ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม
โพธิปักขิยสังคหะกองที่
๓ อิทธิบาท ๔
อิทฺธิยา
ปาโทติ อิทฺธิปาโท ฯ
ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงซึ่งความสัมฤทธิผลนั้น
ชื่อว่า อิทธิบาท
คำว่า
สัมฤทธิผล
ในที่นี้หมายถึง ความสำเร็จ คือ
บรรลุถึงกุสลญาณจิต และมัคคจิต
ฉนฺโท
เอว อิทฺธิปาโทติ ฉนฺทิทฺธิปาโท ฯ
ฉันทะเป็นเหตุให้ถึง สัมฤทธิผล
ได้ชื่อว่า ฉันทิทธิบาท
วิริโย
เอว อิทฺธิปาโทติ วิริยิทฺธิปาโท
ฯ
วิริยะเป็นเหตุให้ถึง สัมฤทธิผล
ได้ชื่อว่า วิริยิทธิบาท
จิตฺตญฺเญว
อิทฺธิปาโทติ จิตฺติทฺธิปาโท ฯ
จิต เป็นเหตุให้ถึง สัมฤทธิผล
ได้ชื่อว่า จิตติทธิบาท
วิมํสา
เอว อิทฺธิปาโทติ วิมํสิทฺธิปาโท
ฯ
วิมังสา คือ ปัญญา เป็นเหตุให้ถึง
สัมฤทธิผล ได้ชื่อว่า วิมังสิทธิบาท
ดังนี้จะเห็นได้ว่าองค์ธรรมของอิทธิบาทนี้ได้แก่
ฉันทะ วิริยะ จิต และปัญญา
ซึ่งเหมือนกับองค์ธรรมของอธิบดี
และมีความหมายว่า
เป็นไปเพื่อให้กิจการงาน นั้น ๆ
เป็นผลสำเร็จเหมือนกัน
ถึงกระนั้นก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่
กล่าวคือ
อธิบดีนั้นเป็นไปเพื่อความสำเร็จในกิจการงาน
อันเป็น กุสล อกุสล และ อพยากตะ
ได้ทั้งนั้น
ส่วนอิทธิบาทนี้
เป็นไปเพื่อความสำเร็จในกิจการงานอันเป็นกุสล
แต่ฝ่าย เดียว
และเป็นกุสลที่จะให้บรรลุถึงมหัคคตกุสล
และโลกุตตรกุสลด้วย
ดังนั้น
ฉันทะ วิริยะ จิต(กิริยาจิต)
และปัญญา
ของพระอรหันต์ จึงไม่ชื่อว่า
อิทธิบาท
เพราะพระอรหันต์เป็นผู้ที่สัมฤทธิผลจนสุดยอดแล้ว
ไม่ต้องทำให้สัมฤทธิ ผลอย่างใด ๆ
อีก
ฉันทะ
วิริยะ จิต และ ปัญญา
ที่อยู่ในโลกุตตรวิบากจิต
คือผลจิตนั้นก็ไม่ชื่อ
ว่าอิทธิบาท
เพราะผลจิตเป็นจิตที่ถึงแล้วซึ่งความสัมฤทธิผล
อิทธิบาท
มี ๔ ประการ คือ
๑.
ฉันทิทธิบาท
ความเต็มใจความปลงใจกระทำ
เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล
องค์ธรรมได้แก่ ฉันทเจตสิก ที่ใน
กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗
๒.
วิริยิทธิบาท
ความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด
เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล
องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก
ที่ใน กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗
๓.
จิตติทธิบาท
ความที่มีจิตจดจ่อปักใจอย่างมั่นคง
เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล
องค์ธรรมได้แก่ จิต คือ
กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗
๔.
วิมังสิทธิบาท
ปัญญา เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล
องค์ธรรมได้แก่ ปัญญา เจตสิก
ที่ใน กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗
กิจการงานอันเป็นกุสลที่ถึงซึ่งความสัมฤทธิผลนั้น
ย่อมไม่ปราศจากธรรมทั้ง ๔
ที่เป็นองค์ธรรมของอิทธิบาทนี้เลย
แต่ว่าความเกิดขึ้นนั้นไม่กล้าเสมอกัน
บางที ฉันทะกล้า บางทีวิริยะกล้า
บางทีจิตกล้า บางทีก็ปัญญากล้า
ถ้าธรรมใดกล้าแล้ว ก็
เรียกธรรมที่กล้านั่นแต่องค์เดียว
ว่าเป็น อิทธิบาท
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ