ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม
วิสุทธิ
๗
ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา
บ้างก็เรียกว่าเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้น
กล่าว โดยวิสุทธิ คือ
ความบริสุทธิแล้ว
ก็จำแนกได้เป็น ๗ คือ
๑.
สีลวิสุทธิ
ความบริสุทธิแห่งสีล
ได้แก่ วิรตี ๓
๒.
จิตตวิสุทธิ
ความบริสุทธิแห่งจิต
ได้แก่ เอกัคคตา คือ สมาธิ
๓.
ทิฏฐิวิสุทธิ
ความบริสุทธิแห่งความเห็น
ได้แก่ ปัญญา
๔.
กังขาวิตรณวิสุทธิ
ความบริสุทธิแห่งการข้ามพ้นจากความสงสัย ได้แก่ ปัญญา
๕.
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
ความบริสุทธิแห่งความรู้เห็นว่าเป็นทางที่
ถูกต้องหรือมิใช่ ได้แก่ ปัญญา
๖.
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งความรู้เห็นว่านี่ใช่ทาง
ปฏิบัติแล้ว ได้แก่ ปัญญา
วิสุทธิทั้ง
๖ ที่กล่าวแล้วนั้น
ยังเป็นโลกียวิสุทธิอยู่
ต่อเมื่อถึง
๗.
ญาณทัสสนวิสุทธิ
ความบริสุทธิแห่งความรู้เห็นพระนิพพาน
ได้แก่ ปัญญา
จึงจะเป็นโลกุตตรวิสุทธิ
วิสุทธิ
อันความบริสุทธิหมดจดนี้
แม้จะเป็นโลกุตตรวิสุทธิ
เป็นวิสุทธิของ พระอริยเจ้า
ยังจำแนกได้เป็น ๒ คือ ปริยายสุทธิ
บริสุทธิโดยเอกเทส และ นิปปริยายสุทธิ
บริสุทธิโดยสิ้นเชิง
พระโสดาบัน
พระสกทาคามี และ พระอนาคามี
นั้นบริสุทธิโดยเอกเทศคือ
บริสุทธิเพียงบางสิ่งบางอย่างเท่านั้น
กิเลสเครื่องเศร้าหมองบางอย่างยังคงเหลือตก
ค้างอยู่อีกบ้าง
ส่วนพระอรหันต์
จึงบริสุทธิหมดจดโดยสิ้นเชิง
ไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมอง ใด ๆ
เหลืออยู่อีกเลยแม้แต่น้อย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ