ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม
สัพพสังคหะกองที่
๕ อริยสัจจ
สัจจ
ที่แปลว่า ความจริง นั้นมีถึง ๖
อย่าง คือ
สัจจวาจา
จริงวาจา
สัจจสมมติ
จริงสมมติ
สัจจสภาวะ
จริงสภาพ
สัจจปรมัตถ
จริงปรมัตถ
สัจจอริยสัจจ
จริงอริยสัจจ
สัจจนิพพาน
จริงนิพพาน
ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะอริยสัจจ
ซึ่งรวมนิพพานสัจจที่เป็นสัจจที่
๓ ในอริยสัจจ นั้นด้วยเท่านั้น
ดังแสดงไว้ คือ
วัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ
๓ นั้น เป็นทุกข์ ตัณหา ชื่อว่า
สมุทัย นิพพาน มีนาม ว่า นิโรธ
โลกุตตรมัคค ตรัสว่า ชื่อ มัคค
มีความหมายว่า
ปรมัตถธรรมที่นับเข้าใน ไตรภูมิ
คือ กามภูมิ รูปภูมิ และ อรูปภูมิ
เรียกว่า วัฏฏะ คือความหมุนเวียน
อันยังให้สัตว์ทั้งหลายเวียนว่ายตายเกิด
อยู่ในวัฏฏะ ไม่มีที่สิ้นสุด
วัฏฏะนี้เรียกว่า
ทุกขอริยสัจจ
เพราะเป็นตัวทุกข์จริง ๆ
ตัณหา
คือ โลภะ ความโลภ เรียกว่า สมุทยอริยสัจจ
เพราะเป็นเหตุให้เกิด ทุกข์จริง
ๆ ด้วยความอยากได้จริง ๆ
นิพพาน
เรียกว่า นิโรธอริยสัจจ
เพราะเป็นสภาพที่ทุกข์ดับสิ้นจริง
ๆ
โลกุตตรมัคค
คือ อัฏฐังคิกมัคค มัคคมีองค์ ๘
เรียกว่า มัคคอริยสัจจ
เพราะ เป็นทางสายเดียวแท้ ๆ
ที่ให้ถึงความดับทุกข์ได้จริง ๆ
ของจริง
๔ ประการคือ ทุกข
สมุทัย นิโรธ มัคค
ที่กล่าวนี้มีชื่อว่า อริยสัจจ
บางทีก็เรียกกันสั้น ๆ ว่า สัจจ ๔
นี้ มีความหมายเป็น ๒ นัย คือ
ก.
เป็นของจริงที่เป็นเหตุให้ผู้ที่ได้รู้แจ้งเห็นจริงนั้น
เป็นผู้ประเสริฐ คือ เป็น
พระอริยบุคคล ๘ จำพวก มี
โสดาปัตติมัคค โสดาปัตติผล
เป็นต้น
ข.
เป็นของจริงที่ผู้ประเสริฐ
คือ
พระอริยเจ้าเท่านั้นที่จะประจักษ์แจ้งในสัจจ
๔ ประการนี้ โดยมัคคญาณ
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ