ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ
ซึ่งเวทนา คือเวทนา ขันธ์ อันมี ๙
บรรพ ได้แก่
บรรพที่
๑
พิจารณาเนือง
ๆ
ซึ่ง
สุขเวทนา
บรรพที่
๒
พิจารณาเนือง
ๆ
ซึ่ง
ทุกขเวทนา
บรรพที่
๓
พิจารณาเนือง
ๆ
ซึ่ง
อุเบกขาเวทนา
บรรพที่
๔
พิจารณาเนือง
ๆ
ซึ่ง
สุขเวทนาที่เจือด้วยอามิส
(สามิสสสุข)
บรรพที่
๕ พิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง ทุกขเวทนาที่เจือด้วยอามิส
(สามิสสทุกข)
บรรพที่
๖ พิจารณาเนือง
ๆ ซึ่ง อุเบกขาที่เจือด้วยอามิส
(สามิสสอทุกขมสุข)
บรรพที่
๗ พิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง สุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิส
(นิรามิสสสุข)
บรรพที่
๘
พิจารณาเนือง
ๆ ซึ่ง ทุกขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิส
(นิราสมิสสทุกข)
บรรพที่
๙ พิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง อุเบกขาเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิส
(นิรามิสสอทุกขมสุข)
อามิส
แปลว่า สิ่งของ เครื่องล่อใจ
เหยื่อ แต่ในที่นี้หมายถึงกิเลส
ดังนั้น
ในที่บางแห่งจึงเรียกว่า
สุขเวทนาที่เจือด้วยกิเลส
ทุกขเวทนาที่เจือด้วยกิเลส ฯลฯ
บ้างก็เรียกว่า
สุขเวทนาที่เจือด้วยกามคุณ
ทุกขเวทนาที่เจือด้วยกามคุณ ฯลฯ
เพราะ โดยส่วนมาก
กามคุณย่อมเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส
สุขเวทนาที่เกิดขึ้นด้วยสมถภาวนาหรือวิปัสสนาภาวนาก็ดี
ทุกขเวทนาที่เกิด
ขึ้นจากสภาพแห่งสังขารก็ดี
และอุเบกขาเวทนาซึ่งเกิดมีความสงบจากอารมณ์ของ
สมถะหรือวิปัสสนาก็ดี
จัดว่าเป็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา
อุเบกขาเวทนา ที่ไม่เจือ
ด้วยอามิส
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้ง
๙ บรรพนี้
ใช้ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา แต่
อย่างเดียว
จะเพ่งเวทนาโดยความเป็นอารมณ์ของสมถภาวนา
เพื่อให้เกิดฌานจิตนั้น ไม่ได้
การตามพิจารณาเวทนา
ก็เพื่อให้รู้เห็นประจักษ์ชัดว่าทุกข์สุขที่กำลังเกิดอยู่นั้น
เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งไม่มีรูปร่างสัณฐานที่ให้เห็นได้ด้วยนัยตา
เป็นธรรมชาติที่ ไม่ใช่รูป
แต่เรียกว่า นาม คือ นามเจตสิก
เวทนานี้ไม่ใช่เรา
และเราก็ไม่ใช่เวทนา
ต่อเมื่อมีเหตุ มีปัจจัย
เวทนาก็เกิดขึ้น ก็ปรากฏขึ้น
จะห้ามไม่ให้เกิด ก็ห้ามไม่ได้
ครั้นหมดเหตุ หมดปัจจัยแล้ว
เวทนา ก็ดับไปเอง
ไม่ดำรงคงอยู่ตลอดไป
ความรู้ในเวทนาดังกล่าวนี้แหละที่เรียกว่า
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน อัน
เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาภาวนา
ซึ่งมีความสามารถประหารสักกายทิฏฐิได้
ความจริงเวทนานี้ก็เกิดอยู่เสมอทุกขณะ
ไม่มีว่างเว้นเลย
ชนทั้งหลายก็รู้สึก
ทุกข์หรือสุขอยู่
แต่ว่าไปยึดถือว่าเราทุกข์เราสุข
จึงไม่อาจที่จะละสักกายทิฏฐิได้เลย
ดังนี้ไม่เรียกว่า
เวทนานั้นเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน
หรือเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา
ภาวนา
เวทนา
กล่าวตามนัยแห่งเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ก็จัดเป็น ๙ บรรพ ดังที่
ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น
แต่เมื่อกล่าวโดยองค์ธรรม
ก็ได้แก่
เจตสิกดวงเดียวที่ชื่อว่า
เวทนาเจตสิก
ดังนั้น
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ที่ว่ามี ๙ บรรพนั้น
จึงนับว่ามีบรรพ เดียวก็ได้
โดยอาศัยนับตามนัยแห่งองค์ธรรม
ซึ่งมีเพียง ๑
อนึ่ง
ในเรื่องเวทนาในเวทนาก็ดี
เวทนาในเวทนาอันเป็นภายใน
เวทนาใน เวทนาอันเป็นภายนอกก็ดี
ก็มีนัยทำนองเดียวกับกายในกายที่กล่าวมาแล้ว
คือ
เมื่อกำหนดพิจารณาอยู่เนือง
ๆ ย่อมทราบว่า
ขณะที่เสวยทุกขเวทนาอยู่ ขณะ
นั้นก็ไม่มีสุขและไม่ใช่อุเบกขา
เวลาที่กำลังมีสุขเวทนาอยู่
เวลานั้นก็ไม่มีทุกข์
และไม่ใช่อุเบกขาด้วย
ครั้นเมื่อใดเป็นอุเบกขาอยู่
เมื่อนั้นก็ไม่ทุกข์และไม่สุขด้วย
ดังนี้ก็ปรากฏชัดว่า
เวทนานี้เวลาเกิดขึ้นก็เกิดแต่อย่างเดียว
เกิดทีละอย่างใน
เวทนาที่มีหลายอย่าง
นี่แหละเป็นการพิจารณาเวทนาหนึ่งซึ่งกำลังเกิดมีอยู่
อันเป็น
เวทนาเดียวในเวทนาทั้งหลาย
เวทนาที่เกิดแก่สังขารร่างกายนี้
ก็เป็นภายใน
เวทนาที่เกิดแก่สังขารร่างกาย
อื่น ก็เป็นภายนอก
เวทนาเกิดแก่รูปกายนี้เป็นฉันใด
เวทนาที่เกิดแก่รูปกายอื่น
ก็เป็นฉันนั้น
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ