

เมื่อ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ ประกอบกับโสภณจิตที่เป็นวิบากจิต และ กิริยาจิต ก็เรียกเหตุทั้ง ๓ นี้ว่าเป็น อพยากตเหตุ เพราะวิบากจิตและกิริยาจิต รวมจิต ๒ ประเภทนี้มีชื่อรวมว่า อพยากตจิต

ดังนี้ จึงได้รวมเหตุ ๖ ไว้ในมิสสกสังคหะนี้

เหตุ ๖ ประการ นี้ได้กล่าวแล้วโดยละเอียดในปริจเฉทที่ ๓ ตอนที่ว่าด้วยเหตุ สังคหะ

ขอกล่าวเพิ่มเติมในที่นี้อีกเล็กน้อย คือ

เมื่อกล่าวโดยบุคคลแล้ว อรหันตบุคคล ไม่มีอกุสลเหตุ ๓ และกุสลเหตุ ๓ เลยแม้แต่เหตุเดียว คงมีแต่อพยากตเหตุ ๓ เหตุ เท่านั้น

อนาคามิบุคคล รูปบุคคล(เว้นอสัญญสัตต) และ อรูปบุคคล ไม่มีโทสเหตุเลย ส่วนอกุสลเหตุอีก ๒ คือ โลภเหตุ โมหเหตุ และกุสลเหตุทั้ง ๓ นั้น ยังคงมีอยู่ สำหรับอพยากตเหตุอีก ๓ ก็คงมีเฉพาะอพยากตเหตุที่ประกอบกับวิบากจิตเท่านั้น อพยากตเหตุที่ประกอบกับกิริยาจิตนั้นไม่มี เพราะอนาคามิบุคคลและรูปบุคคล อรูป บุคคลที่เป็นปุถุชน มีกิริยาจิตเพียง ๒ ดวง ซึ่งก็เป็นอเหตุกกิริยาทั้งคู่

เฉพาะอสัญญสัตตบุคคล ไม่มีเหตุใด ๆ เลยแม้แต่สักเหตุเดียว

บุคคลอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วนี้ อกุลเหตุ ๓, กุสลเหตุ ๓ นั้นสามารถมีได้ โดยครบถ้วน อพยากตเหตุที่ประกอบกับวิบากจิตก็มีได้ แต่อพยากตเหตุที่ประกอบ กับกิริยาจิตก็ไม่มีเหมือนกัน

เมื่อกล่าวโดยภูมิแล้ว ในกามภูมินั้นมี อกุสลเหตุ กุสลเหตุ และอพยากตเหตุ ได้โดยครบถ้วน

ส่วนในรูปภูมิ(เว้นอสัญญสัตตภูมิ) และอรูปภูมินั้น โทสเหตุไม่มี เหตุอื่น นอกนั้นก็มีได้ทั้งนั้น

ในอสัญญสัตตภูมินั้น ไม่มีเหตุใด ๆ ทั้งสิ้น


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...